

วันที่อบรม
19-20, 26-27 มิถุนายน และ 9 สิงหาคม 2566

ระยะเวลาอบรม : 5 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ

ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
25,000 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- This event has passed.
ประเทศไทย มีแนวทางในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดภาคการผลิตและอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อเชื่อมโงให้เกิดการส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างสาขา ร่วมกับการสร้างระบบนิเวศให้เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ทั้งในมิติด้านการยกระดับสมรรถนะบุคลากรให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานแห่งอนาคต สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเอง การปรับปรุง แก้ไขกฎระเบียบต่างๆ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งนี้ สาขาการผลิตที่มีความสำคัญในปัจจุบัน และสาขาการผลิตที่ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ มีจำนวนรวม 7 สาขา ภาคการเกษตรเป็นเป้าหมายที่สำคัญ แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มของภาคการเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจะมีแนวโน้มลดลง แต่ภาคการเกษตรยังคงมีสัดส่วนการจ้างงานที่สูงถึงร้อยละ 30.2 ของการจ้างงานทั้งหมดของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภาคการเกษตรกรรมที่ยังคงเป็นแหล่งรายได้ของประชากรจำนวนมาก และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มกับสัดส่วนการจ้างงานในภาคการเกษตร พบปัญหา ดังนี้
- ผลิตภาพของแรงงานในภาคการเกษตรยังอยู่ในระดับไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับภาคการผลิตอื่น
- เกษตรจำนวนมากมีฐานะยากจน
- ปัญหาเรื้อรังและเกิดใหม่
- ประชากรในภาคเกษตรส่วนใหญ่เป็นประชากรสูงวัย ไม่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการนำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
- เกษตรกรทั่วไปมีข้อจำกัดในการบริหารเชิงธุรกิจหรือเชื่อมโยงกับตลาด
- ขาดทุนที่เพียงพอสำหรับปรับเปลี่ยนกิจการหรือพัฒนาตัวเองสู่กระบวนการผลิตและธุรกิจดิจิทัล
- มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับใช้ตลอดปีในหลายพื้นที่
- สถาบันเกษตรกรที่ช่วยสนับสนุนภารกิจด้านธุรกิจยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งเพียงพอ
การเพิ่มผลผลิตรวมถึงการเพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตรโดยใช้นวัตกรรมจึงเป็นโจทย์ในการพัฒนาที่ท้าทายประเทศไทยในอนาคต
อิสราเอล ประเทศชั้นนำที่พัฒนาภาคเกษตรผ่านนวัตกรรม เป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยี การวิจัยด้านอาหาร และเทคโนโลยีทางการเกษตร จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก มีความสามารถระดับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก มีนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีการจัดการเกษตรท่ามกลางความแห้งแล้ง การขาดแคลนในทะเลทราย ภาวะโลกร้อน ซึ่งอิสราเอลมีฝนตกเฉลี่ยเพียง 64 วันต่อปี แต่อิสราเอลไม่เคยขาดแคลนน้ำดื่ม เพราะอิสราเอลเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในการเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด จากโรงกลั่นน้ำทะเลที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลกหลายแห่งริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียที่สามารถผลิตน้ำจืด เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ที่มากเกินพอต่อความต้องการของคนทั้งประเทศ
อิสราเอลรีไซเคิ้ลน้ำได้มากที่สุดในโลก และได้คิดค้นพัฒนานวัตกรรมบำบัดน้ำจนกลายเป็นประเทศต้นแบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียระดับโลก อิสราเอลเป็นประเทศผู้นำด้านการเกษตร ทั้งๆ ที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย แต่ประชากรส่วนใหญ่ของของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งที่ไม่มีแหล่งน้ำ แต่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์ ปลูกได้ทั้งพืชผักผลไม้ เพื่อเป็นอาหารของคนทั้งประเทศ ปลูกได้ทั้งไม้ดอก ผลไม้เมืองหนาว จนสามารถส่งออกเป็นสินค้าออกระดับโลกด้วยเทคโนโลยีและระบบการจัดการน้ำที่ทันสมัยและใช้ประโยชน์น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุดในโลก
การพัฒนาภาคเกษตรของอิสราเอล จัดว่าเป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ เกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่เกี่ยวข้อง จนนำมาซึ่งเทคโนลีเกษตรขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ (Desert Agriculture) และการกำจัดเกลือ (Desalinity) วิถีเกษตรกรรมต้นแบบกลางทะเลทราย ไร่อินทผาลัม สวนผัก ผลไม้ ฟาร์มโคนม และฟาร์มปลาสวยงาม เป็นต้น จึงทำให้อิสราเอลได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ทำเกษตรกรรมอย่างเข้มข้น ส่งผลให้หนึ่งในสามของผลผลิตที่ได้สามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรป ซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเลยทีเดียว
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม มีบทบาทหน้าที่ในการชี้นำและยกระดับผลิตภาพขององค์กร เสริมสร้างการเติมโตที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมศึกษาดูงานในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และสุขภาพ ด้วยนวัตกรรม: Driving Innovation Organization Program ผ่านความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรของไทย ณ ประเทศอิสราเอล โดยครอบคลุมเนื้อหา ตัวอย่างเช่น
- Biotech ไบโอเทค-การผสมพันธุ์พืช
- Smart Farming ฟาร์มอัจฉริยะ – โดยใช้ข้อมูล Big Data เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการเก็บข้อมูลเพื่อบริหารการจัดการน้ำ และการกำจัดศัตรูพืช
- Crop Protection การป้องกันพืชไร่จากโรคร้ายต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- Machinery and Robotics เครื่องมือ ออโตเมชั่นต่างๆ ในสวน ในไร่นา
- Irrigation & Water Management การบริหารจัดการน้ำ
- Post Harvest การดูแลการจัดเก็บ การลดการสูญเสีย
- Farm to Consumer โลจิสติค การขนส่งต่างๆ เพื่อลดระยะทางการจัดการถึงมือลูกค้า
- Novel Farming Systems รูปแบบใหม่ๆ ของการทำฟาร์ม เช่น Greenhouses, Urban Farming, Hydroponics และ Aquaponics
- Livestock การดูแลปศุสัตว์
- Waste Technologies การกำจัดการสูญเสียในการผลิต
- Aquaculture เทคโนโลยีการปลูกพืชในน้ำ
วัตถุประสงค์
|
|
|
|
กลุ่มเป้าหมาย
|
|
องค์กรที่จะเข้าศึกษาดูงานและกิจกรรมในโครงการ |
|
ระยะเวลา
|
|
TENTATIVE Program | |
⇒ ฝึกอบรม @ภายในประเทศ ระยะเวลา 4 วัน | |
Day1 | 19 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น.
|
Day2 |
20 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น
|
Day3 |
26 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น.
|
Day4 |
27 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น.
|
Day 5 |
(หลังจบทริป) 9 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00-15.00 น.
|
ค่าธรรมเนียมต่อท่าน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
C: ค่าธรรมเนียนฝึกอบรม ภายในประเทศ ระยะเวลา 4 วัน | 25,000 |
วิธีการสมัครและชำระเงิน |
หมายเหตุ
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
|
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
|
โทรศัพท์: 0-2619-5500 ต่อ 433 (สุภารัตน์) 432 (ประภาพร)
มือถือ: 095-252-0693, 089-442-9453
E-mail: publicseminar@ftpi.or.th; Suparat@ftpi.or.th
|