

วันที่อบรม
24 - 30 กันยายน 2566
เวลา 0:00-0:00 น.
โตเกียว-เซนได-อิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น

ระยะเวลาอบรม : 7 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ

ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
189,000 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
Study: Well Aging in Japan for the Future of Aging Society in Thailand
ทัศนศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ และการพัฒนาองค์กรสู่การรองรับผู้สูงวัยของไทยอย่างสมบูรณ์ ณ ประเทศญี่ปุ่น (โตเกียว-เซนได-อิวาเตะ)
(หลักสูตรรับใบประกาศนียบัตรจาก Well Aging Japan Association)
วันที่ 24 – 30 กันยายน 2566 (7 วัน 4 คืน)
ปิดรับการลงทะเบียน ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง
โครงการศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเปิดกว้างมุมมอง ถอดรหัสวิวัฒนาการเพื่อรองรับผู้สูงวัยจากอดีตถึงปัจจุบัน ด้านการบริหารพื้นที่ ด้านการพัฒนาอุปกรณ์ของใช้ และด้านการวิจัยเฉพาะทางทั้งร่างกายและระบบสมอง รวมถึงการเข้าชมงานแสดงสินค้าจากนวัตกรรมล่าสุด พร้อมการสร้างเชื่อมโยงกับนักวิจัยและผู้ประกอบการญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการและสร้างประสบการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการสร้างการตระหนักรู้ ให้เกิดกระบวนการคิด แก่ผู้บริหารโรงพยาบาลหรือสถานบริบาล เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ตลอดจนผู้ประกอบการและนักวิจัย นำไปสู่การวางแผนและนโยบายขององค์กร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ดำเนินการให้เกิดผลลัพธ์การจัดการและการพัฒนาองค์กรหรือธุรกิจ สำหรับรองรับผู้สูงวัย และผู้พิการของไทยอย่างมีผลิตภาพและยั่งยืน
Highlight
-
เรียนรู้วิวัฒนาการทางการบริหารจัดการของภาครัฐและพัฒนาธุรกิจเพื่อผู้สูงวัย
-
เรียนรู้การออกแบบอุปกรณ์และการสร้างสภาพแวดล้อมศูนย์เฉพาะทางสำหรับผู้สูงวัย
-
ศึกษา 1 ชุมชนตัวอย่างและศูนย์ดูแลผู้สูงวัย 3 แห่ง (ที่ปกติไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าชม !!!)
-
ชมผลงานวิจัย Life Science & Brain Science ณ ศูนย์วิจัยทางการแพทย์เพื่อผู้สูงวัย มหาวิทยาลัยโตโฮคุ
-
Business Matching และเข้าชมงานสินค้า H.C.R. ( International Home Care and Rehabilitation Exhibition – H.C.R. 2023)
กลุ่มเป้าหมาย
-
บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล สถานบริบาล ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย เช่น ผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้บริหารศูนย์บริบาลผู้สูงวัย แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด เป็นต้น
-
ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อผู้สูงวัย ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกอุปกรณ์ ระบบการบริหารจัดการ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย
-
สถาปนิก นักออกแบบ วิศวกร และผู้ประกอบการก่อสร้างอาคารสำหรับการบริบาลผู้สูงวัย ผู้พิการ
-
เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย/มาตรการต่างๆ รองรับผู้สูงวัย
-
ผู้สนใจทั่วไป สำหรับการเตรียมตัวหรือมองหาโอกาสรองรับสังคมผู้สูงวัย
กำหนดการเดินทาง (หมายเหตุ: อาจมีการเปลี่ยนแปลง วันเวลา สถานที่ตามความเหมาะสม)
วันที่ 1 : วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 66 |
|
19:30 |
คณะพร้อมกันที่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ |
22:45 |
ออกเดินทางสู่ ท่าอากาศยานนานาชาติฮาเนดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดย TG682 |
วันที่ 2 : วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 66 (โตเกียว / รวมมื้อเช้า-กลางวัน-เย็น) |
