IMP-26 : ยกระดับผลิตภาพองค์กรด้วย Innovation Master Plan รุ่น 26 - สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ Thailand Productivity Institute
Loading Events
Public Training

IMP-26 : ยกระดับผลิตภาพองค์กรด้วย Innovation Master Plan รุ่น 26

วันที่อบรม
7 - 9 ธันวาคม 2565
เวลา 8:30-16:30 น.
โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน

ระยะเวลาอบรม : 3 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ


ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) 17,000 บาท
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

  • This event has passed.

หลักการและเหตุผล

แนวโน้มการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและไม่อาจคาดเดาได้อย่างชัดเจนของสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และความต้องการของตลาด ทำให้แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่เพียงพอที่จะทำให้องค์กรมีความมั่นคงในระยะยาว ดังนั้น ทุกองค์กรจึงเริ่มมุ่งเน้นความสำคัญของ นวัตกรรม เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน

เนื่องจากการสร้างนวัตกรรมต้องพิจารณาระยะเวลาและการวางแผนงานอย่างรอบคอบให้สามารถใช้ทรัพยากรและขีดความสามารถขององค์กร รวมไปถึงสามารถบูรณาการณ์องค์ความรู้และเครื่องมือ ที่จะให้ผลลัพธ์ตามที่องค์กรคาดหวัง นอกจากนี้องค์กรต้องส่งเสริมวัฒนธรรมและการกำหนดนโยบายที่จะสนับสนุนให้มีนวัตกรรม เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ องค์กรจำเป็นต้องจัดทำ แผนแม่บทด้านการสร้างนวัตกรรม (INNOVATION MASTER PLAN) เพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่มิติด้านการกำหนดกลยุทธ์ที่ต้องสร้างความแตกต่างของรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการในอนาคต มิติด้านแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดกระบวนการผลิต รวมไปถึงการนำเสนอสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภค มิติด้านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เอื้อต่อการเติบโตด้านนวัตกรรม และมิติด้านการสร้างวัฒนธรรมเปิดรับมุมมองที่หลากหลายโดยทุกมิติต้องมีการเชื่อมโยงและสนับสนุนกันอย่างเป็นระบบ

INNOVATION MASTER PLAN จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่องค์กรใช้กำหนดทิศทางและขยายธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอความแตกต่างให้กับตลาด ด้วยรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เคยได้รับการพัฒนามาก่อน รวมทั้งสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Model)

กรอบการดำเนินงานของแผนแม่บท

วัตถุประสงค์ เหมาะสำหรับ
1. เรียนรู้แนวทางการสร้าง และผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร

2. เรียนรู้กระบวนการพัฒนาและปรับเปลี่ยน สู่องค์กรนวัตกรรม

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นตัวอย่างแนวทางจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาแผนแม่บทของแต่ละองค์กร

– ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ นักบริหาร นักธุรกิจ

– นวัตกร

– นักวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารโครงการ

– บุคคลทั่วไปที่สนใจในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม

 

ผลลัพธ์การอบรม

1. แผนแม่บทและกรอบการดำเนินงาน เบื้องต้น สำหรับการนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานในระยะแรกของการส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร

2. แนวทางการดำเนินงานที่ดีในมิติต่างๆ ของการส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร

3. มุมมองและวิธีคิดในการสร้างนวัตกรรมที่แตกต่างหลากหลาย

 

วิทยากร :

คุณวุฒิพงศ์ บุญนายวา

วิทยากร ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity Improvement การปรับปรุงและออกแบบกระบวนการผลิต และการวางกลยุทธ์นวัตกรรมองค์กรเพื่อพัฒนาธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

วิทยากร ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการบูรณาการ และเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบจากกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ ยกระดับผลิตภาพองค์กรเพื่อความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจ

Guest Speaker : ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม จากองค์กรที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม

 

รูปแบบการอบรม : Classroom

 

Learning Method:

 

กำหนดการ

Agenda
วันแรก

 

