4 July 2022

ทำไม Google จึงผลักดัน Wellbeing

ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

 

ต้องยอมรับว่าภาวะโรคระบาดส่งผลทั้งโดยตรงและอ้อมกับการดำเนินธุรกิจ การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานก็นับเป็นหนึ่งสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของธุรกิจเช่นกัน ที่ Google ซึ่งเชื่อว่า

“ถ้าบริษัทน่าอยู่ พนักงานมีความสุข ก็จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ให้ผู้บริโภคทั่วโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสุขจากนวัตกรรมของเรา”

แต่การมีสุขภาวะที่ดี หรือ Wellbeing นั้นเกี่ยวข้องกับทุกด้านของชีวิตการทำงาน สามารถสร้างด้วยการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน สร้างสมดุลทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน  มากกว่าแค่การจัดให้สิทธิพิเศษหรือกิจกรรม เช่นมีอาหารเช้าฟรี มีกิจกรรมฝึกสติ หรือให้สมาชิกฟิตเนสราคาพิเศษ เพราะเราตระหนักว่าเรื่องของ Wellbeing เป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร

happy worker

กุญแจสำคัญของคำว่า Wellbeing

Google เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก มีวัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน เราจึงต้องพยายามเรียนรู้ให้ได้ว่า จะทำยังไงกับงานหรือทำงานกันยังไง ให้อยู่กันได้อย่างสันติสุขและพนักงานก็มีความสุขด้วยเช่นกัน และถ้า Welling หรือ สุขภาวะ หมายถึงความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้นกุญแจสำคัญของคำนี้ คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์ของแต่ละคน เฉพาะบุคคล หรือสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข ซึ่งจะเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน จะต้องถามตัวเองว่า Wellbeing สำหรับเราคืออะไร ต้องการสภาวะสมดุลแบบไหนที่ทำให้ตัวเองมีความสุข

good relationship

Google ผลักดัน Wellbeing ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร

เมื่อก่อน เรื่องที่เกี่ยวกับ Wellbeing ถ้าหากเราพูด จะถือเป็นมุมลบ เช่น เราบอกว่าเราเหนื่อย เราจะถูกมองว่าขี้เกียจ  จึงมักเป็นสิ่งที่จะไม่พูดกันในองค์กร แต่ Google อยากเป็นองค์กรแรกๆ ที่เริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองนี้

เราจึงพยายามผลักดัน Wellbeing ในองค์กร ด้วยวิธีการเหล่านี้

1.หัวหน้างานพูดเรื่อง Wellbeing อย่างเปิดกว้าง

หัวหน้างานจะเป็นคนพูดเรื่อง Wellbeing อย่างเปิดกว้าง เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้ต่อได้ เช่น เริ่มพูดถึงเรื่องครอบครัว เรื่องการพักผ่อน เรื่องวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ว่านี่คือสิ่งที่ตัวหัวหน้าเองก็ใส่ใจ และสนใจจริงๆ เพราะมันคือการแสดงให้เห็นด้านที่เป็นมนุษย์อีกมิติหนึ่งว่า หัวหน้าก็มีสิทธิ์ที่จะบอกว่า เหนื่อย นอกจากนี้ยังเป็นโมเดลให้ลูกน้องเห็นว่าทำแบบไหนจึงจะ wellbeing

2.ไม่ใช่แค่พูดว่า Wellbeing แต่ต้องลงมือทำจริง

นอกจากที่เราพูดว่า เราก็ต้อง wellbeing (สุขภาวะ) แล้ว ยังต้องแสดงให้เห็นด้วยว่าเราทำมันจริงๆ เช่น งดตอบ email ในวันหยุด เพื่อที่จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือ งดการประชุมทั้งสัปดาห์ ถ้าหากสัปดาห์นั้นมีงานที่ต้องใช้สมาธิหรือการเตรียมการ

3.ถามไถ่ด้วยความห่วงใยเมื่อพบเจอกัน

ปัจจุบันที่เราต้อง meeting online หรือ zoom ก่อนประชุมก็มักจะมีการถามว่า “สบายดีไหม” แล้วก็ไปต่อในเรื่องที่จะประชุม ซึ่งก็เหมือนว่าไม่ได้ห่วงใยกันจริงๆ ซึ่งตรงนี้ Google เองก็พยายามปรับ เพื่อให้เกิดการถามไถ่ที่มีความห่วงใยกันจริงในฐานะมนุษย์พูดคุยกัน เหล่านี้จะทำให้เราทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะหัวหน้างานถามลูกน้อง เพื่อแสดงให้เห็นว่า จริงใจและห่วงใยต่อกัน

4.ส่งเสริมความยืดหยุ่นในการทำงาน

ที่ Google จะมีการประกาศให้มี วันหยุด 1 วันพร้อมกันทั่วโลก (Official Global day off) โดยที่วันนั้นไม่ใช่วันเสาร์ อาทิตย์ เพราะอย่างในประเทศไทย แม้ว่าวันหยุดราชการแต่เราก็ยังได้รับอีเมลงานจากสาขาอื่น หรือ การจัดสรรเวลางานแบบยืดหยุ่น (Flexible work hours) เพื่อให้พนักงานสามารถ balance เวลาของครอบครัว และการทำงาน

 

WELLBEING = BALANCE

ถ้า Wellbeing คือ การรักษาสมดุลทุกอย่างทั้งร่างกายและจิตใจ แน่นอนว่าเราทุกคนไม่ได้มีความสุขกับการทำงานแบบ 100% ทุกวัน หรือมีความสุขกับชีวิตในทุกอย่างทุกวันมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว มองว่ามันคือการบาลานซ์ในการที่เราจะอารมณ์ดีพร้อมกับทำงานได้ดี แต่แน่นอนว่าเราจะต้องรู้จักจัดลำดับสิ่งสำคัญในชีวิตของเราว่าคืออะไร และนั่นจะทำให้เรารักษาสมดุลได้ เพื่อให้เกิด wellbeing ขึ้นได้จริง

 

ที่มา : งานสัมมนา ‘Productivity Trend Talk : Designing Work for Well-Being’ ออกแบบการทำงานอย่างไร ให้ WIN ทั้งพนักงานและองค์กร โดย คุณสายใย ศักดิ์กวี Head of Communications and Public Affairs จาก Google Thailand, Myanmar and South Asia Frontier countries (หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและมวลชนสัมพันธ์ ประจำประเทศไทย, พม่า, ศรีลังกา, ปากีสถาน บังกลาเทศ)

 

Infographic

 

หลักสูตรแนะนำ




Writer