31 มีนาคม 2017

เมื่อกระแสความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกธุรกิจ ทุกภาคส่วนรวมไปถึงธุรกิจอุตสาหกรรมก็ตื่นตัวด้วยการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบของเทคโนโลยีต่างๆ ดังเช่น Internet of Things ที่จะพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมยุคใหม่ไปสู่อนาคตแห่งความสำเร็จ

ปัจจุบัน Internet of Things (IoT) กำลังแทรกซึมเข้ามาในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม คำถามคือ .. อุตสาหกรรม 4.0 จะมีบทบาทกับธุรกิจขององค์กรคุณอย่างไรบ้าง   ขนาดและสัดส่วนโรงงานที่มีความกระชับขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานสูงขึ้น รวมถึงมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำเป็นกับงานเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตประมาณร้อยละ 76 ใช้อุปกรณ์สารสนเทศในกระบวนผลิตมากขึ้น     ภาคอุตสาหกรรมนำ Software โซลูชั่นการผลิตมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประวัติลูกค้า ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างชาญฉลาด

ไม่ว่าธุรกิจของคุณมีแผนเกี่ยวกับ IoT หรือมีแนวคิดเรื่องเทคโนโลยี “Smart” หรือไม่อย่างไร  แต่ในเร็ว ๆ นี้ ทางผู้ผลิตมีแผนกลยุทธ์ที่จะขยาย IoT เข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างแน่นอน ผลกระทบของ IoT ต่ออุตสาหกรรมการผลิตในปี 2017 มีดังนี้ :

IoT กลายเป็นเรื่องที่ทุกๆ คนกล่าวถึง

แม้ว่าผู้ผลิตเริ่มเห็นประโยชน์ของการแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลด้วย cloud แต่จำนวนผู้ใช้ระบบดังกล่าวยังมีไม่มากนัก ส่วนมากอยู่ในระยะการวางแผนการนำระบบ IoT มาใช้งาน   จากรายงานของนิตยสาร Forbes พบว่า ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมเพียง 10% ที่เริ่มนำระบบ cloud มาใช้ในธุรกิจ    ผู้บริหาร คือ ผู้มีบทบาทสำคัญที่จะกำหนดว่าธุรกิจองค์กรจะลงทุนเรื่อง IoT มากน้อยเพียงใด รวมถึงเป็นผู้กำหนดแนวทางเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะพนักงานหากมีการใช้ IoT ภายในองค์กร

ใช้เงินลงทุนสูงเพื่อพัฒนาระบบ Software

จากผลวิจัยของ Business Insider พบว่า ปีทีผ่านมาผู้ผลิตใช้เงินลงทุนเพื่อแก้ปัญหากระบวนการผลิตด้วยระบบ Cloud ประมาณ 29 พันล้านเหรียญ และคาดการณ์ว่าในปี 2020 อุตสาหกรรมต้องใช้เงินลงทุนกับเทคโนโลยี IoT กว่า 70 พันล้านเหรียญ

สำหรับผลลัพธ์ขององค์กรที่เริ่มนำระบบ Cloud มาใช้ พบว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องจักรมีอัตราส่วนลดลงร้อยละ 30 และแผนการบำรุงรักษา (predictive maintenance) ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องความเสียหายของเครื่องจักรลงได้มากถึง 70%

อุตสาหกรรมใหม่ คือ งานใหม่

เมื่อมีการนำ IoT เข้ามาใช้ การทำงานรูปแบบเดิมในบางขั้นตอนอาจไม่จำเป็น แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าปริมาณงานของธุรกิจจะลดลงเนื่องจากงานบางขั้นตอนในส่วนการผลิตอาจถูกปรับเปลี่ยนหรือยกเลิก แต่จำนวนพนักงานในส่วน IT นักวิจัย และเจ้าหน้าที่งานวิเคราะห์จะเพิ่มสูงขึ้น จากรายงานการสำรวจของ BCG Perspective พบว่า ตำแหน่งงานใหม่ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ นักวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (Industrial Data Scientist) เจ้าหน้าที่ควบคุมการใช้จักรกล (Robot Coordinator) และ เจ้าหน้าที่วางโครงสร้างเครือข่าย (IoT Architect) ในขณะที่บางตำแหน่งงานที่เคยมี เช่น พนักงานประจำไลน์ผลิต (Line Worker) เจ้าหน้าที่คุมเครื่อง (Machine Operator) จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์หรือ AI

Big Data กุญแจสำคัญที่จะเปลี่ยนทิศทางธุรกิจองค์กร

การใช้ข้อมูลมีความจำเป็นมากขึ้นในเกือบทุกอุตสาหกรรมการผลิต และเป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรใช้สำหรับวางแผน   กลยุทธ์เพื่อกำหนดทิศทางธุรกิจรวมถึงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการงานด้วยระบบ Smart เซ็นเซอร์ และสื่อสารกับเครื่องจักรกลได้โดยตรง John Rabinowitz เจ้าของ Panoramic Power Blog ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า Smart เซ็นเซอร์นี้ ช่วยสร้างความคล่องตัวให้องค์กรในการบริหารจัดการ ควบคุม ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงระบบงาน ส่งสัญญาณแจ้งเตือนเมื่ออุปกรณ์เริ่มมีปัญหา รวมถึงการเพิ่มสมรรถนะความเร็วในการส่งต่อข้อมูลและการสนองตอบความต้องการทางการตลาด

ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นในการติดต่อธุรกิจ

วัตถุประสงค์หลักที่องค์กรลงทุนนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ คือ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าสูงขึ้น และสินค้ามีคุณภาพมากขึ้น Michelle Hopkins บรรณาธิการ ของ Managing Editor of Lifecycle Product ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า การใช้เทคโนโลยีในแต่ละชิ้นงานควรได้รับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลองช่วงอายุงานของผลิตภัณฑ์นั้น เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะสามารถปรับแก้เพิ่มเติมภายหลังการซื้อสินค้าแล้วผ่านเทคโนโลยี IoT ปัจจุบันพบว่า อุปกรณ์ประมาณ 5,000 ชิ้น มีระบบเชื่อมต่อกับ IoT และมีแนวโน้มการลงทุนในเรื่องดังกล่าวสูงถึง 25 พันล้านเหรียญในปี 2025 เห็นได้ว่า ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมถือเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรงจาก IoT อย่างแน่นอน

ที่มา: www.indusa.com/blog/how-iot-will-impact-the-manufacturing-industry-in-2017-indusa/

 




Writer

โดย ธนัญญา สุธรรมชัย

นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโส ส่วนการตลาด
ฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