16 May 2016

ผู้หญิงเอเชีย

ในยุคสมัยแห่งความก้าวหน้าผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในเรื่องต่างๆ มากขึ้น เนื่องจากผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้น มีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน รวมไปถึงมีอิสระในการดำรงชีวิตมากกว่าแต่ก่อน จากเว็บไซต์ Harvard Business Review.org ได้มีการศึกษาถึงการบริหารการเงินของผู้หญิงยุคใหม่ในเอเชียและอเมริกา ที่แม้ว่าในทั่วโลก คนร่ำรวยจะไม่ใช่คนรุ่นก่อนๆ อีกต่อไป แต่จะเป็นคนหนุ่มสาว คนที่มีประสบการณ์ชีวิตทีสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตัวเอง และ ผู้หญิง

Sylvia Ann Hewlett และ Andrea Turner Moffitt ได้เขียนบทความที่อ้างอิงงานวิจัยล่าสุดจาก Center for Talent Innovation จากหนังสือที่ชื่อว่า “Harness the Power of the Purse : Winning Women Investors ” แสดงให้เห็นว่า กระแสความมั่งคั่งของผู้หญิงทั่วโลกมีเพิ่มขึ้น แต่ภายใต้กระแสนั้น เรายังค้นพบว่ามีความแตกต่างและลักษณะเฉพาะซึ่งต่างกันไป ในขณะที่มันเป็นเรื่องง่ายที่จะคิดว่าตลาดในเพศหญิงก็คงมีความคล้ายๆกัน การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และความแตกต่างของคนและยุคสมัย เช่นเดียวกับความร่ำรวยของคนที่มีที่มาไม่เหมือนกัน ทั้งหมดนี้มีผลต่อมุมมองความคิดของผู้หญิงและการจัดสรรทรัพย์สินของพวกเขา

เมื่อเราจะพิจารณาผู้หญิงและดูไปถึงความร่ำรวยของพวกเธอ สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของเอเชียคือการเปิดหน้าต่างไปสู่อนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝั่งตะวันตกควรจะมุ่งไปเช่นกัน เราได้สำรวจผู้หญิงในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และอินเดีย ที่มีรายได้อย่างน้อย $ 100,000 หรือมีสินทรัพย์ลงทุน $ 500,000 หรือมากกว่า ผลสำรวจที่ได้คือนักลงทุนผู้หญิงในเอเชียมีหลายๆ วิธีคิดที่ไปไกลกว่าผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะระดับความเชื่อมั่นและความผูกพัน ระดับการยอมรับต่อความเสี่ยง และระดับของความหลากหลายในการใช้บริการอุตสาหกรรมบริการด้านการเงินแบบข้ามภูมิภาค

โดยแนวโน้มเหล่านี้ส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเอเชียในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เร่งให้เกิดการเจริญเติบโตของตลาดในเพศหญิง เป็นผลให้เกิดธุรกิจที่เกิดขึ้นเพราะมีจุดประสงค์เฉพาะอย่าง และผู้หญิงเอเชียก็เป็นพวกที่เสพติดเทคโนโลยี ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับการตัดสินใจทางการเงิน โดยส่งผลเป็นพันล้านทั้งในเรื่องทรัพย์สินทางการเงิน การควบคุมและกระจายทรัพย์สินส่วนบุคคล

ที่กล่าวมาเหล่านี้หมายรวมถึงผู้มีชื่อเสียงหลายๆ ท่านอีกด้วย โดยข้อมูลจากนิตยสารฟอร์จูน ปี 2014 ซึ่งนำเสนอรายชื่อ 50 ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกธุรกิจ อาทิ Chandra Kochbar จาก ICICI Bank ประเทศอินเดีย, Chua Sock Koong จาก Singapore Telecommunications ประเทศสิงคโปร์ และ Zhang Xin จาก SOHO ประเทศจีน และจางซิน บริษัท SOHO China ของประเทศจีน