|
06:55 |
เดินทางถึงมหานครโตเกียว / ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและพิธีการศุลกากร |
08:00 |
ออกเดินทางโดยรถบัสสู่ศูนย์การแพทย์บริการผู้สูงวัยที่บ้าน ศูนย์การแพทย์ Yushoukai |
09:00 |
รับฟังการบรรยายหัวข้อ “จากโรงพยาบาล สู่การดูแลที่บ้าน” โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดย Dr.Jun Sasaki |
12:00 |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13:30 |
ออกเดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์บริบาลผู้สูงวัย Harumi-en |
18:00 |
รับประทานอาหารค่ำ |
20:00 |
Hotel1: Goodnight Day 1 |
วันที่ 3 : วันอังคารที่ 26 กันยายน 66 (โตเกียว / รวมมื้อเช้า-กลางวัน-เย็น) |
|
07:30 |
รับประทานอาหารเช้าของโรงแรม |
09:00 |
Overview: Japan Aging Revolution and Its Lesson Learns by Mr.Ogawa |
12:00 |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13:30 |
รับฟังการบรรยายหัวข้อ “การออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารและสภาพแวดล้อมเฉพาะทางแก่ผู้สูงวัยหรือศูนย์ดูแลผู้สูงวัยที่เหมาะสม” โดย Mr. Kazuaki Sodoเยี่ยมชมศูนย์ดูแลผู้สูงวัยที่ได้รับการออกแบบ Maihama Club |
17:00 |
เดินทางถึงโรงแรมที่พัก (เลือกรับประทานอาหารค่ำโดยอิสระ) |
20:00 |
Hotel1: จัดเตรียมสัมภาระ (1คืน) สำหรับเดินทางไปจังหวัด Sendai/ Goodnight Day 2 |
วันที่ 4 : วันพุธที่ 27 กันยายน 66 (โตเกียว-เซนได / รวมมื้อเช้า-กลางวัน-เย็น) |
|
06:00 |
รับประทานอาหารเช้าของโรงแรม |
06:50 |
ออกจากโรงแรม สู่สถานีรถไฟโตเกียว โดยลีมูซีนแท็กซี่ |
07:32 |
ออกเดินทางสู่จังหวัด Sendai โดยรถไฟฟ้าความเร็วสูง Shinkansen |
09:40 |
เยี่ยมชมพร้อมฟังบรรยายศูนย์วิจัย Center for Smart Aging Interdisciplinary Research Center, Institute of Development, Aging and Cancer มหาวิทยาลัยโตโฮคุ |
12:30 |
ออกเดินทางโดยรถบัส และรับประทานอาหารกลางวันบนรถ |
15:10 |
เข้าชมพิพิธภัณฑ์และสถานที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและทสึนามิที่รุนแรงที่สุด Takada Matsubara Tsunami Fukkouพร้อมชมต้น Matsu ต้นไม้ที่รอดชีวิตอยู่เพียงต้นเดียว จากภัยพิบัติ |
15:55 |
เยี่ยมชมศูนย์ดูแลผู้สูงวัยตัวอย่าง ที่ผสมผสานการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างลงตัว Tenjinkai |
18:00 |
Hotel2: เข้าที่พักออนเซ็นเรียวกัง Oofunato Onsen (ห้องพักเดี่ยว) |
19:00 |
รับประทานอาหารค่ำพร้อมกันในสไตล์ญี่ปุ่น |
21:00 |
พักผ่อนตามอัธยาศัย: Goodnight Day 3 |
วันที่ 5 : วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 66 (เซนได-อิวาเตะ-โตเกียว/ รวมมื้อเช้า-กลางวัน-เย็น) |
|
07:30 |
รับประทานอาหารเช้าของโรงแรม |
08:30 |
ออกเดินทางโดยรถบัสสู่เมืองแห่งผู้สูงวัย Hachimantai พร้อมการบรรยายแนะนำ |
11:00 |
รับประทานอาหารกลางวันในศูนย์อาหาร Kominka Shokudoที่ บริหารจัดการโดยกลุ่มผู้สูงวัย และเยี่ยมชมการบริหารจัดการ การออกแบบพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในศูนย์ดูแลผู้สูงวัยเฉพาะทาง ซึ่งมีความแตกต่างกันแต่สามารถอยู่ร่วมกันในชุมชน
|
15:30 |
ออกเดินทางโดยรถบัส สู่สถานีรถไฟ Morioka |
16:50 |
ออกเดินทาง สู่สถานีรถไฟโตเกียว โดยรถไฟฟ้าความเร็วสูง Shinkansenรับประทานอาหารค่ำ ในรูปแบบอาหารกล่องบนรถไฟฟ้า Shinkansen |
19:25 |
เดินทางเข้าที่พักโดยลีมูซีนแท็กซี่ |
19:50 |
Hotel3: Goodnight Day 4 |
วันที่ 6 : วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 66 (โตเกียว/ รวมมื้อเช้า และเย็น) |
|
07:30 |
รับประทานอาหารเช้าของโรงแรม |
09:45 |
