15 April 2017

เมื่อองค์กรต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับการมาถึงของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การเตรียมความพร้อมให้ “ทรัพยากรบุคคล” มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะที่มีประโยชน์ต่อองค์กร จึงทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคแห่งการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งโอกาสในการเลือกวิธีการทำงาน รวมถึงการแสดงบทบาทและการสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งบ่อยครั้งเรามักจะมองข้ามการวิเคราะห์ถึงการแพร่กระจายของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่รัฐหลายพันคน อาทิ เจ้าหน้าที่พัฒนานโยบายรัฐ เจ้าหน้าที่กำกับดูแลและผู้ตรวจสอบด้านสุขภาพและความปลอดภัย พวกเขาเหล่านั้นถือเป็นคนสำคัญในการเชื่อมประสานระหว่างเทคโนโลยีและภาครัฐ

ถ้าพูดถึงความเร็วและการปรับตัวได้อย่างต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์และบริการในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นั้น เราจะเห็นได้จากการพิมพ์ระบบ 3D ที่ถูกนำมาใช้ผลิตเสื้อผ้าและสินค้าอุปโภคบริโภค ไปถึงนาโนเทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้ในทางการแพทย์หรือแม้กระทั่งการผลิตอาวุธ ซึ่งจะไปแทนที่ระบบเดิมซึ่งเคยมีอยู่ และจะช่วยลดปัญหาการขาดความสามารถในการควบคุมและข้อจำกัดด้านเวลาเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีใหม่และภาครัฐ ซึ่งเคยถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในระบบกำกับดูแล โดยภาครัฐได้ทดสอบและลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อนที่จะเกิดกระแสสังคมในเรื่องดังกล่าว

การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่เหล่านี้ รวมถึงสามารถควบคุมใช้ประโยชน์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความยั่งยืนในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และมีความสอดคล้องกับสถาบันรัฐทั้งหลายในประเทศ ดังนั้น 5 ทักษะที่จะมีความสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้สามารถพร้อมรับกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  1. ความรู้ทางเทคนิค

หัวใจหลักของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแล คือเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในการใช้ความรู้ความสามารถมาตรวจสอบดูแล การจะยอมรับหรือปฏิเสธสินค้าหรือบริการใหม่หรือสินค้าที่นำมาปรับใช้นั้น ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคและการทำเพื่อประโยชน์สาธารณะถือเป็นทักษะพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ

เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องเรียนรู้อยู่เสมอ รวมถึงมีการจ้างงานที่จะนำมาซึ่งทักษะด้านเทคนิคใหม่ที่หน่วยงานรัฐต้องการ อัตราการเปลี่ยนแปลงของความรู้ด้านเทคนิคในภาครัฐจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วให้เท่าทันกับภาคเอกชน โดยตัวอย่างรูปแบบใหม่ของการแชร์ข้อมูลด้านเทคนิค เช่น สถาบันทางการเงินของสหราชอาณาจักรใช้กลไก regulatory sandbox ในการขับเคลื่อน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน (fintech) ซึ่งสามารถนำไปใช้กับภาคส่วนอื่นๆ ที่จะช่วยให้หน่วยงานที่กำกับดูแลและผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมจะเข้ามาสู่วงจรเดียวกันได้ใกล้ชิดขึ้น

  1. ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง

ความเชี่ยวชาญจะต้องเชื่อมโยงกับข้อมูล ด้วยอุตสาหกรรม 4.0 นั้นเป็นการเชี่อมระหว่างไซเบอร์และกายภาพในรูปแบบใหม่ ประชาชนจะกลายเป็นคลังเก็บข้อมูล ปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นในช่วงอุตสาหกรรม 4.0 จะมีจำนวนมากมายหลายเท่ากว่าที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมีอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่ไฮเทคและสามารถประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณมากได้เช่นเดียวกับภาคเอกชน

อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสามารถรู้ว่าข้อมูลใดที่ยังขาดหายไปและต้องแน่ใจว่าจะสามารถรวมระบบนวัตกรรมต่างๆ ได้ เช่น หุ่นยนต์ถูกนำมาแทนที่พนักงานดูแลสุขภาพ ข้อมูลประสบการณ์ของพลเมืองผู้สูงอายุจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินข้อมูลสำหรับการอนุมัติตามกฎข้อบังคับ หรือแม้กระทั่งทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลรวมถึงข้อมูลที่ถูกละเลย จะต้องใช้ทักษะความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับหน่วยงานภาครัฐในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้

  1. การประสานการทำงานร่วมกัน

การสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบถือเป็นกุญแจสำคัญของการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะมีความสำคัญทั้งในเรื่องของความน่าเชื่อถือและคุณภาพ การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบนกฎหมายแม่บทและการวางข้อกำหนดย่อยๆ ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่อาจสร้างความประหลาดใจได้เสมอ

หากคุณลองจินตนาการถึงโลกของการให้บริการ ที่มีการแบ่งปันการเดินทาง (ride sharing) และมีการจ้างงานแบบชั่วคราว ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองของคุณ และรัฐบาลสามารถตามทันเรื่องดังกล่าว การควบคุมข้อมูลและสามารถตอบกลับอย่างทันทีทันใดกลายเป็นสิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับความโปร่งใสเกี่ยวกับสิ่งที่รัฐบาลรู้และไม่รู้ในเรื่องของผู้ให้บริการ

การที่รัฐสามารถสร้างจุดเชื่อมต่อหรือช่องทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับให้ข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลการเตือนภัย ซึ่งทั้งข้อมูลและการทำงานร่วมกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรม 4.0

  1. เครือข่ายความร่วมมือทั่วโลกและหลากหลายภาคส่วน

อุตสาหกรรม 4.0 นั้นเป็นผลผลิตจากความร่วมมือระดับโลกระหว่างหลากหลายภาคส่วนและหลากหลายบริษัท การเฝ้าดูแลและกฎเกณฑ์ต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะเสมือนเป็นสินค้าร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ ธุรกิจ และ ประชาชน ในการรวบรวมข้อมูล รวมถึงแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดี และหยุดผลกระทบที่อาจเป็นอันตราย มีเครือข่ายที่มีความโปร่งใส และคิดรอบคอบ สถานศึกษาจะมีบทบาทสำคัญในเครือข่ายเหล่านี้ เช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านเทคโนโลยี

  1. เปิดใจและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

โดยพื้นฐานแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องมีความรู้สึกที่อยากรู้อยากเห็นตลอดเวลาควบคู่ไปกับจิตสำนึกในบทบาทหน้าที่ของรัฐในการกำหนดมาตรฐานและสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้ประชาชน Klaus Schwab, Founder and Executive Chairman of the World Economic Forum ได้เรียกร้องให้รัฐบาลนำระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัวมาใช้ รวมถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของกระบวนการกำกับดูแล

การสร้างระบบการปกครองที่คล่องตัวนั้นต้องการผู้นำที่ขับเคลื่อนด้วยกำหนดภารกิจและเน้นที่ผลผลิต มีวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมปรับเปลี่ยน ผู้ตรวจสอบด้านความปลอดภัยมีความเป็นอิสระจากธุรกิจและการแทรกแซงทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ มีกฎระเบียบเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและองค์กรที่คำนึงถึงจริยธรรม ผู้เชี่ยวชาญขององค์กร และนักพฤติกรรมศาสตร์จะต้องแน่ใจว่ากฎเกณฑ์และการดำเนินการเหล่านี้ไม่ได้เติบโตในแบบเดิมๆ หรือขัดขวางเครือข่ายและการออกกฎระเบียบ

ที่มา: https://www.weforum.org/agenda/2017/01/five-skills-public-officials-need-in-the-fourth-industrial-revolution/




Writer

โดย รุ่งอรุณ รังสิยะวงศ์

เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร ส่วนสื่อสารองค์กร
ฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