
Design Thinking for Your Work in New & Next normal
หลักการและเหตุผล
โลกยุค VUCA World (V-Volatility ความผันผวน U-Uncertainty ความไม่แน่นอน C-Complexity ความซับซ้อน A-Ambiguity ความคลุมเครือ) ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ยุคความปกติใหม่ (New Normal) Design Thinking เป็นกระบวนการคิดที่ช่วยให้เกิดการออกแบบที่ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เท่านั้น แต่ยังใช้ออกแบบให้เกิดนวัตกรรมการทำงาน การพัฒนาและปรับปรุงการทำงานภายในองค์กร อาทิ ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายการตลาด ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายผลิต ฝ่ายงานสนับสนุน ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และอื่น ๆ หลักการที่สำคัญของ Design Thinking คือ การให้ความสำคัญกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ หรือ มุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นสำคัญ โดยวิทยากรจะนำเอาความรู้ด้าน Design Thinking ของ D. School จาก Stanford University ที่ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาเป็นตัวตั้ง และเพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานเข้ามาในกระบวนการ Ideation ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สามของ Design Thinking ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก CEF (Creative Education Foundation) และ CPSI (Creative Problem Solving Institute) และความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การสอน การบรรยาย การโค้ช มากว่าสิบปี ซึ่งจะช่วยให้การคิดเชิงออกแบบมีความแตกต่างสร้างสรรค์ไปจากแบบเดิม ๆ ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และสอดคล้องกับภาวะความปกติใหม่ (New Normal)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจพฤติกรรมใหม่ในยุค New Normal ที่มีผลกระทบกับงานและองค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจแนวคิด หลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
- เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงงาน
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมฝึกการพัฒนาและปรับปรุงการกระบวนการทำงาน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
กลุ่มเป้าหมาย
- ระดับพนักงาน ผู้บังคับบัญชาและผู้บริหาร จากฝ่ายงานต่าง ๆ
บรรยายโดย : อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์
วิทยากรด้าน Design Thinking , Creative Thinking , Coaching
เนื้อหา (เวลาบรรยาย 10.00-15.30 น.)
- What is New & Next Normal
- แนวคิด Design Thinking กับ Work Improvement
- ฝึกปฏิบัติ 5 ขั้นตอนของ Design Thinking ตามแนวทางของ Design School ของ Stanford University
- Empathize การสำรวจและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งถึงแก่น ในภาวะหลังวิกฤตฺโควิด
- Define นำสิ่งที่ค้นพบจากขั้นตอนแรก มาหา Pain Points ที่เกิดขึ้นในภาวะหลังวิกฤตโควิด แล้วจึงนิยามทิศทางและเป้าหมายในการคิดใหม่ ทำใหม่
- Ideate คิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์จากขั้นตอนที่สอง ด้วยการคิดนอกกรอบ ตามแนว Divergent Thinking แล้วจึงตามด้วยการคิดคร่อมกรอบ ตามแนว Convergent Thinking
- Prototype การทำแบบจำลองของสิ่งที่ได้มาจากการคิดสร้างสรรค์
- Test เพื่อทดสอบให้แน่ใจว่าไอเดียที่คิดใหม่ ทำใหม่ได้จริง ดีจริง คุ้มจริง เป็นประโยชน์จริง ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้จริง ก่อนลงทุนสเกลใหญ่ หรือระบุลงไปใน Work Procedure เพื่อปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องรองรับกับในภาวะหลังวิกฤตโควิดต่อไป
- สรุป และ ถามตอบ
Online Training ราคาต่อ 2 ท่าน (อบรมผ่าน Zoom)
ค่าธรรมเนียม (ราคายังไม่รวม Vat)
สมาชิก 4,500 บาท
ไม่เป็นสมาชิก 4,900 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 451-456 มือถือ 083-297-9494 (เอราวรรณ, ศิริชัย)
Line :