ออกเดินทางสู่ศูนย์นิทรรศการ Tokyo Big Sight เข้างานนิทรรศการงานแสดงสินค้านวัตกรรม Home Care and Rehabilitation Exhibition หรือ H.C.R. พร้อมแนะนำข้อมูลผู้แสดงสินค้าที่ท่านน่าสนใจ และเส้นทางการเข้าชมงานให้เกิดประสิทธิผลรับประทานอาหารกลางวัน (โดยอิสระภายในงาน) |
15:00 |
กิจกรรมเชื่อมโยงธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ประกอบการญี่ปุ่น |
15:30 |
กิจกรรม มอบประกาศนียบัตรหลักสูตรทัศนศึกษา โดย Well Aging Japan (WAJ)
|
18:00 |
รับประทานอาหารค่ำสังสรรค์ร่วมกันกับผู้ประกอบการญี่ปุ่น สร้างเครือข่ายร่วมกันในอนาคต |
21:00 |
ออกเดินทางสู่ ท่าอากาศยานนานาชาติฮาเนดะ โตเกียว |
วันที่ 7 : วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 66 |
|
00:20 |
คณะเดินทางสู่ประเทศไทย โดย TG661 |
04:50 |
คณะเดินทางถึง ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ โดยสวัสดิภาพ |
ค่าธรรมเนียมต่อท่าน 189,000 (ราคาไม่รวม Vat) (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ค่าธรรมเนียม การศึกษาดูงาน ระยะเวลา 7 วัน 4 คืน รวมการอบรม 1 วัน
กรณีบัตรโดยสารเครื่องบินชั้นธุรกิจ จ่ายเพิ่ม เริ่มต้นท่านละ 150,000 บาท (หรือตามที่จ่ายจริง)
ขอสงวนสิทธิ์ในการเดินทางไปและกลับ พร้อมคณะเท่านั้น
ราคาดังกล่าว รวม
-
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทัศนศึกษาดูงานต่างประเทศ
-
ค่าใช้จ่ายในการเข้าเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
-
ค่าทำคู่มือและเอกสารของโครงการ
-
ค่าที่พักตลอดการเดินทาง รวมการพักในออนเซ็นเรียวกัง
-
ค่ารถบัส ค่าแทกซี่ระหว่างการเดินทาง
-
ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินชั้น Economy โดยสายการบินไทยแอร์เวย์ หรือเทียบเท่า
-
ค่าอาหารเช้า กลางวัน เย็น โดยอาหารหลัก เป็นอาหารญี่ปุ่น และจัดให้มีมื้ออิสระ สำหรับสร้างประสบการณ์การเลือกอาหารที่ชอบทานเอง (บางมื้อ) ในช่วงเวลาศึกษาวัฒนธรรมและสังคม
-
ค่าประกันอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง
-
ค่าทีมงานจากโครงการในการดูแลและติดตามระหว่างการทำกิจกรรมตลอดการเดินทาง
-
ไม่รวม ค่าใช้จ่ายในการทำ passport, ค่าส่งกระเป๋าและสัมภาระล่วงหน้า, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และอื่นๆ ระหว่างอยู่ต่างประเทศ
วิธีการสมัครและชำระเงิน
-
สมัครด่วน ปิดรับสมัครเมื่อมีผู้สมัครและชำระเงินครบตามจำนวนที่กำหนด
-
สถาบันแจ้งตอบรับทาง E-mail และแจ้งกำหนดวันชำระค่าธรรมเนียม โดยโอนเข้าบัญชี
-
โอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขาอาคารยาคูลท์ สนามเป้า
-
ชื่อบัญชี “มูลนิธิเพื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ” บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 210-0-50861-9
-
-
-
-
-
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0994000020724
-
-
-
-
ส่งหลักฐานการชำระเงินมาที่ E-mail : sirisak@ftpi.or.th
-
หมายเหตุ
-
กรณียกเลิกหรือเปลี่ยนผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน กรุณาแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในวันที่ 15 วันก่อนเดินทาง มิฉะนั้น ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงิน / เรียกเก็บ 100% ของค่าธรรมเนียม
-
กรณีถูกปฏิเสธการเข้าเมือง ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงิน / เรียกเก็บ 100% ของค่าธรรมเนียมฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ส่วนการตลาดและพัฒนาธุรกิจ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ : 02 619 5500 # 441 (คุณศิริศักดิ์)
E-mail : sirisak@ftpi.or.th
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการศึกษาดูงาน
วิทยากร :
Mr.Toshihisa Ogawa
