20 March 2024

ปรับ และ เปลี่ยน ของเหลือจากอาหาร เป็น นวัตกรรมที่สร้างคุณค่า 

 

 

         รู้หรือไม่ ?   ใน 1 วันของคนไทย มีการสร้างขยะมูลฝอยถึง 1.3 กก.  ซึ่ง ใน 64% นั้นเป็นขยะอาหาร 🥗🍿  ไม่ว่าจะกินเหลือ หรือคัดทิ้งเพราะ ไม่สวย หน้าตาไม่ดี จึงคัดออก ซึ่งโดยเฉลี่ยต่อคน ต่อปีจะอยู่ที่  250 กก. 🍨

ขยะอาหาร  (Food Waste)    🍚🍡🧃  เกิดจากอาหารที่เหลือจากการบริโภคทั้งในครัวเรือน อาทิ  อาหารที่เหลือจากการจำหน่ายในร้านค้าปลีก อาหารบุฟเฟ่ต์และอาหารที่ใช้เพื่อปรุงแต่งจานในร้านอาหาร หรือโรงแรม  ขยะที่สร้างขึ้นในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิตที่มีวัตถุดิบเหลือใช้ และการจัดเก็บวัตถุดิบที่ไม่ดีทำให้เกิดการเน่าเสีย

การสูญเสียทางอาหาร  (Food Lost) : 🛳️✈️🚠🚛 เกิดขึ้นระหว่างการผลิตอาหาร ตั้งแต่แหล่งปลูก การเก็บเกี่ยว กระบวนการขนส่ง ต่าง ๆ ผลผลิตออกมาจำนวนมากเกินความต้องการจนกลายเป็นส่วนเกิน และกลายเป็นขยะในที่สุด

ผลกระทบที่เกิดจากขยะอาหาร

  • ปัญหาก๊าซเรือนกระจกที่มีฤทธิ์ทำลายชั้นบรรยากาศมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า

  • ปัญหาน้ำเสียจากการฝังกลบขยะอาหาร

  • ปัญหาการปนเปื้อนของสิ่งแวดล้อมจากสารเคมีที่ใช้ในการผลิตอาหาร

  • สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดิน น้ำ และพลังงาน

  • เพิ่มต้นทุนในการกำจัดขยะ

  • ปัญหาขาดแคลนอาหาร

 

🍄🍦🍭 นวัตกรรมกำจัดขยะอาหาร 🍰🍭🍣  

                จากแนวคิดการสร้างความยั่งยืนให้กับระบบอาหาร ที่ต้องมีความเชื่อมโยงกันทั้งระบบไม่เฉพาะเครื่องจักรที่ใช้เท่านั้น แต่หมายรวมถึงรื่องของนโยบายการจัดการ  ทรัพยากร  คน สังคม ตลาด การขนส่ง และความร่วมมือด้วย     ทำให้มีนวัตกรรมมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดปริมาณปัญหาขยะอาหาร อาทิ

🍩 เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร (Upcycled Product) การผลิตอาหารบางอย่างที่เหลือกาก หรือบางอย่างที่ยังทำเป็นอาหารต่อได้ ก็จะนำมาพัฒนา แปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ต่อไป  เช่น การแปรรูปอาหารเหลือทิ้งให้เป็นปุ๋ยหมัก เชื้อเพลิงชีวภาพ หรืออาหารสัตว์

🍩 เทคโนโลยีการขนส่งและจัดเก็บอาหาร เช่น การขนส่งอาหารด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดการสูญเสียอาหาร การแช่แข็งอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา

🍩 เทคโนโลยีการวางแผนการผลิตและจัดจำหน่ายอาหาร เช่น การใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ความต้องการอาหารและลดการสูญเสียอาหาร

🍩 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะอาหาร การส่งเสริมให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าในปริมาณที่พอดี แนวคิดการแบ่งปัน อาทิ มูลนิธิรักอาหาร (Scholars of Sustenance Thailand Idea)  การร่วมมือระหว่างมูลนิธิและโรงแรม ตลาด ซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่จะติดต่อให้มูลนิธินำอาหารที่ยังคงเหลือเกินการใช้งาน ไปแจกจ่ายให้กับชุมชนเปราะบาง หรือชุมชนที่ยังไม่เข้าถึงอาหาร

______________________________________________________________________________________________

ที่มา: สัมมนาออนไลน์ คุยสบายบ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU EP.72 | เปลี่ยนของเหลือจากอาหาร …. เป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่า (Food Waste to Food Innovation)

 

 

 

 

👉หลักสูตรอบรมเกี่ยวกับ Sustainability and Green

 🎯  คลิก 

 




Writer