16 พฤศจิกายน 2021

นำองค์กรพิชิตเป้าหมาย ด้วย
‘3 โมเดลสู่ความเป็นเลิศ ด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม’

เพราะการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) คือ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับศักยภาพ สร้างความได้เปรียบแก่องค์กรให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

เพื่อให้การจัดการความรู้สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรได้อย่างแท้จริง สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้เชื่อมโยง 2 เครื่องมือเข้าด้วยกัน และพัฒนาให้กลายเป็น 3 โมเดลสู่ความเป็นเลิศ ที่สามารถตอบโจทย์องค์กรขนาดใหญ่และรัฐวิสาหกิจในด้านการจัดการความรู้และต่อยอดสู่นวัตกรรม ควบคู่กับการปรับปรุงผลการดำเนินงานตามแนวทางการประเมิน SE-AM / TQA / Performance Improvement

1
โมเดลการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM

มุ่งเน้นการจัดการความรู้โดยเริ่มต้นจากการกำหนดขอบเขต และจัดลำดับความสำคัญของขององค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในองค์กรและบุคลากร เพื่อให้เกิดการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ต่อองค์กร

          • สร้างระบบในการจัดเก็บและการจัดการความรู้
          • กระตุ้นการเรียนรู้ ถ่ายทอด และต่อยอดความรู้ในองค์กร
          • ช่วยให้การจัดการความรู้ขององค์กรประสบความสำเร็จ

……………….

2
โมเดลกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง
Change Management Process

ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานระหว่างบุคลากรกับความริเริ่มใหม่ ๆ เช่น กิจกรรม โครงการ และกระบวนการต่าง ๆ มุ่งพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร โดยอาศัยแผนปฏิบัติการ 6 ขั้นตอน


ประโยชน์ต่อองค์กร

        • พัฒนาบุคลากรให้พร้อมด้วยทักษะและความรู้
        • เชื่อมโยงบุคลากรกับความริเริ่มหรือกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม

……………….

3
โมเดลระบบบริหารจัดการนวัตกรรม
Innovation Management System

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้พัฒนาขึ้นจากต้นแบบอย่าง ISO 56002 ซึ่งเป็นระบบการบริหารจัดการที่นำเอานวัตกรรมเข้าไปสู่การดำเนินองค์กรในทุกลำดับชั้น และสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร เพื่อให้องค์กรมองเห็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องกัน


ประโยชน์ต่อองค์กร

        • บูรณาการความสามารถในด้านต่าง ๆ สู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ
        • เพิ่มความต่อเนื่องในการสร้างนวัตกรรม
        • ยกระดับขีดความสามารถและความเข้าใจต่อองค์ประกอบในการบริหารจัดการนวัตกรรม

……………….

แนะนำหลักสูตร




Writer