4 June 2015

งานวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    โดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยจะต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพของฝีมือแรงงานในทุกสาขาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการหลั่งไหลของแรงงานฝีมือในอาเซียน     หลังจากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (AEC)  อย่างเป็นทางการภายในช่วงเดือนธันวาคม  พ.ศ.   2015    ประเทศไทยและอีก 9 ประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN)   จะมีการบูรณาการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว  เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน  สินค้า   บริการ    และแรงงานที่มีทักษะระหว่างประเทศ

ขนาดตลาด 600 ล้านคน

ตลาด AEC นี้มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน หรือเกือบสองเท่าของประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกา การรวมกันทางเศรษฐกิจนี้ทำให้เศรษฐกิจ AEC ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ในโลก เทียบเท่ากับของสหราชอาณาจักร หรือประเทศบราซิล ทักษะการใช้ภาษาจะมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ นักวิจัยมีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ      และให้ความเห็นว่าการเคลื่อนย้ายแรงงานทางวิชาชีพในอาเซียน       ยังคงมีปัญหาในแง่ของกฎระเบียบและข้อบังคับในแต่ละประเทศอาเซียน     รวมถึงความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรม    วิชาชีพจำนวน 8 กลุ่   ม ที่จะมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีภายใต้การร่วมมือกันของอาเซียน   ได้แก่ บัญชี  , วิศวกรกรรม  ,   งานสำรวจ ,  สถาปัตยกรรม ,  บริการพยาบาล  , บริการทางการแพทย์  ,    บริการทางทันตกรรมและการท่องเที่ยว

ทักษะทางภาษาอังกฤษของคนไทยมีแค่ไหน?

ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่   42       จากจำนวน 60 ประเทศที่มีตัวชี้วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ เป็นอันดับต่ำที่สุดของประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ระดับการจัดคะแนนภาษาอังกฤษ

อันดับที่ 9 มาเลเซีย 55.54 มีความสามารถระดับสูง

อันดับที่ 12 ฮ่องกง 55.44 มีความสามารถระดับปานกลาง

อันดับที่ 13 เกาหลีใต้  55.19 มีความสามารถระดับปานกลาง

อันดับที่ 14 ญี่ปุ่น  54.17 มีความสามารถระดับปานกลาง

อันดับที่ 25 ไต้หวัน  48.93 มีความสามารถระดับต่ำ

อันดับที่ 26 ซาอุดิอาระเบีย  48.05   มีความสามารถระดับต่ำ

อันดับที่ 29 จีน  47.62   มีความสามารถระดับต่ำ

อันดับที่ 30 อินเดีย  47.35  มีความสามารถระดับต่ำ

อันดับที่ 32 รัสเซีย  45.79  มีความสามารถระดับต่ำ

อันดับที่ 34 อินโดนีเซีย  44.78 มีความสามารถระดับต่ำมาก

อันดับที่ 39 เวียดนาม  44.32 มีความสามารถระดับต่ำมาก

อันดับที่ 42 ไทย  39.41 มีความสามารถระดับต่ำมาก

อันดับที่ 44 คาซัคสถาน  31.74 มีความสามารถระดับต่ำมาก

 

จากการจัดอันดับ    ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้คะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับต่ำมาก    ในขณะที่เวียดนามและอินโดนีเซียได้คะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษต่ำมากเช่นกัน    แต่คะแนนค่อนข้างสูงกว่าประเทศไทยเล็กน้อย    ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด เช่น มาเลเซีย    ได้รับคะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษสูง    และเป็นที่น่าสนใจว่าประเทศที่มีการพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยดีนัก   เช่น ญี่ปุ่น หรือ เกาหลีใต้    ได้คะแนนค่อนข้างสูงกว่าประเทศไทย   อย่างไรก็ดี   ในงานวิจัยไม่ได้เก็บข้อมูลประเทศในอาเซียนอื่น เช่น ลาว เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์   และกัมพูชา

จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไทยมีความแข็งแกร่งในด้านวิชาชีพบริการพยาบาล    บริการทางการแพทย์  ทันตกรรม วิศวกรรมและท่องเที่ยว แต่ในเรื่องการบัญชียังต้องปรับปรุงโดยเฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างและการใช้เทคโนโลยี

ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่าง ๆ  จะนำไปสู่การแข่งขันโดยเฉพาะความร่วมมือ   AEC    ที่ใกล้จะถึงนี้    ความสามารถในการใช้สองภาษาหรือความสามารถในการใช้หลายภาษาจะเป็นข้อได้เปรียบของแรงงานในการหางาน  หรือได้รับการเลื่อนตำแหน่ง

สำหรับข้อดีของการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ      งานวิจัยชี้ให้เห็นว่านักลงทุนจะมีโอกาสที่จะเลือกแรงงานที่มีคุณภาพดีและมีการย้ายฐานการผลิตได้      การเคลื่อนย้ายแรงงาน   นอกจากนี้ยังจะส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรและด้านเทคนิคแล้วจะนำไปสู่ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างแรงงานกลุ่มประเทศอาเซียน

อย่างไรก็ดี       ในส่วนของนักลงทุนก็กลัวว่าจะสูญเสียพนักงานดีๆ   ให้แก่บริษัทในประเทศอื่นๆ  ที่มาเสนอเงินเดือนสูง       งานวิจัยเสนอว่า   รัฐบาลควรเน้นการพัฒนาความเชี่ยวชาญในสาขาที่ขาดแคลน      กฎระเบียบที่จะออกมาใหม่ควรรักษามาตรฐานทางด้านวิชาชีพ    ยิ่งไปกว่านั้น    รัฐบาลควรสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา (education hub)   สำหรับบริการทางการแพทย์และการท่องเที่ยวซึ่งประเทศไทยมีมาตรฐานในเรื่องนี้ค่อนข้างสูง      งานวิจัยเสนอให้มีการลดข้อด้อยของแรงงานไทยโดยเร่งพัฒนาทักษะทางภาษาและการใช้เทคโนโลยี      มีการปรับปรุงเงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานในสายวิชาชีพสาขาต่าง ๆ    และมีการเตรียมการที่ชัดเจนให้พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายของแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานไร้ฝีมือ

ในขณะเดียวกัน     พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า     มาตรฐานแรงงานไทยกำลังได้รับการยกระดับมาตรฐานไปสู่ระดับนานาชาติโดยจะมีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศอื่น ๆ    ในอาเซียน   รวมถึงประเทศอื่น ๆ   ในโลกมากขึ้น   และในปีพ.ศ. 2558  นี้มีเป้าหมายที่จะพัฒนาแรงงานในทุกสาขาเพื่อที่จะสร้างมาตรฐานเพิ่มเติมอีก  50 สาขาในอุตสาหกรรมจำนวน 11 กลุ่ม

ที่มา   Thailand Business News

 

 




Writer

โดย พัชรศรี แดงทองดี

นักวิจัย ส่วนวิจัยการเพิ่มผลผลิต
Thailand Productivity Institute