ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ Certified Six Sigma & Lean Six Sigma Black Belt Project รุ่น 8 - สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ Thailand Productivity Institute
Loading Events
Public Training

ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ Certified Six Sigma & Lean Six Sigma Black Belt Project รุ่น 8

วันที่อบรม
14 พฤศจิกายน 2566
เวลา 9:00-16:30 น.
โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ

ระยะเวลาอบรม : 1 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- รับฟังการนำเสนอการนำเทคนิค Six Sigma
- มีส่วนร่วมในการ ถาม-ตอบ กับทีม Black Belt
- ขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาในเรื่อง Six Sigma


ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) 3,500 บาท
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

  • This event has passed.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ขอเชิญท่านผู้ที่สนใจ เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ Six Sigma Black Belt รุ่น 8 โดยนอกจากที่ท่านจะได้รับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ Six Sigma Black Belt แล้ว ท่านยังจะได้รับฟังการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรที่ปรึกษาด้าน Six Sigma ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในหัวข้อ “Six Sigma Roadmap & Overview” เพื่อให้ท่านเกิดความเข้าในในกระบวนการปรับปรุงของ Six Sigma ได้อย่างถูกต้อง

สำหรับการนำเสนอผลการดำเนินโครงการโดย Black Belt 7 ท่าน ทั้งหมด 7 โครงการ ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละโครงการดังต่อไปนี้

 

บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

โครงการ: ลดความแปรปรวนของระดับบรรจุเครื่องดื่มในขวด

บริษัทได้มีการดำเนินโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตของกระบวนการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ Boon Rawd Excellence in Manufacturing ซึ่งจากการทำ Daily Management Pillar พบว่า ที่กระบวนการบรรจุเครื่องดื่มต้นแบบมีความผันแปรของระดับบรรจุที่สูง สาเหตุเกิดจากปริมาณการบรรจุเกินค่าระดับที่กำหนด เมื่อคิดเป็นโอกาสในการลดต้นทุน
จากการบรรจุไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวนั้น เป็นมูลค่าหลายล้านบาท/ปี โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า Six Sigma เป็นเทคนิคการปรับปรุงกระบวนการที่เหมาะสมมาก ในการนำมาใช้เพื่อลดความผันแปรของกระบวนการ ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นโครงการที่ตรงตามรูปแบบของเทคนิค Six Sigma เป็นอย่างมาก อีกทั้งด้วยการใช้ Six Sigma จะทำให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวนี้สามารถแก้ไขได้โดยง่ายเมื่อนำเอาเทคนิค Six Sigma มาใช้

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ค้นพบในการนำเอา Six Sigma มาใช้ในโครงการนี้คือ ทำให้มีความเข้าใจในกระบวนการเปลี่ยนไป ในอดีตจะใช้ประสบการณ์ในการออกแบบการทดลองซึ่งจะทำการทดลองครั้งละ 1 ปัจจัย แต่จากการนำเอาโครงการ Six Sigma มาใช้จึงได้เริ่มนำเทคนิคการออกแบบการทดลองตามแบบ Six sigma ทำให้ค้นพบ KPIV (ปัจจัยหลักในกระบวนการที่ส่งผลต่อปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ) ทั้ง Main Effect (ผลกระทบหลักของปัจจัย) และ Interaction (ความสัมพันธ์ร่วมระหว่างปัจจัย)
ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมากต่อคุณภาพของกระบวนการ และยังเป็นปัจจัยที่เมื่อก่อนอาจจะไม่ได้คาดว่ามีผลต่อกระบวนการอีกด้วย

เทคนิคสำคัญที่ใช้:

Cp-Cpk, RTY%, Experimental Blocked Design, Canonical Analysis และ Reliability Engineering

 

บริษัท แอนคา แมนูแฟคเจอริ่ง โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด

