10 March 2023

เชื่อมร้อยร่วมทาง

โดย คุณสุรีพันธุ์  เสนานุช
sureephan02@gmail.com

 

การศึกษาวิจัยองค์กร Best Practices ล้วนมีวิธีปฏิบัติน่าเสนใจแตกต่างกันไป แต่องค์กรที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทึ่งและประทับใจมาก คือโรงพยาบาลประจำอำเภอเล็กๆ ซึ่งได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศปี พ.ศ. 2551 ในปีแรกที่ส่ง Application Report เพื่อขอรับรางวัล

ไม่ใช่เพราะโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหินเข้าสู่Thailand Quality Awardครั้งแรกแล้วได้รับรางวัลเท่านั้น
แต่เส้นทางการพัฒนาของโรงพยาบาลทำให้เห็นความสอดคล้อง (Alignment) ในการบริหารจัดการองค์กรที่ชัดเจนมาก จากการเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหา นำมาสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อได้รับฟังจากการสัมภาษณ์คณะผู้บริหารในขณะนั้น รู้สึกชื่นชมในแนวคิดการบริหารจัดการที่เรียกได้ว่า “ล้ำ” คือก้าวไปข้างหน้าหลายก้าวสำหรับโรงพยาบาลทุติยภูมิในชนบท

ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพแบบล้ำหน้าอันดับแรกคือการนำเอาระบบมาตรฐานสากลด้านคุณภาพ (ISO 9002) มาใช้ในโรงพยาบาล และได้รับการรับรองในปี พ.ศ. 2541 เป็นโรงพยาบาลภาครัฐแห่งแรกที่ได้รับการรับรองนี้

หลังจากนั้นได้มีการนำเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ๆ เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การบริหารภายในโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น BSC, KPI, Competency รวมไปถึงระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือ HA (Hospital  Accreditation) ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001

เครื่องมือการบริหารจัดการดังกล่าวอาจฟังดูเป็นเครื่องมือสามัญที่ใช้กันทั่วไป แต่ความน่าสนใจสำหรับโรงพยาบาลแห่งนี้ก็คือ การที่คณะผู้บริหารปรับแต่งเครื่องมือเหล่านี้ให้สอดคล้อง (Alignment) กับเครื่องมือที่มีอยู่เดิม ความสอดคล้องเป็นสิ่งที่ทีมผู้บริหารให้ความสำคัญมาก เพื่อไม่ให้คนในองค์กรต้องเหน็ดเหนื่อยกับการเริ่มต้นเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ  แต่สามารถนำเครื่องมือใหม่ที่ต่อยอดในเนื้องานที่ทำอยู่ เพื่อให้มีงานมีประสิทธิผลมากขึ้น

การส่งเข้ารับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โรงพยาบาลพัฒนาการบริหารจัดการให้มีความสอดคคล้องไปในทุกส่วนงาน ซึ่งผู้บริหารระดับสูงได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า

“คิดว่าส่งไปจะได้ Feedback Report ไม่ได้คาดหวังรางวัลเลย การประเมินที่ผ่านมาก็เป็นมุมมองเฉพาะของเรา แต่ถ้าส่งไปก็จะได้มุมมองของผู้ตรวจประเมิน ผมก็บอกว่าเหมือนเราซ้อมจะไปโอลิมปิค ซ้อมแล้วก็ต้องไปแข่ง แพ้หรือชนะก็อีกเรื่องหนึ่ง สำหรับ Gap ที่พบก็เรียงไว้แล้วพยายามไล่แก้ทั้งหมด ก็ตั้งไปว่าจะแก้ปีละกี่เรื่อง แต่พอแก้ไปก็ได้เรียนรู้ว่ามันเชื่อมโยงกันหมด”

ความสอดคล้อง (Alignment) คือคุณลักษณะสำคัญของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) เป็นจุดที่หลายองค์กรมองข้ามไป โดยเฉพาะเมื่อนำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ๆ เข้ามาใช้ในองค์กร โรงพยาบาลตะพานหินเป็นกรณีศึกษาที่ค่อนข้างชัดเจนในเรื่องนี้ ตั้งแต่แนวคิดของทีมผู้บริหาร วิธีการดำเนินการที่ไม่ใช่การสั่งการ แต่ทำหน้าที่คัดกรอง ผสมสานเชื่อมโยงจนเป็นเนื้อเดียวกัน

“วิธีการของเราก็คือไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออะไรจะอบรมให้เจ้าหน้าที่รู้จักเครืองมือตัวนั้นก่อน แล้วก็เอามา Apply ให้เข้ากับเรา”

บทบาทของผู้นำจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเชื่อมร้อยการดำเนินการ ไปพร้อมกับใจของคนในองค์กรให้ก้าวเดินร่วมทางเดียวกัน

 

แนะนำหลักสูตร Knowledge Capturing (เทคนิคการถอดองค์ความรู้) 👉 คลิก

ค้นหาหลักสูตรเพื่อเสริมแกร่งศักยภาพบุคลากรและองค์กร คลิก 

‘Capability Development Program 2023’   พร้อมแล้วที่จะนำพาบุคลากรและองค์กรไทยมาร่วมเรียนรู้ ควบคู่กับการฝึกฝนประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะที่สำคัญต่อโลกการทำงานยุคใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่สูงลิ่ว ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้ง People – Process – Technology ผ่านรูปแบบ Public Training , e Training และ Intensive Program การันตีด้วยสาระความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และเทคนิคในการประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง

 




Writer

โดย สุรีพันธุ์ เสนานุช

• วิทยากรอิสระ ด้านการถอดบทเรียนและการเขียนบทความวิชาการ
• ประสบการณ์ งานวิจัยและบรรณาธิการต้นฉบับ หนังสือกรณีศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ขององค์กรที่ได้รับรางวัล คุณภาพแห่งชาติ TQA และ TQC,
• โครงการวิจัยการถอดบทเรียนการจัดการความรู้ กรมอนามัย,
• ผลงานด้านหนังสือ บทบรรณาธิการ และบทความใน วารสาร Productivity World สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จำนวน 160 บทความ,
• ผลงานเขียนหนังสือ Visionary Leadership กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์,
• ผลงานเขียนหนังสือ Tragedy of Lost โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ, Societal Responsibility กรณีศึกษาบริษัท สวิฟท์ จำกัด ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (งานเขียนร่วม) เป็นต้น