4 มกราคม 2023

‘Productivity Facilitator’

ควรรับมืออย่างไรในยุค Hybrid Working?

เพราะบทบาทหน้าที่ของ Productivity Facilitator (PF) หรือ นักส่งเสริมผลิตภาพ คือ การผลักดันให้คนในองค์กรเข้าใจ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงผลิตภาพในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ผ่านแนวทางหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ทว่า รูปแบบการทำงานในองค์กรที่เปลี่ยนกำลังเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Work from Anywhere หรือ Hybrid Working อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ บางองค์กรก็ต้องหยุดพักกิจกรรม ขณะที่บางองค์กรยกเลิกไปเลยก็มี

คำถามก็คือ เมื่อไม่ค่อยได้เจอหน้า หรือ ไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเช่นนี้ กิจกรรมส่งเสริมผลิตภาพจะดำเนินต่อไปได้หรือไม่ แล้ว Productivity Facilitator ควรมีวิธีการอย่างไรในการโน้มน้าวใจให้คนในองค์กรยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพอย่างสม่ำเสมอ แม้ไม่ได้เจอหน้ากันในออฟฟิศเช่นเคย ? ลองมาดูคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญไปพร้อมกัน …

เพราะการสื่อสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเรื่องผลิตภาพ Productivity Facilitator ควรปรับช่องทางการสื่อสารหรือเข้าถึงพนักงานให้สอดรับกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป โดยเน้นให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น อาทิ Facebook, Line, Zoom หรือ Email โดยจะต้องวางแผนเนื้อหาหรือกิจกรรมให้สอดรับกับแต่ละช่องทาง

สิ่งสำคัญ ! อย่าลืมสำรวจธรรมชาติของคนในองค์กรว่าเหมาะกับช่องทางการสื่อสารรูปแบบใด หากเลือกช่องทางที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้พนักงานรู้สึกลำบากใจ และมีทัศนคติที่เป็นลบต่อการเพิ่มผลิตภาพ รวมถึงป้องกันการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่าอีกด้วย

เนื่องจาก Hybrid Working อาจทำให้เราพบหน้ากันน้อยลง การปรับให้กิจกรรมส่งเสริมผลิตภาพมาอยู่ในรูปแบบออนไลน์ที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้สะดวกจากทุกที่ จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ Productivity Facilitator ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ ทุกกิจกรรมจะต้องสามารถวัดผลได้ และตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้

สิ่งสำคัญ !  Productivity Facilitator จะต้องหาวิธีในการโน้มน้าวให้พนักงานในองค์กรมีความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรม การเพิ่มผลิตภาพด้วยความเต็มใจ

กิจกรรมที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนก็ยากที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร การส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในทุกระดับ ตั้งแต่ Start > Continuous > Advance

เช่น

  • Start เป้าหมาย คือ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกในการปรับปรุงงาน
  • Continuous เป้าหมาย คือ การผลักดันให้เกิดการปฏิบัติ และผลลัพธ์การปรับปรุงผลิตภาพอย่างเป็นรูปธรรม
  • Advance เป้าหมาย คือ ส่งเสริมนวัตกรรมและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับกิจกรรมเป็นระบบทั่วทั้งองค์กรและสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร

เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่ทำได้คือ การปรับตัวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอย่างรู้เท่าทัน ควบคู่กับแสวงหาโอกาสผ่านช่องทางใหม่ ๆ อย่าให้สิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้น ‘ผลิตภาพ’ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

ที่มา: คุยสบายบ่ายวันศุกร์ EP.42 ตอน Productivity Facilitator นักส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ ขุมพลังขับเคลื่อนผลิตภาพองค์กร วันที่ 26 ส.ค. 65


ค้นหาหลักสูตรเพื่อเสริมแกร่งศักยภาพบุคลากรและองค์กร คลิก 

‘Capability Development Program 2023’   พร้อมแล้วที่จะนำพาบุคลากรและองค์กรไทยมาร่วมเรียนรู้ ควบคู่กับการฝึกฝนประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะที่สำคัญต่อโลกการทำงานยุคใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่สูงลิ่ว ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้ง People – Process – Technology ผ่านรูปแบบ Public Training , e Training และ Intensive Program การันตีด้วยสาระความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และเทคนิคในการประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง




Writer