30 พฤศจิกายน 2015

eco

Eco-business.com ได้เขียนบทความถึงแนวทางการปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการลดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งแนวทางดังกล่าวไม่ยากเกินความสามารถ หากทุกประเทศร่วมมือกัน

นักวิจัยชาวยุโรปกำลังทำการค้นคว้าหาวิธีที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นับเป็นข่าวดีที่เราสามารถบรรลุข้อตกลงดังกล่าว โดยทุกประเทศได้แสดงเจตจำนงทางการเมืองที่จะดำเนินการร่วมกันที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พวกเขาสรุปได้ว่าการใช้นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกซึ่งมีการดำเนินงานอย่างจริงจังอยู่แล้วในบางประเทศนั้น สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งพวกเขาจะต้องป้องกันไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ (NewClimate Institute) องค์กรประเมินสิ่งแวดล้อม และนักวิจัยจากสถาบันนานาชาติเพื่อการวิเคราะห์ระบบเชิงประยุกต์ ได้ชี้แจงรายละเอียดการค้นพบของพวกเขาในรายงานที่ตรวจสอบผลกระทบของนโยบาย “การปฏิบัติที่ดี” ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซในพื้นที่ต่างกัน 9 แห่งใน 6 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ประเทศจีน บราซิล อินเดีย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และญี่ปุ่น

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

พื้นที่ที่ตรวจสอบนั้นรวมไปถึงพลังงานทดแทน ความหลากหลายของมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานสำหรับอาคาร ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงรถยนต์ ระบบแสงสว่าง ภาคอุตสาหกรรม สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล รถยนต์ไฟฟ้า และการทำป่าไม้

นักวิจัยมีความปรารถนาอย่างมากที่จะเห็นการนำนโยบาย “การปฏิบัติที่ดี” มาใช้ ซึ่งได้มีดำเนินการอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ และการคำนวณหาความแตกต่างที่จะเกิดขึ้น ถ้าทุกประเทศใช้นโยบายนี้ ซึ่งพวกเขากล่าวว่ามีความแตกต่างที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก

ศัพท์เฉพาะที่นักวิจัยใช้เรียกหน่วยของก๊าซเรือนกระจกคือ GtCO2e ซึ่งเป็นตัวย่อของ “จำนวน 1 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” มันเป็นวิธีที่ง่ายที่จะทำการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ ที่พบบ่อย โดยแสดงให้เห็นในแง่ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกัน

รายงานบ่งบอกว่าจากการดำเนินนโยบายการปฏิบัติที่ดี คาดว่าจะรักษาเสถียรภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ที่ 49-50 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ภายในปี ค.ศ.2020 และลดลง 44-47 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtC02e) ภายในปี ค.ศ.2030 ซึ่งห่างจากอุณหภูมิที่ต้องควบคุมไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียสจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (30-44 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e)) ที่ถือเป็นเป้าหมายของโลกสำหรับปี ค.ศ.2030

เสียงสะท้อนโดยตรงของนโยบายการปฏิบัติที่ดีนั้น คาดว่าจะหยุดการปล่อยก๊าซที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ก่อนปี ค.ศ.2030 แต่ในทางตรงกันข้ามหากใช้นโยบายในปัจจุบัน คาดว่าจะเห็นการปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้นต่อไปอยู่ที่ประมาณ 54 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ในปี ค.ศ.2020 และ 59-60 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ในปี ค.ศ.2030

“เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลแต่ละแห่งสามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อหานโยบายที่มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซ” 

Niklas Höhne ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิจัยสภาพอากาศ (NewClimate Institute) กล่าวว่า “ถ้าทุกคนทำงานโดยมุ่งหวังให้บรรลุถึงมาตรฐานระดับสูงในพื้นที่เป้าหมายนั้น จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ”

จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีนโยบายการปฏิบัติที่ดีโดยการใช้พลังงานทดแทน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศโลกได้มากที่สุด (3.7-6.0 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ซึ่งกลุ่มประเทศที่มีนโยบายดีที่สุดของโลก ได้แก่ จีน คอสตาริกา  เยอรมนี และตูวาลู

เป้าหมายที่น่าสนใจ

เนื่องจากนโยบายการปฏิบัติที่ดีของสหภาพยุโรป เม็กซิโก จีน และสหรัฐอเมริกา สามารถลดการปล่อยก๊าซก๊าซฟลูโอริเนต (ก๊าซเรือนกระจกกลุ่มฟลูโอริเนต) ได้ประมาณ 1.1-2.2 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า “เป้าหมายหรือนโยบายที่น่าสนใจ”

สำหรับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า นโยบายการปฏิบัติที่ดีสามารถลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก โดยการจัดหาแหล่งพลังงานที่ปราศจากก๊าซคาร์บอนและการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในด้านอุปทาน จึงถือได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศกำลังพัฒนา

นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศจีน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้นประมาณ 15 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ภายในปี ค.ศ.2030 แต่ภายใต้โครงการนโยบายการปฏิบัติที่ดี ประเทศจีนจะปล่อยก๊าซสูงสุดประมาณปี ค.ศ.2020 และในปี ค.ศ.2030 จะเหลืออยู่ที่หรือลดลงประมาณ 12 พันล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) หรือต่ำกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม จากรายงานยังบ่งบอกอีกว่า ประเทศจีนได้กลายเป็นผู้นำในการนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ในหลายพื้นที่

Hanna Fekete ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิจัยสภาพอากาศ (NewClimate Institute) อีกท่านได้กล่าวไว้ว่า “การกำหนดนโยบายสภาพภูมิอากาศในประเทศจีนได้เริ่มดำเนินการในไม่กี่ปีที่ผ่านมา และความคืบหน้าล่าสุดในการลดปริมาณการใช้ถ่านหิน อย่างเช่น การวางรากฐานที่ดีที่แนวโน้มเพื่อการดำเนินการต่อไปในอนาคต”

แหล่งที่มา: http://www.eco-business.com/news/good-practice-makes-perfect-sense-for-ghg-cuts/


Tags:


Writer

โดย พัชรวรรณ สุทธิรักษ์

เจ้าหน้าที่บริการฝึกอบรมอาวุโส ฝ่ายฝึกอบรม
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