โครงการ: ลดกระบวนการขัดชิ้นงานที่กระบวนการเชื่อมสตัด

ปัญหาที่พบ คือในกระบวนการเชื่อมสตัดทำให้ชิ้นงานนูนขึ้น ส่งผลให้เมื่อเรานำไปผ่านกระบวนการทำสีแล้ว พบว่าชิ้นงานนั้นนูนเกินกว่าข้อกำหนดของลูกค้า ดังนั้นจึงทำให้ต้องเพิ่มกระบวนการขัดชิ้นงาน เพื่อลดความนูนลงให้อยู่ในข้อกำหนดที่ลูกค้ายอมรับ ซึ่งกระบวนการขัดนี้ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในต้นทุนที่เสนอราคาให้ลูกค้า จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นมูลค่าเกือบล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังส่งผลทำให้ลูกค้าไม่พอใจในคุณภาพของสินค้าอีกด้วย และด้วยการใช้เทคนิค Six Sigma สามารถลดปัญหาของการนูนสตัดที่เกิดในขั้นตอนการเชื่อม ซึ่งได้ผลสำเร็จที่ดีเกิดคาดและยังสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว สิ่งสำคัญของการทำโครงการครั้งนี้ คือทำให้การวิเคราะห์ปัญหาของพนักงานเป็นระบบมากขึ้น ได้แก่ ก่อนที่จะมีการนำเอา Six Sigma มาใช้นั้น พนักงานจะเน้นไปที่การถกเถียงกันด้วยประสบการณ์ จนหาข้อสรุปหรือแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด แต่หลังจากที่ได้นำ Six Sigma เข้ามาปรับใช้ในองค์กรพบว่า เมื่อเราเจอปัญหาเราจะดำเนินการตามวิถีของ Six Sigma โดยค่อยๆ ดำเนินการไปทีละ Phase และเมื่อนำไปรวมเข้ากับ Wisdom ที่พนักงานมีอยู่แล้ว ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดมาขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า จากเดิมที่โรงงานมีการเก็บข้อมูลแบบ Attribute (ดี / เสีย) ได้เปลี่ยนมาเป็นการเก็บข้อมูลแบบ Variable (วัดค่าความสูงของสตัด) เพราะจากการทำโครงการ Six Sigma ในครั้งนี้ทำให้
ทุกคนตระหนักได้ว่า “ถ้าวัดค่าไม่ได้ ก็ปรับปรุงไม่ได้”  

เทคนิคสำคัญที่ใช้:

Box Plot, Gage R&R, Center Point Design, Steepest Ascent, Canonical Analysis และ FTA

 

บริษัท เอเวอรี่ เดนนิสสัน (ประเทศไทย) จำกัด

โครงการ: ลดความผันแปรของ Silicone Coat Weight ในผลิตภัณฑ์ลูกค้า

ในกระบวนการเคลือบ Silicone ที่ผลิตภัณฑ์ มีผลต่อปริมาณการใช้สารเคมีซึ่งเป็นต้นทุนหลักในกระบวนการผลิต โดยจากการเก็บข้อมูลย้อนหลังของปริมาณการใช้สารเคมีในกระบวนการเคลือบ Silicone พบว่าน้ำหนักการเคลือบซิลิโคนมีความกระจายจนกระทั่งเกินกว่า USL (Upper Spec Limit) ที่ยอมรับได้ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าที่สูญเสียไปนับล้านบาทต่อปี ซึ่งแนวทางหลักในการดำเนินการปรับปรุงในโครงการนี้ การปรับตั้งปัจจัยต่างๆ ในกระบวนการที่สามารถลดความผันแปรให้เหลือน้อยที่สุดในกระบวนการเคลือบ Silicone และด้วยแนวคิดของ Six Sigma คือ “Hit target first, then reduce variation” ซึ่งหมายถึงการปรับค่าเฉลี่ยของกระบวนการก่อน (Mean-Shift) แล้วจึงมาลดความผันแปร ส่งทำให้นอกจาก %Reject ของการเคลือบ Silicone ที่เกินกว่า USL จะลดลงแล้ว ก็ยังทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงอีกด้วยจากการปรับ Mean-Shift และลดความ
ผันแปรของกระบวนการ