ประสบการณ์ในแวดวงการบริบาลผู้สูงวัย มากว่า 32 ปี เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง การพัฒนาระบบการบริหารจัดการของประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้มีส่วนร่วมในการริเริ่มระบบการประกันการบริบาลของประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้รับผิดชอบศูนย์บริบาลผู้สูงวัย ผู้พิการ เป็นระยะเวลา 12 ปี ดูแลผู้สูงวัยมากกว่า 3,000 คน ผู้ที่ต้องรับการดูแลใกล้ชิดมากกว่า 300 คน ปัจจุบัน เป็นนายกสมาคม Well Aging Japan คนที่ 6 และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ Well Aging Academy และศูนย์ฝึกการป้องกันภัย Well Aging
Dr.Jun Sasaki
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย โดยมีแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงจากการเน้นการรักษาผู้สูงวัย เป็นการส่งเสริมดูแลสุขภาพให้แก่ผู้สูงวัยเพื่อมิให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญกับชีวิตตนเอง เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์การแพทย์บริการการดูแลผู้สูงวัยหรือผู้ป่วยที่บ้านที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี 2006 ปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการมากกว่า 5,000 ราย มีแพทย์ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน 65 คน และร่วมเป็นพันธมิตรกับศูนย์ต่างๆ อีกกว่า 20 แห่ง มีแพทย์เฉพาะทางทั้งด้านจิตเวช ด้านผิวหนัง การฟื้นฟูสมรรถนะร่างกาย ด้านสุขภาพฟัน และการดูแลโภชนาการ
Mr.Kazuaki Sodo
สถาปนิกใบอนุญาตชั้นหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบศูนย์ดูแลผู้สูงวัยที่เฉพาะทางที่ตั้งอยู่ในชุมชนเมือง โดยมีประสบการณ์การออกแบบก่อสร้างทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ อาคารที่ออกแบบมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้งาน การเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งภายใน มีแนวคิดในการออกแบบที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นอย่างมากในสังคมผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่น และได้รับการยกย่องยอมรับถึงความสามารถอย่างกว้างขวาง
Prof.Dr.Yasuyuki Taki
ศาสตราจารย์ผู้เป็นหัวหน้าประจำศูนย์วิจัย Center for Smart Aging Interdisciplinary Research Center, Institute of Development, Aging and Cancer มหาวิทยาลัยโตโฮคุ ผู้เชี่ยวชาญการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับระบบสมอง การใช้เทคโนโลยีในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย และระบบเซนเซอร์สำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน
ความพิเศษเฉพาะของการศึกษาดูงาน
สมาคม Well Aging Japan (WAJ)
ก่อตั้งในปี 1953 โดยนายแพทย์ Jusaburo Yoshida ปัจจุบัน สมาคมมีอายุ 70 ปี เป็นองค์กรที่มีประวัติยาวนานในการพัฒนาการแก้ไขปัญหาสังคมสูงวัยของประเทศญี่ปุ่น ปรัชญาองค์กร การทำให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความหมายในยุคสมัยที่ผู้คนมีอายุยืนยาว จากผู้สูงวัยแต่ละคน สู่การรวมกลุ่มของผู้สูงวัย ไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้สูงวัย
ศูนย์การแพทย์บริการการดูแลผู้สูงวัยหรือผู้ป่วยที่บ้าน หรือ Home Care Support Clinic
ศูนย์ที่จะเข้าไปศึกษาเป็นศูนย์ที่ก่อตั้งในปีเดียวกันกับที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกข้อกำหนดการจัดตั้ง Home Care Support Clinic ในปี 2006 เป็นศูนย์การแพทย์ที่ผู้สมัครไม่ประสงค์ที่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่เลือกที่จะอยู่กับบ้านที่คุ้นเคยตามปกติได้อย่างมีความสุข โดยให้แพทย์ประจำศูนย์หมุนเวียนเข้าเยี่ยมเยียนที่บ้านเป็นประจำ วัตถุประสงค์มุ่งเน้นด้านการป้องกันเป็นหลัก การดูแลโภชนาการ การออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงต่างๆในการใช้ชีวิต เพื่อมิให้มีเหตุทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างดีที่สุด
