
พฤษภาคม 2023
Certified Six Sigma & Lean Six Sigma Black Belt Project รุ่น 8
Six Sigma เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร โดยการฉีกกรอบความคิดของเทคนิคการปรับปรุงกระบวนการแบบเดิมๆ ที่มักพิจารณาปัญหาในลักษณะแบบ Single Point (พิจารณาปัญหาจากการใช้ค่าเฉลี่ยของข้อมูล ซึ่งทำให้เราไม่เห็นความผันแปรที่เกิดขึ้นในกระบวนการ) มาเป็นการพิจารณาปัญหาโดยการศึกษาถึงความผันแปรของกระบวนการ แล้วใช้เทคนิคทางสถิติที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ามาลดความผันแปรในกระบวนการ ซึ่งส่งผลทำให้ความผิดพลาดของกระบวนการลดน้อยลง และยังทำให้กระบวนการมีเสถียรภาพสูง ป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำของปัญหาได้อย่างยอดเยี่ยม และที่ดีไปกว่านั้นคือสามารถลดต้นทุนของกระบวนการได้อย่างมหาศาล ส่งผลทำให้องค์กรมีการเติบโตในผลกำไรอย่างมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว (ประมาณ 4-6 เดือน) เมื่อเทียบกับการปรับปรุงด้วยเทคนิคอื่นๆ โดยการใช้แนวความคิดในเรื่องของการลดความผันแปรของกระบวนการ ตามหลักการของ Six Sigma จึงส่งผล ทำให้กระบวนการทางธุรกิจขององค์กรนั้นกลายเป็น Lean Process อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด และนำมาซึ่งการลดต้นทุนและสร้างผลกำไรให้แก่องค์กรได้อย่างมหาศาล ระยะเวลาฝึกอบรม 8 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม 2566 เวลา 9.00 - 16.00 น. รูปแบบการฝึกอบรม โรงแรมในกรุงเทพฯ วัตถุประสงค์ ดำเนินการวินิจฉัยองค์กรในขั้นตอนของ Define Phase เพื่อค้นหาความสูญเสียของกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร และจัดทำแผนการปรับปรุงแก้ไข ตามแนวทางของ Six Sigma ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประสิทธิภาพที่ระดับคุณภาพเท่ากับ 6 Sigma ซึ่งที่ระดับคุณภาพดังกล่าว กระบวนการแทบจะปราศจากซึ่งความสูญเสีย ส่งผลทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมหาศาล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กรสูงขึ้น เพื่อพัฒนาความสามารถของพนักงานในองค์กรให้มีความรู้และความสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Six Sigma ในระดับ “Certified Black Belt” ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้อย่างเห็นผล ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ ผู้บริหารระด้บสูง ระดับกลางขององค์กรมีทักษะในการนำเอาเทคนิค Six Sigma ไปใช้ในการบริหารกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร…
Find out more »ธันวาคม 2023
Food Waste to Food Innovation for Youth, Gen ใหม่หัวใจรักษ์โลก
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (FTPI) ร่วมกับองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (APO) จัดกิจกรรม Food Waste to Food Innovation, Gen ใหม่หัวใจรักษ์โลก เพื่อสร้างการตระหนักรู้และเข้าใจเรื่องของการลดของเสียอาหาร (Food Waste) ในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 10-16 ปี โดยโครงการนี้จะเน้นการสอนและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับทำไมเราควรสนใจเรื่อง Food Waste และวิธีที่สามารถลดของเสียจากอาหารได้อย่างไร โดยให้ประสบการณ์ทางปฏิบัติในการล้างผัก ผลไม้และการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีอยู่อย่างถูกต้อง และการนำของเหลือใช้จากอาหารมาสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจและสามารถนำไปต่อยอดได้ เพื่อนำไปสู่การลดการสูญเสียของอาหารและเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับ Food Waste ไม่เพียงแต่เป็นปัญหา แต่ยังเป็นโอกาสที่สำคัญในการสร้างมูลค่าและประโยชน์จากวัสดุที่เหลือใช้ (Waste) ที่จะเสริมสร้างให้เยาวชนตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรในทางที่ยั่งยืน วัตถุประสงค์ ความเข้าใจเรื่อง Food Waste: ได้รู้จักกับแนวคิดของ Food Waste และทำความเข้าใจว่าทำไมเราต้องสนใจเรื่องนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ทักษะการบูรณาการด้านอาหาร: เรียนรู้วิธีการล้างผักและผลไม้อย่างถูกต้องเพื่อนำไปใช้ในการลดขยะจากอาหาร และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นวัตกรรมจากของเหลือใช้จากอาหาร: ปฏิบัติการทำน้ำเชื่อมจากเปลือกโกโก้และมะนาว การเรียนรู้ผ่านปฏิบัติ: ปฏิบัติการทดลองปรุงเครื่องดื่มจากน้ำเชื่อมที่ทำด้วยตนเองและสามารถนำกลับบ้านได้ มิตรภาพและเพื่อนร่วมงาน: ได้โอกาสทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนร่วมกิจกรรม ความมีส่วนร่วมในกิจกรรม: กิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ สร้าง ปรับปรุง แก้ไขปัญหาขยะอาหารร่วมกัน วิทยากร : อาจารย์อายุพัฒน์ จิรายุส ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโซลูชั่นทางอาหารและเครื่องดื่มที่ยั่งยืน ด้วยประสบการณ์ทางด้านการวิจัยและการฝึกอบรมให้คำปรึกษาด้านอาหารและเครื่องดื่ม อาจารย์ชุติวดี สิทธาพร Freelance Organizer at Dusit Hospitality and Services Co. Ltd. ค่าธรรมเนียม 890 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม …
Find out more »