เทคนิคสำคัญที่ใช้:

Variable Control Chart, Hypothesis Testing, 2K Experimental Design, Response Surface Methodology

 

บริษัท พีพีจี โคทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

โครงการ: ลดของเสียในกระบวนการผลิตสี

บริษัทเป็นผู้ผลิตสีอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย ได้ทำการผลิตสีหลากหลายประเภทอย่างเชี่ยวชาญ เช่น สีเคลือบรถยนต์ สีเคลือบผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารกระป๋อง สีเคลือบงานโครงสร้างอาคารต่างๆ ซึ่งข้อกำหนดด้านการสูญเสียไม่เกิน
74.8 กิโลกรัมต่อแบท ซึ่งที่ผ่านมาประมาณ 36.7% ของแบทที่ผลิตจากกระบวนการประสบกับปัญหาในเรื่องการสูญเสีย
ซึ่งคิดเป็นมูลค่าที่สูญเสียรวมทั้งสิ้น 2 ล้านบาทต่อปี ด้วยการให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้นำเอากระบวนการ
Six Sigma มาใช้ในการลดของเสียของกระบวนการ สิ่งสำคัญที่ค้นพบในการดำเนินการครั้งนี้ คือความคิดของพนักงาน
ในกระบวนการเปลี่ยนไป โดยเมื่อก่อนจากการใช้ประสบการณ์ของพนักงานจะมีความเชื่อที่ฝังแน่นว่า ความหนืดของวัตถุดิบ
มีผลอย่างมากต่อการสูญเสียในกระบวนการผลิต แต่จากการตรวจสอบด้วย Six Sigma กลับพบว่าความหนืดของวัตถุดิบในช่วงที่ Operate นั้นไม่ได้ส่งผลอะไรต่อการสูญเสียในกระบวนการผลิตเลย แต่กลับเป็นปริมาณ RM1 ปริมาณเศษของแบทก่อนหน้า และการตั้งค่าน้ำ DI ซึ่งเป็นปัจจัยสามตัวที่ส่งผลอย่างมากต่อคุณภาพของกระบวนการ อีกทั้งเป็นปัจจัยที่เมื่อก่อนพนักงานไม่ได้ให้ความใส่ใจอีกด้วย

เทคนิคสำคัญที่ใช้:

2 Sample T-test, Correlation, Regression, DOE, Center point design, Central composite design (CCF),
Eigen equation และ Canonical analysis

 

บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด

โครงการ: ปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ถุงยางอนามัย

ชัวร์เท็กซ์ เป็นบริษัทผู้ผลิตถุงยางอนามัยรายใหญ่ ซึ่งทำการผลิตถุงยางอนามัยสำหรับการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศ และยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังลูกค้าทั่วโลกอีกด้วย ทั้งนี้บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการนำเอาเทคนิค Six Sigma มาใช้ในการปรับปรุงและควบคุมกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นทางบริษัทได้มีการพัฒนาทีมงานด้าน Six Sigma อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น Black Belt หรือทีมงานในระดับ Green Belt

สำหรับโครงการ Six Sigma ในปีนี้ ทาง Black Belt ได้เลือกหัวข้อการปรับปรุงความยาวของถุงยางอนามัยให้อยู่ในข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งขนาดความยาวของถุงยางอนามัยที่เหมาะสมจะทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เกิดความพอใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนของกระบวนการผลิต (จากการที่มีความยาวเกินกว่าข้อกำหนดด้านคุณภาพ) ได้อย่างมากอีกด้วย