ศูนย์บริบาลผู้สูงวัยที่ได้รับการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเฉพาะแต่ละประเภทของผู้สูงวัย
เป็นศูนย์ที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบศูนย์บริบาลผู้สูงวัยแต่ละประเภท เช่น ผู้สูงวัยที่มีอาการโรคสมองเสื่อม ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซึ่งจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป แนวคิดการออกแบบโดยเปลี่ยนจากศูนย์แบบห้องรวมหลายเตียง สู่การออกแบบเป็น Unit Care เป็นรายบุคคล ว่าส่งผลทางด้านจิตวิทยาที่ดีต่อผู้สูงวัยมากกว่า และลดค่าใช้จ่ายในการต้องเข้ารับการรักษาลงได้อย่างไร
ห้องปฏิบัติการวิจัยเกี่ยวกับการตอบสนองสังคมสูงวัย มหาวิทยาลัยโตโฮคุ
การศึกษาค้นคว้าวิจัยในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัยให้ดีขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ล่าสุดเพื่อประเมินอารมณ์และความอ่อนไหวของมนุษย์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยอิงจากข้อมูลภายนอกที่ได้รับผ่านเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ในสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน เพื่อประเมินลักษณะบุคลิกภาพและอารมณ์ของแต่ละบุคคล ให้คำแนะนำส่วนบุคคล ปรับปรุงความสามารถในการดูแลตนเอง ฯลฯ และมีเป้าหมายที่จะขยายการใช้ชีวิตอิสระ
สถานดูแลผู้สูงวัยตัวอย่างที่ถือเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของชุมชนรอบข้างโดยการมีส่วนร่วมทางสังคม
การบริหารจัดการพื้นที่เพื่อสนับสนุนผู้ใช้บริการในการใช้ชีวิตอย่างอิสระในชุมชน ในขณะที่ยังคงรักษาศักดิ์ศรีส่วนบุคคลด้วยการพัฒนาบริการสวัสดิการที่ครอบคลุมซึ่งเคารพความปรารถนาของผู้ใช้บริการ จากความรับผิดชอบการดูแลผู้สูงวัยโดยคนในครอบครัวเท่านั้น สู่การดูแลโดยผู้คนในชุมชนร่วมกัน โดยอยู่บนหลักปรัชญาการให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ตนคุ้นเคย ดำเนินกิจกรรมที่ตนเองรักได้ตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย แม้ผู้สูงวัยที่มีอาการของโรคสมองเสื่อมก็สามารถที่จะมีสังคมที่รองรับและคอยดูแลฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการใช้ชีวิตกับธรรมชาติวิถีการเกษตรสำหรับผู้สูงวัยที่แข็งแรงช่วยยืดอายุของความแข็งแรงให้ยาวนานยิ่งๆขึ้นไป
นิทรรศการงานแสดงสินค้านวัตกรรม International Home Care and Rehabilitation Exhibition หรือ H.C.R. 2023
เป็นงานแสดงสินค้าที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่ทันสมัยที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายในด้านการบริบาล การชะลอวัย และการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 50 ปี มีบริษัทเข้าร่วมจากประเทศต่างๆทั่วโลก มีผู้เข้าชมงานกว่า 80,000 คนในเวลา 3 วันของการจัดงาน
การเชื่อมโยงธุรกิจกับผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น หรือ Business Matching
โครงการจะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการดีเด่นด้านสินค้านวัตกรรมชั้นนำของญี่ปุ่น ในด้านการบริบาล การดูแลสุขภาพ การแพทย์ รวมถึงการให้คำปรึกษาต่างๆ ไม่น้อยกว่า 10 ราย เพื่อขยายเครือข่ายให้แก่ผู้เข้าร่วมเดินทางครั้งนี้อย่างพิเศษสุด จะได้สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้าในอนาคตต่อไป โดยจะมีการจัดการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันภายใต้บรรยากาศที่มีความเป็นกันเอง
หมายเหตุ : หากเป็นสมาชิกสถาบันกรุณา Login ด้วยรหัสสมาชิกก่อน เพื่อความสะดวกในการกรอกข้อมูล