แม้ว่าโอกาสในการขยายตัวของอุตสาหกรรมยังคงเป็นผู้ชาย แต่ก็เริ่มมีผู้หญิงเริ่มทำธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนที่ผงาดขึ้นมา ยังไม่มีประเทศใดที่มีผู้หญิงที่สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตัวเองให้เป็นผู้หญิงพันล้าน อย่าง Zhou Qunfei ผู้หญิงที่รวยที่สุดในโลก ที่สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตัวเธอเอง เป็นผู้ก่อตั้ง Lens Technology ซึ่งเธอกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกอบการหญิงของประเทศจีนที่ได้สร้างความมั่งคั่งจากการมีชีวิตที่ลำบากมาก่อน ทั้งนี้ ผู้หญิงเอเชียยังเป็นผู้สืบทอดมรดกและธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากในยุคสมัยก่อนๆ

จากกลุ่มตัวอย่างในรายงานพบว่า

ในอินเดีย 59 % ของผู้หญิงในกลุ่มตัวอย่าง สร้างฐานะด้วยตัวเอง และ เพียง 20% ได้รับความร่ำรวยจากคู่สมรส และ 21% ได้รับจากมรดก

ในจีน ผู้หญิง 68% สร้างฐานะความมั่งคั่งด้วยตัวเอง ในขณะที่เพียง 16% ได้รับความร่ำรวยจากคู่สมรส และ 16% ได้รับจากมรดก

และความร่ำรวยของพวกเธอไม่ได้แค่เพียงร่ำรวย แต่มันกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่า 58 % ของผู้หญิงที่เราสำรวจใน 4 ประเทศของเอเชีย คาดว่าสินทรัพย์ของพวกเธอจะเพิ่มขึ้น

เมื่อมีผู้หญิงที่สร้างฐานะด้วยตัวเองมากขึ้น ก็ทำให้ผู้หญิงสามารถบริหารจัดการควบคุมสินทรัพย์ของเธอได้เพิ่มมากขึ้น ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เราสำรวจทั่วทั้ง 4 ประเทศเศรษฐกิจในเอเชีย พบว่าพวกเธอเหล่านั้นมีอำนาจการตัดสินใจทางด้านการเงินในครัวเรือน โดย 87% ในประเทศจีน 80% ในอินเดีย 71% ในฮ่องกงและ 59% ในสิงคโปร์ และถ้านำตัวเลขนี้ไปเปรียบเทียบกับผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาซึ่งมี 44 % เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ

เรายังพบข้อแตกต่างในความเชื่อมั่นทางการเงินระหว่างผู้หญิงตะวันออกและตะวันตก จากการสำรวจผู้หญิงในหลายประเทศ พบว่า ผู้หญิงมีความรู้ทางการเงินเท่าๆ กับผู้ชาย ตัวอย่างเช่น

ในสหรัฐอเมริกา 35 %ของผู้หญิง และ 39 %ของผู้ชาย ได้ผ่านการประเมินความรู้ แต่ความมั่นใจของพวกเขาก็ไม่ได้เฉียบแหลมเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้หญิงตะวันตก

ในสหรัฐอเมริกา ผู้ชาย 79% มีแนวโน้มแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางการเงินมากกว่าผู้หญิง ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงจีน มีความมั่นใจ เฉียบแหลม เกือบเทียบเท่ากับผู้ชายจีน คือ 64% กับ 71%

ในการวิจัยพบข้อเท็จจริงว่า ผู้หญิงเอเชียนั้นมีความมั่นใจอย่างเด่นชัดในเรื่องการบริหารจัดสรรการเงินของพวกเธอด้วยการสร้างฐานะความร่ำรวยด้วยตัวเอง เมื่อเทียบกับคู่สมรสที่สร้างฐานะเอง และผู้ที่ได้รับมรดก 

Subha Barry ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และอดีตกรรมการผู้จัดการของ Merrill Lynch ได้กล่าวว่า “แม้ในชนบทของอินเดีย ผู้หญิงจัดการสิ่งต่างๆ ภายในครัวเรือน และชำระค่าใช้จ่าย ความเชื่อมั่นของผู้หญิงมาจาก การจัดการเงินตั้งแต่อายุยังน้อย”

 ในขณะที่ผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาก็ต้องต่อสู้กับการแผ่ขยายทางวัฒนธรรมของยุค Mad Men ที่ผู้ชายจะรับหน้าที่ในการตัดสินใจทางการเงินเป็นหลัก แต่จากศึกษาของเราพบว่าผู้หญิงเอเชียที่อยู่ในประเทศ ดูเหมือนจะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องบทบาททางเพศแบบดั้งเดิม

