28 เมษายน 2016

carbon

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากผลกระทบนี้ ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกตื่นตัวในการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร1 (Carbon Footprint for Organization หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับโรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ (http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/carbonorg/)

เว็บไซต์ thinkprogress.org ได้เผยแพร่ผลการศึกษาของ International Council on Clean Transport (ICCT) ที่ได้นำเสนอประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงของ 13 สายการบินต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยสายการบินที่มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงต่ำสุดคือ American ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงมากกว่า Alaskan Airlines สายการบินที่มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงสูงสุด ถึง 25%

Alaska, Spirit, Frontier, and Southwest Airlines เป็นสายการบินภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงสูงสุดในปี 2014 ทั้ง 4 สายการบินเป็น Budget Airlines ในขณะที่ American, Delta และ Virgin America Airlines มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงต่ำสุด ส่วนสายการบินขนาดใหญ่ United และ US Airways มีประสิทธิภาพในระดับกลางๆ

table carbon
image: http://thinkprogress.org/climate/2015/10/31/3717776/best-worst-emitting-airlines

 

การจัดอันดับสายการบินนี้อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเดินทางที่สนใจเรื่อง Carbon Footprint นอกจากนี้ ยังมีผลต่อราคาตั๋วเครื่องบินของผู้โดยสารด้วย เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงมีผลต่อผลกำไรของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูงในเรื่องราคา การทำกำไรของบริษัท หมายถึงว่าสายการบินนั้นสามารถลดต้นทุนลงได้ สายการบินจึงมุ่งเน้นการลดปริมาณเชื้อเพลิงซึ่งเป็นต้นทุนส่วนสำคัญในการบิน ในขณะเดียวกัน การลดการปล่อยก๊าซกลายเป็นเรื่องที่สังคมโลกให้ความสำคัญ ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้ Budget Airlines มีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงสูงสุด

น่าเสียดายว่าประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงมาจากเหตุผลที่แตกต่างออกไป การลดปริมาณเชื้อเพลิง ในปี 2013-2014 กลับผูกโยงกับ “Seating Density” (ความหนาแน่นของที่นั่ง) ที่เพิ่มขึ้น 1.6% กล่าวคือสายการบินจัดที่นั่งเพื่อบรรจุผู้โดยสารให้มากขึ้นในการบินแต่ละเที่ยว (ปัจจุบัน Airbus กำลังยื่นจดสิทธิบัตรเรื่องการออกแบบจัดสรรที่นั่งบนเครื่องบิน)

วิธีการอื่นๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซ รวมถึงการปรับปรุงเครื่องจักรกลที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพหรือเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ หรือกำหนดค่าธรรมเนียมคาร์บอน แต่มีการแย้งว่าราคาตั๋วจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการลดดีมานด์การบิน Atmospheric Environment ตีพิมพ์งานวิจัยที่ระบุว่าวิธีเดียวที่จะผลักดันการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของสายการบิน ในขณะที่ดีมานด์เรื่องการบินเพิ่มขึ้น คือการขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม การค้นหาวิธีลดการปล่อยก๊าซจากเครื่องบินเป็นประเด็นที่สำคัญ การปล่อยมลพิษจากเครื่องบินเป็นส่วนสำคัญของก๊าซเรือนกระจก คิดเป็นกว่า 10% ของภาคการขนส่งในสหรัฐอเมริกา ถ้าเปรียบธุรกิจการบินพาณิชย์เป็นประเทศ จัดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกในแง่ของการปล่อยก๊าซคาร์บอน (ตาม ICCT)

Environmental Protection Agency – EPA ได้เผยแพร่ผลการวิจัยว่าการปล่อยมลพิษจากเครื่องบินเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยปกติเมื่อ EPA เผยแพร่ผลงานวิจัยแล้วจะนำไปสู่การพัฒนากฎระเบียบ แต่ในเรื่องนี้ EPA ยังรอการพิจารณาของ International Civil Aviation Organization (ICAO) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้บังคับใช้เฉพาะกับเครื่องบินใหม่ จึงทำให้กลุ่มสิ่งแวดล้อมยื่นฟ้อง EPA

ICCT แถลงว่าหากไม่มีความก้าวหน้าเรื่องประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะบิน จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมากกว่าเดิม 3เท่า ภายในปี 2050

ที่มา: http://thinkprogress.org/climate/2015/10/31/3717776/best-worst-emitting-airlines

 




Writer

โดย ขนิษฐา คงประเสริฐลาภ

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่สนใจได้ที่...
เจ้าหน้าที่สนับสนุนธุรกิจ แผนกสนับสนุนธุรกิจ
สายงานธุรกิจ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ (02) 619-5500 ต่อ 586
โทรสาร (02) 619-8071