26 พฤษภาคม 2017

ปัญหาเรื่องขยะกลายเป็นหนึ่งประเด็นใหญ่ที่ทั่วโลกจับตามอง เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศใด ก็ต่างประสบปัญหาจากขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำและอากาศ จนเกิดเป็นแคมเปญรณรงค์ให้ผู้คนหันมารีไซเคิลขยะกันมากยิ่งขึ้น บริษัทรองเท้ายักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Reebok เองก็เล็งเห็นถึงการแก้ไขปัญหานี้ด้วยเช่นกัน

อุตสาหกรรมการผลิตรองเท้ามุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในการแสวงหาวัสดุอื่นทดแทนที่ไม่ใช่วัสดุจากปิโตรเลียม ในความเป็นจริงแล้ว รองเท้าที่กล่าวถึงนี้ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนา และยังไม่ได้มีการผลิตจริงแต่อย่างใด

สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสวมใส่ และชุดสวมใส่สำหรับเล่นกีฬานั้น ได้มีการเริ่มใช้วัสดุทดแทนดังกล่าวแล้ว ในขณะที่ Reebok (ผู้ผลิตรองเท้า) ได้มีความคิดในการเลือกใยสังเคราะห์พิเศษที่ผลิตจากใยข้าวโพดและฝ้าย

ส่วนด้านบนของรองเท้าจะทำจากใยฝ้ายธรรมชาติ ซึ่งก็ยังคงรูปแบบการผลิตรองเท้าของ Reebok แบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมีการนำเอาใยข้าวโพดมาเป็นใช้เป็นวัสดุในการทำรองเท้า ใยข้าวโพดจะเข้ามาใช้ในการทำพื้นรองเท้า ทดแทนวัสดุสังเคราะห์ปิโตรเลียม ที่ใช้กันในการผลิตรองเท้าแบบเดิม

โครงการนี้เป็นโครงการที่ Bill McInnis ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรมของบริษัท กล่าวว่า ได้ทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในส่วนของด้านบนรองเท้าที่ทำจากฝ้ายนั้น การเลือกวัสดุฝ้ายไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่ในการหาวัสดุทดแทนในส่วนของพื้นรองเท้านั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่า โดย Bill McInnis ได้กล่าวว่า “เราได้มองหาวัสดุทดแทนหลายชนิด ตั้งแต่ไม้ก๊อกไปจนวัสดุอื่นๆ”

มีเพียงไม่กี่สาเหตุที่ทำให้ข้าวโพดนั้นถูกพิจารณาว่า สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดของทีมงานได้ โดยหนึ่งในสาเหตุนั้น ได้แก่ Reebok เลือกใช้ข้าวโพดพันธุ์แป้ง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างจากข้าวโพดหวานที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดี (นำไปปิ้งรับประทานกับ BBQ Party ในช่วงหน้าร้อน) สำหรับข้าวโพดสายพันธุ์แป้งนี้ ไม่เหมาะที่จะมาใช้ในการบริโภคของมนุษย์ แต่เหมาะที่จะนำไปใช้การเลี้ยงปศุสัตว์ นำไปผลิตเป็นแป้งข้าวโพด หรือนำไปใช้ในการผลิตวัสดุทนทาน เช่น โพลิแอสติก ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในอุตสาหกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ หรือการผลิตพลาสติก

พื้นรองเท้าทำมาจากวัสดุที่เรียกว่า Susterra Propanediol ซึ่งผลิตโดย บริษัท ดูปองท์เทตแอนด์ไลล์ไบโอโปรดักส์ โดยใช้เมล็ดข้าวโพดที่แห้งแล้ว McInnis กล่าวว่า กระบวนการผลิตจะใช้การต้มและหมักข้าวโพดด้วย “จุลินทรีย์ที่เหมาะสม” และภายใต้สภาวะการหมักที่เหมาะสมเช่นกัน ทั้งนี้วัสดุ Susterra สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ตั้งแต่กาวและน้ำหล่อเย็นไปจนถึงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งขึ้นอยู่กับสูตร

รองเท้าทั้งหมดสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน เนื่องจากทั้งฝ้ายอินทรีย์และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถย่อยสลายได้ แต่ McInnis กล่าวว่า ไม่ควรส่งผลกระทบต่อความทนทานโดยรวมของรองเท้า “พวกเขากำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบ เช่นเดียวกันกับที่เราใส่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ”

ในท้ายที่สุด ความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการทำความสะอาดอุตสาหกรรม ที่รองเท้ามักจะจบลงในสถานที่ฝังกลบขยะ “ถ้าคุณมองไปที่กระบวนการผลิตรองเท้าทั้งหมด และตลอดวงจรชีวิตของรองเท้า สิ่งที่ยอมรับได้ก็ไม่ใช่เรื่องที่สะอาด” McInnis กล่าว

Reebok ไม่ใช่บริษัทรองเท้ารายใหญ่เพียงรายเดียว ที่พยายามจะเพิ่มความสามารถในการผลิตรองเท้าที่ยั่งยืน ไนกี้ได้เพิ่มการมุ่งเน้นไปที่โปรแกรม Grind ซึ่งจะปรับโฉมรองเท้าผ้าใบเก่าให้กลายเป็นสิ่งใหม่ๆ เช่น รองเท้า เครื่องแต่งกาย และพื้นผิวที่เคยวิ่งบนรางรถไฟ Adidas (บริษัทแม่ของ Reebok) ได้ออกผลิตภัณฑ์รองเท้าอย่างยั่งยืนไม่กี่ชิ้น ซึ่งรวมถึงสาย Terrex ซึ่งทำจากพลาสติกทะเลรีไซเคิล และรองเท้ารักษ์โลก สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ซึ่งทำจากไหม

อย่างไรก็ตาม Reebok ตั้งใจที่จะขยายสาย ข้าวโพด + ฝ้าย กับการยึดเป้าหมายของรองเท้าผ้าใบเป็นสำคัญ

ที่มา : http://www.popsci.com/reebok-biodegradable-sneakers-made-corn




Writer

โดย นันทนา สะการ์

เจ้าหน้าที่บริการฝึกอบรม ส่วนบริการฝึกอบรม
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