 Dominique Boer หัวหน้าฝ่ายการจัดการความสัมพันธ์ ของ Asia and Greater China at Standard Charter ประเทศจีน ได้ชี้ให้เห็นประเด็นหนึ่งที่ว่า “มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซี่ยงไฮ้จะควบคุมการตัดสินใจทางการเงินแบบเบ็ดเสร็จ ในเมื่อผู้หญิงมีประวัติอันยาวนานในฐานะของ นักทำเงินควบคุมการซื้อขายทองคำและเครื่องเทศ”หนึ่งในความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดระหว่างตะวันตกและเอเชียคือการให้ความเคารพกับผู้หญิง “ผู้หญิงถือเป็นหุ้นส่วนที่เสมอภาคที่ปรึกษาอาวุโสความมั่งคั่งในเอเชียกล่าว

 นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างที่สำคัญปลีกย่อยของผู้หญิงสำหรับเรื่องความชอบเสี่ยง ซึ่งสันนิษฐานโดยทั่วไปได้ว่า ผู้หญิงไม่ชอบความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย แต่ปัจจุบันในฮ่องกงและสิงคโปร์ ผู้หญิงไม่รู้สึกกังวลอะไรกับการจัดสรรพอร์ตการลงทุน ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ผู้หญิง 36 % เลือกพอร์ตที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง เมื่อเทียบกับ 28% ของผู้ชาย

 ช่องว่างระหว่างเพศชายหญิงหายไปเมื่อคุณมองไปที่ส่วนย่อยของตลาดในสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงที่สร้างฐานะด้วยตัวเองจำนวน 32% ที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ในขณะที่ 26% ของผู้หญิงที่ร่ำรวยจากการรับมรดกจะเป็นพวกหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เทียบเป็น 28 % ของผู้ชายโดยรวม

 นี่คือความแข็งแกร่งที่แฝงอยู่ในความเท่าเทียมกัน ควบคู่ไปกับความเชื่อมั่นของผู้หญิงเอเชีย ที่เลิกกังวลกับความเสี่ยง ซึ่งดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อความหลากหลายของการให้บริการทางการเงินทั่วทั้งภูมิภาค ยกตัวอย่าง เช่น ทีมบริหารความมั่งคั่งทางการเงินในเอเชียมีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนปรึกษาหญิงสูงขึ้นกว่าในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

 จากการสัมภาษณ์และโฟกัสกรุ๊ปที่เราดำเนินการทั่วทั้งภูมิภาค แรงขับเคลื่อนของวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในประเทศจีน ความเสมอภาคทางเพศตามลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมากขึ้น เช่น Qunfei ที่ประสบความสำเร็จ

 ผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จมีภาวะเป็นผู้นำสูงขึ้น ควบคู่กับอิทธิพลทางวัฒนธรรมยังช่วยยกระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมการจัดการความมั่งคั่งทางการเงินที่จะตอบสนองลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างในประเทศจีน มีผู้หญิงในทีมที่ปรึกษาจำนวนมากกว่าผู้ชายจาก 3ใน 2 ส่วนในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ3ใน 4 ของที่ปรึกษาความมั่งคั่งทางการเงินในสิงคโปร์เป็นผู้หญิง ผู้ถูกสัมภาษณ์บอกเราว่านโยบายลูกสองคนของประเทศสิงคโปร์ทำให้ผู้หญิงได้ใช้ตามสิทธิ์อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับสิทธิ์ที่ผู้ชายได้รับ

 จากที่กล่าวมาข้างต้น กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโฟกัสกรุ๊ปในเอเชียได้ประกาศชัดว่า ผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำ สามารถทำให้เศรษฐกิจให้เฟื่องฟู ยั่งยืน และสร้างโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดการความมั่งคั่งทางการเงินนักลงทุนหญิงเอเชีย จะเป็นผู้ออกแบบอนาคตของอุตสาหกรรม และฝั่งตะวันตก (ตลอดจนทั่วโลก) ควรจะรับรู้เรื่องนี้ง

ที่มา: https://hbr.org/2015/08/women-in-asia-are-more-financially-savvy-than-women-in-the-u-s




Writer

โดย เปรมวดี ศรีพงษ์

เจ้าหน้าที่ออกแบบสื่ออาวุโส ส่วนสื่อสารองค์กร
ฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