ประเด็นสำคัญที่ทีมงานของโครงการได้เรียนรู้จากการทำโครงการในครั้งนี้ คือการใช้ข้อเท็จจริง (Fact-Base) ซึ่งหมายถึง การพิสูจน์ข้อสงสัยต่างๆ ด้วยกระบวนการ Six Sigma เพื่อมาใช้ในการตัดสินใจของทีมงาน และด้วยการใช้ Six Sigma
เพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยต่างๆ ในกระบวนการ ทำให้ทีมงานมีความเชื่อมั่นที่จะดำเนินการปรับปรุงตามแนวทางที่ได้พิสูจน์ไว้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดที่ได้จากการทำโครงการครั้งนี้ คือการเปลี่ยนแนวคิดที่ใช้ในการเฝ้าติดตามกระบวนการโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของชิ้นงาน มาเป็นการใช้ความผันแปรของชิ้นงานแทน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญมากที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในกระบวนการและลดต้นทุนของกระบวนการได้

เทคนิคสำคัญที่ใช้:

Process Capability Analysis (Cp-Cpk), 2K Experimental Design และ Factorial Design

 

บริษัท ไทยโพลีเอสเตอร์ จำกัด

โครงการ: ลดผลิตภัณฑ์ที่ตกมาตรฐานที่กระบวนการฉีดเส้นใย

เป็นผู้ผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ชั้นนำของประเทศไทย บริษัทได้ทำการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์หลากหลายประเภทอย่างเชี่ยวชาญ เช่น POY, FDY, DTY, Staple Fiber และเส้นด้ายย้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการประยุกต์ใช้สิ่งทอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งข้อกำหนดด้านคุณภาพในกระบวนการผลิตเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์มีข้อกำหนดเรื่องน้ำหนักของลูกด้ายอยู่ที่ 8.98 ± 0.04 กิโลกรัม ซึ่งพบว่ากระบวนการผลิตก่อนใช้
Six Sigma นั้นมีลูกด้ายที่ไม่อยู่ในข้อกำหนดด้านน้ำหนักดังกล่าวนี้เป็นสัดส่วนที่สูงมาก หรือ เทียบเคียงเป็นระดับคุณภาพ Sigma (Sigma Level) ได้เพียง 2 Sigma เท่านั้น ทำให้เกิดความเสียหายในกระบวนการการย้อมสี ซึ่งเป็นกระบวนการถัดไป คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาท/ปี ด้วยการให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้นำเอากระบวนการ Six Sigma มาใช้
ในการลดของเสียของกระบวนการ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ “Fastest” และ “Largest” สิ่งสำคัญที่ค้นพบในการดำเนินการ
ครั้งนี้คือความคิดของพนักงานเกี่ยวกับตำแหน่งของทรายหยาบเปลี่ยนไป จากเดิมที่คิดว่าต้องกรองละเอียดก่อนกรองหยาบ
จะทำให้เส้นใยเท่ากันแต่กลับกลายเป็นว่ากรองหยาบก่อนจะช่วยให้เส้นใยเท่ากันมากขึ้น และทำให้ความผันแปรในปัจจัยอื่นๆ
ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิตหนึ่งได้ และสามารถเพิ่ม Tolerance ทำให้สามารถลดงานในการ Rework ในส่วนการ
ตั้งความเอียงของหน้าทราย และการทำความสะอาดหัวฉีดได้ในขณะที่คุณภาพของสินค้าดีขึ้น

เทคนิคสำคัญที่ใช้:

Process Capability Analysis, 2K Experimental Design และ Factorial Design

 

บริษัท เป๊ปซีโค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด

โครงการ: ลดปริมาณการใช้ก๊าซเฉื่อยในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์

เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหาร ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มข้ามชาติ สัญชาติอเมริกัน ทั้งนี้หลังจากที่บริษัทมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในส่วนของการบรรจุผลิตภัณฑ์ ทางบริษัทได้พบว่า ปริมาณการใช้ก๊าซเฉื่อยในกระบวนการดังกล่าวมีค่าค่อนข้างสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อ Cost of Production
ที่สูงขึ้น ทางทีมจึงได้ทำการศึกษาโดยใช้หลักการของ Six Sigma เพื่อหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถลดปริมาณการใช้ก๊าซเฉื่อยในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ดังกล่าวลง ส่งผลให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาทต่อปี ในขณะที่ยังคง
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ดีเช่นเดิม

ในองค์กรที่มีการทำ Continuous Improvement อย่างต่อเนื่อง การนำหลักการ Six Sigma มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาช่วยให้องค์กร สามารถหาโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้นและมากขึ้นด้วย ช่วยให้เราสามารถระบุ High Hanging Fruits ซึ่งอาจจะไม่สามารถมองเห็นได้โดยง่าย จากการใช้วิธีการอื่นๆ นอกจากนี้ ยังสามารถปรับปรุงกระบวนการได้ตรงประเด็นอย่างถูกต้องและยั่งยืนอีกด้วย

Six Sigma + “Can Do” Attitude + Teamwork = Success นั่นคือ 3 สิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทุกเรื่องให้ดียิ่งขึ้นได้

บางครั้งการใช้ประสบการณ์และความรู้สึก ก็อาจจะทำให้เราหลงทาง ใช้เวลาในการปรับปรุงอยู่นาน แต่หลักการ Six Sigma เป็นเหมือน Shortcut ที่ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุดและรวดเร็ว

เทคนิคสำคัญที่ใช้:

X-bar, R-Chart, Cp, Cpk, Gage R&R, Factorial Design และ Dimensionless Analysis

 

*การบรรยายพิเศษโดย อ. วชิรพงษ์ สาลีสิงห์ วิทยากรที่ปรึกษาด้าน Six Sigma สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ในหัวข้อ Six Sigma Roadmap & Overview”

  • Productivity Journey of Company (เส้นทางการปรับปรุงจาก QCC สู่ Six Sigma)
  • Why Six Sigma? (ทำไมถึงต้องเป็น Six Sigma)
  • How to make it success? (แนวทางที่ทำให้ Six Sigma ประสบความสำเร็จในองค์กร)
  • How to motivate teamwork? (แนวทางที่ใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ทีมงาน)

ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ

  • ได้รับฟังการนำเสนอการนำเทคนิค Six Sigma ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ ในกระบวนการผลิต
    และ Lean Process
  • มีส่วนร่วมในการ ถาม-ตอบ กับทีม Black Belt ในประเด็นที่ท่านสนใจ หรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ท่านสามารถขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาในเรื่อง Six Sigma ที่เหมาะกับองค์กรของท่าน ในกรณีที่มี
    ความสนใจต้องการนำเอาหลักการดังกล่าวไปใช้ในองค์กรของท่าน

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ

  • ผู้บริหารระดับกลาง-สูง ขององค์กร เพื่อดูแนวทางของ Six Sigma และพิจารณาโอกาสในการนำไปใช้ในองค์กร
  • ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม Black Belt หรือ Green Belt เพื่อมารับฟังและเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป

ขั้นตอนการนำเสนอ
Define – Measure – Analyze – Improve – Control


กำหนดการนำเสนอ

14 พฤศจิกายน 2566         เวลา 9.00 – 16.30 น.


สถานที่

โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ

 

ค่าธรรมเนียม (ยังไม่รวม Vat 7%)  3,500 บาท / ท่าน

 

สมาชิกสถาบัน รหัส TP ลด 5% / รหัส FI ลด 3%

  • ค่าธรรมเนียมรวม อาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการนำเสนอ
  • สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหัก ณ ที่จ่าย 3%

 

สอบถามเพิ่มเติม
แผนกบริการฝึกอบรม ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 458 (นันทนา)  E-mail: nuntana@ftpi.or.th

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

นันทนา สะการ์
02-6195500 ต่อ 458



Latest Course


Latest Articles