8 กันยายน 2016

city

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้น ช่วงนี้เราได้พบเจอค่อนข้างบ่อย ไม่ว่าจะเป็น สภาพลมฟ้าอากาศผิดฤดู ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุ อากาศร้อนผิดปกต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งเราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี ตามหลัก 3 R คือ Reuse Reduce และ Recycle สำหรับบทความนี้จะเล่าเรื่องราวของการ Recycle จากขยะพลาสติกเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมเมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ซึ่งเขียนโดย Lidija Grozdanic จากเว็บไซต์ inhabitat.com

สถาปัตยกรรมเมืองลอยน้ำแห่งอนาคตสร้างจากขยะพลาสติกที่มีอย่างมหาศาลในมหาสมุทร นำเสนอด้วยเทคนิค 3D-Printed (ดังภาพ) อาจเป็นวิธีการที่จะเป็นอิสระด้านพลังงานในอนาคต โครงสร้างจากจินตนาการ โดยสถาปนิก Vincent Callebaut จะรีไซเคิลของเสียจากท้องทะเลในน่านน้ำสากล มาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ด้านสถาปัตยกรรมทางทะเลอย่างยั่งยืน  วัสดุผสม (Composite material) นี้ ประกอบด้วย ส่วนผสมของขยะพลาสติก และสาหร่าย   ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม โดยแสวงหาตัวอย่างในธรรมชาติ ตามหลักความพอเพียงอย่างสมบูรณ์  ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีวิสัยทัศน์ที่เน้นความยั่งยืนของสังคม ความคุ้มค่า และใส่ใจสิ่งแวดล้อม

11

ยิ่งไปกว่านั้น โครงการนี้ยังมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหา ความตึงเครียดที่ยาวนาน ระหว่างรัฐบาลตะวันตกและประเทศในแอฟริกาในเรื่องการใช้พลังงานทั่วโลก  และต้องขอขอบคุณ Archibiotics  โดยสถาปนิก Vincent Callebaut ผู้เป็นสถาปัตยกรรมแนวใหม่ ที่มีแนวคิดในการรวมพลังงานทดแทน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (NTIC) ไว้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อนำเสนอความเป็นอิสระด้านพลังงาน ให้กับแต่ละรัฐในโลกให้สิ้นสุดความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน

         ผลงานที่เกี่ยวข้อง: Vincent Callebaut เปิดตัวโครงการฟาร์มในอนาคต “Flavors Orchard”  ที่ประเทศจีน

12

คนที่อยู่อาศัยในโครงสร้างสังคมอุดมคติเหล่านี้ เรียกว่า คนของทะเล (the People of the Seas) ซึ่งในขณะที่อาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าว คนของทะเล จะพยายามคิดค้นกระบวนการสร้างเมืองใต้น้ำใหม่ เพื่อลดความเป็นกรดของมหาสมุทรและมลพิษ พวกเขาจะนำขยะพลาสติกในมหาสมุทรและท้องทะเล 100% มาใช้ในการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อความยั่งยืน เรียกว่า Aequoreas  การสร้างระบบนิเวศเหล่านี้จะยังคงเติบโตได้ด้วยตัวเอง โดย แคลเซียมคาร์บอเนต ที่มีอยู่ในน้ำจะทำให้เกิดเป็นโครงสร้างภายนอก ส่วนเยื่อกึ่งดูดซึมจะละลายเกลือทะเล อีกทั้งสาหร่ายจะเป็นตัวผลิตพลังงาน เพื่อให้ความร้อน และ คอยควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศ

13

เมืองเหล่านี้จะเคลื่อนย้ายเหมือนเรือดำน้ำและเรือทั่วไป ซึ่งสามารถรองรับคนได้ถึง 20,000 คน การเข้าถึงหมู่บ้านผ่านเส้นทางบนพื้นผิวของน้ำ และจะนำไปสู่ 4 ท่าจอดเรือ ที่ปกคลุมไปด้วย รากป่าโกงกาง บนโดมลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร ที่อยู่อาศัยทั้งหมดเป็นแบบแยกส่วน แต่มีพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้งานร่วมกัน เช่น fablabs, สถานที่รีไซเคิลพืช, ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ , โรงแรม, โรงเรียน, สนามกีฬา และฟาร์ม aquaponic

14

สาหร่าย แพลงก์ตอน และ หอย อุดมไปด้วยแร่ โปรตีนและ วิตามินที่มีการเจริญเติบโต สำหรับอาหารและยังคงเป็น “เนอสเซอรี่ สำหรับสัตว์น้ำและพืช”  ซึ่งผลิตจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์  มีสวนผลไม้ และ สวนผัก โดยมีการกระจายกันในกลุ่ม  มีการใช้ภาชนะย่อยสลายได้ แม้แต่เฟอร์นิเจอร์ก็ทำจากวัสดุชีวภาพหรือวัสดุสังเคราะห์จากหอยแมลงภู่

15

หมู่บ้าน Aequoreas ไม่เพียงแต่ เป็นข้อเสนอด้านสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนเท่านั้น สถาปนิก ยังคิดค้น ระบบเศรษฐกิจ เพื่อเติมเต็มพลังงานให้พอเพียง ด้วยรูปแบบที่คุ้มค่า ด้วยจินตนาการของ Vincent Callebaut ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ผู้ประกอบการที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นแกนนำด้านสังคมและเศรษฐกิจ ของสังคมโลกต่อไป

ที่มา : http://inhabitat.com/futuristic-oceanscapers-are-floating-villages-3d-printed-from-algae-and-plastic-waste/




Writer

โดย สุประภาดา โชติมณี

จบการศึกษา : ปริญญาโทจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ และปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ประสบการณ์ : เคยร่วมงานกับบริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง Modern KM –Application in business management (จัดการความรู้อย่างไรให้ใช้ได้ผลกับทุกระบบ) ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้รับเกียรติเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ให้กับนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยบูรพา
ปัจจุบัน : เป็นวิทยากรที่ปรึกษาส่วนจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