 

 

 

 

– แนวคิดด้านนวัตกรรม (Innovation principle)

– บทบาทผู้นำนวัตกรรม (Innovative Leader) และผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leader)

ในองค์กร

– กระบวนการวางแผนแม่บทนวัตกรรม (Innovation Master Plan)

– การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร

– การวางแผนภาพสำหรับสถานการณ์ในอนาคต (Scenario Planning)

วันที่สอง

 

 

 

 

 

– การกำหนดรูปแบบนวัตกรรม (Innovation Portfolio)

– การปรับรูปแบบธุรกิจรองรับ (Business Model Adjustment)

– กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ (Product & Service design process)

– เรียนรู้นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Innovation)

– เรียนรู้แนวคิดการนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างแก่ลูกค้า (Value Innovation)

– เรียนรู้นวัตกรรมเพื่อชุมชน (Social Innovation)

วันที่สาม

 

 

 

 

 

 

 

– Future Challenge กับการพัฒนานวัตกรรมขององค์กร

– ประเภทนวัตกรรม (Type of Innovation)

– การคิดนวัตกรรมโดยมีลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง : Value Proposition and Design Thinking

– ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์โดย องค์กรที่โดดเด่นด้านนวัตกรรม

  • มิติแห่งการกำหนดกลยุทธ์นวัตกรรม

รูปแบบ (Model) หรือแนวทาง (Approach) ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมขององค์กร
– แนวทางการบริหารระบบเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่มาจากพนักงานอย่างต่อเนื่อง
– กลยุทธ์การกำหนดทิศทางและแนวทางในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมและเครื่องมือดิจิทัล
Corporate Innovation กลยุทธ์การร่วมมือในการปฎิรูปด้านนวัตกรรมภายในองค์กร
Key Success Factors ในการสร้างนวัตกรรมขององค์กร
– ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข

  • มิติแห่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและสร้างวัฒนธรรมให้เป็น “องค์กรแห่งนวัตกรรม”

– การสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศสู่วัตนธรรมแห่งนวัตกรรมที่เชื่อมโยงทั้งการท้าทายกับความเสี่ยงและยอมรับข้อผิดพลาด
บ่มเพาะและสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรภายใน เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่อนาคต
กลยุทธ์สนับสนุนให้บุคลากรค้นพบสิ่งใหม่ๆ นอกเหนือขอบเขตงานของตน
– แนวทางการยกระดับกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร
– กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ – นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
– กระบวนการกำหนดแผนแม่บทนวัตกรรม

– สรุปแผนการพัฒนานวัตกรรมองค์กร (Innovation Mater Plan) ของแต่ละองค์กร และร่วมกันหา Best Practice ในมิติต่างๆ โดยวิทยากรจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

– สรุปการเรียน และถามตอบ

ค่าธรรมเนียม 

ท่านละ (ก่อน VAT 7%)
 17,000 บาท
ท่านละ (รวม VAT 7%)
 18,190 บาท
หมายเหตุ : สมาชิกลด 5%

ค่าธรรมเนียมรวมผู้เชี่ยวชาญ เอกสารประกอบการอบรม อาหารว่าง อาหารกลางวัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 455
Line :

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

จันทกานต์ คูชัมภู
02-6195500 ต่อ 455

วิทยากร

วุฒิพงศ์ บุญนายวา

• ผู้จัดการส่วนบริหารการผลิต ฝ่ายปรึกษาแนะนำ
• ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity Improvement การปรับปรุงกระบวนการผลิต กลยุทธ์นวัตกรรมองค์กร

ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

• วิทยากรอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม
• ให้การฝึกอบรมด้านการสร้างผู้นำเชิงปฏิรูป การปฏิรูปทีมงาน การปรับปรุงผลการดำเนินงานของทีมงาน การวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงกลยุทธ์ การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การบริหารโครงการ การพัฒนาและสร้างนวัตกรรม ให้กับภาคผลิตและภาคบริการ


Latest Course


Latest Articles