22 กุมภาพันธ์ 2021

การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ (Industrial Paradigm Shifts)
Servant Leader ในยามวิกฤต (ตอนที่ 2)

โดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล
PrudtipongC@chevron.com

ในบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงภาวะผู้นำแบบ Servant Leadership ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในการบริหารธุรกิจในยามวิกฤต ซึ่งในระยะเวลาปีเศษที่ผ่านมา มนุษยชาติต้องเผชิญกับความท้าทายร้ายแรง แบบที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในรอบร้อยปี นั่นก็คือการระบาดของ Covid19 ซึ่งเป็นปัจจัยที่เร่งปฏิกิริยาให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ซึ่งในบทความ Servant Leader ในยามวิกฤต ตอนที่ 1นั้น ได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่เด่นชัดของ Servant Leadership และ การช่วยทีมงานให้ก้าวผ่าน Phases of Change

 ในบทความตอนจบ นี้ จะได้กล่าวถึง Servant Leader ในอีกสามประการสำคัญ ได้แก่ หลักการ ABC (ทัศนคติ, ความเชื่อ และ ความมุ่งมั่น พันธสัญญา), ปิรามิดองค์กรแบบกลับหัว และ Coaching ให้ทีมงาน ในช่วงการเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้

ประการที่สาม: ทัศนคติ, ความเชื่อ และ ความมุ่งมั่น พันธสัญญา – หลักการ ABC

การที่คนเราจะยอมเปลี่ยนแปลง แนวคิด และพฤติกรรม ไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ ล้วนเป็นสิ่งที่ยาก เปรียบเสมือนคำพังเพยที่ว่า เข็นครกขึ้นภูเขา แต่ประวัติศาสตร์ก็ได้สอนให้เราเรียนรู้ว่า ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในโลกนี้ หลายครั้งก็มาจาก ผู้กล้าที่ยอมเข็นครกขึ้นภูเขาทั้งนั้น เช่น โครงการอพอลโล่ ที่ส่งนีล อาร์มสตรองไปเหยียบดวงจันทร์ และ รถยนตร์ไฟฟ้า Tesla

ก่อนที่คนเราจะยอมทุ่มเท ทั้งชีวิต เพื่อเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ ทำอะไรที่แตกต่างจากที่เคยทำ ล้วนมาจาก กรอบวิธีคิด (Paradigm) สามขั้น  โดยทุกอย่างต้องเริ่มจาก 1) ทัศนคติที่สร้างสรรค์ คิดบวก จากนั้น จึงจะเกิด 2) ความเชื่อ ซึ่งจะนำไปสู่ 3) พันธสัญญา ความมุ่งมั่น ถ้าปราศจากการตกผลึกในกรอบวิธีคิดนี้แล้ว ก็ยากที่ใครจะยอมลำบาก ใช้ความกล้าหาญ ที่จะเปลี่ยนแปลงและฟันฝ่าอุปสรรค ไปสู่สิ่งใหม่ๆ

ประการที่สี่: ปิรามิดองค์กรแบบกลับหัว

Servant Leader ที่มีค่านิยมแบบ Trust (ความไว้วางใจ) และ Respect (เคารพซึ่งกันและกัน) และมีความเป็นมืออาชีพ ควรจะมองทีมงาน และผู้ใต้บังคบบัญชา ว่าเป็นลูกค้าภายใน (Internal customers) ที่ต้องให้บริการ และการสนับสนุนให้ดีที่สุด ไม่แตกต่างจาก คุณลูกค้า (ภายนอก) ผู้มีอุปการคุณ

ดังนั้น วิธีคิดเกี่ยวกับผังองค์กรนี้ ผู้บริหารแบบ Servant Leadership ควรมองเห็นตัวเองอยู่ด้านล่างสุด ในขณะที่ พนักงานที่อยู่หน้างาน และลูกค้า (ภายนอก) อยู่ในระดับบนสุด ด้วยจิตสำนึกแบบนี้ จะทำให้ผู้บริหารคิดและตัดสินใจในธุรกิจได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

ในมุมกลับกัน โครงสร้างองค์กรแบบปิรามิดยอดแหลม อาจถูกมองได้ว่า เป็นการแบ่งลำดับชั้นในองค์กรโดยยึดติดอยู่กับ อีโก้ (ego)

ประการที่ห้า: Servant Leader ต้องช่วย Coaching ให้ทีมงานในช่วงการเปลี่ยนแปลง

  • Coaching คือการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมให้เหมาะสม และเพื่อให้ได้ผลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • Mentoring คือการให้คำแนะนำโดยการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อพัฒนาศักยภาพในระยะยาว

ในช่วงบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ผู้บริหารต้องคอยให้คำปรึกษา แนะนำ (Coaching) ทีมงาน โดยประยุกต์หลักคิด สี่ประการข้างต้น มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อให้ทีมงานสามารถปรับตัวไปตาม Phases of Change ได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที และเข้าสู่ New Comfort Zone เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร และเป้าหมายส่วนบุคคล

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง / เพื่อศึกษาเพิ่มเติม
: Servant Leadership: THE GREENLEAF CENTER FOR SERVANT LEADERSHIP, Robert K. Greenleaf
: The change journey simplified: adapted from Kubler-Ross by Dennis Jaffe & Cynthia Scott
: The inverted pyramid model: Trig.com, Tyler Hagler
: Coaching & Mentoring: Kent State University’s article.

หลักสูตรแนะนำ

หล้กสูตรอบรมออนไลน์ สถาบันเพิ่ม




Writer

โดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล

Executive Coach & Consultant /Experienced Regional Supply Chain GM /Board of Directors