25 June 2021

แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว
(Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ของกระทรวงอุตสาหกรรม

เป็นการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

BCG กระทรวงอุตสาหกรรม

เป้าหมายการขับเคลื่อน

  1. สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน และยกระดับรายได้ของประชากร
  2. สร้างความมั่นคงทางสังคม สร้างความมั่งคงทางอาหาร สุขภาพ และพลังงานในทุกระดับ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต
  3. สร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดของเสีย ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  4. ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 14 ใน 17 เป้าหมาย

BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม

ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)
มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เพิ่มผลิตภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม

อุตสาหกรรมเป้าหมาย : เกษตร อาหาร ยาและการแพทย์ พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ พลาสติกชีวภาพ
โดยคาดว่าจะมีเป้าหมายการขับเคลื่อน

  • ปี 2565 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 3% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 30,000 ล้านบาท
  • ปี 2567 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 6% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มสะสมเป็น 100,000 ล้านบาท
  • ปี 2570 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 10% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มสะสมเป็น 190,000 ล้านบาท

กลไกการขับเคลื่อน Bio Economy

  1. การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก Center of Bio Excellence : CoBE
  2. เงินทุน สิทธิประโยชน์และรางวัล
    – รางวัลชาวไร่อ้อย/โรงงานน้ำตาลดีเด่น
    – มาตรการทางภาษี เพื่อกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ทางชีวภาพ/การลงทุนเทคโนโลยีชีวภาะ
    – ส่งเสริมสินเชื่อเพื่อการปลูกอ้อย
    – Access to Finance Program by SMR D Bank
  3. การพัฒนากำลังคนและความสามารถ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ
  4. บ่มเพาะ สร้าง และยกระดับผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ จาก Bio Complex
  5. มาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนา BCG
    – มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
    – พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาล
    – เพิ่มบัญชีประเภทอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
  6. การสร้างและพัฒนาตลาด ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดอุตสาหกรรมออนไลน์

 

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
มุ่งเน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด และลดของเสีย

อุตสาหกรรมเป้าหมาย : พลาสติก ยางรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง เหล็กและโลหะอื่นๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าโดยคาดว่าจะมีเป้าหมายการขับเคลื่อน

  • ปี 2565 มีIndustrial Symbiosis 5 พื้นที่อุตสาหกรรม มีกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบ 100%
  • ปี 2567 มีIndustrial Symbiosis 10 พื้นที่อุตสาหกรรม
  • ปี 2570 มีIndustrial Symbiosis 15 พื้นที่อุตสาหกรรม มีการนำกากอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์ 90%

กลไกการขับเคลื่อน Circular Economy

  1. การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก ITC : ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล
  2. เงินทุน สิทธิประโยชน์และรางวัล
    – รางวัล Prime Minister’s Award ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
    – รางวัล Certified Zero Waste to Landfill
    – รางวัล Access to Finance Program by SME D Bank
  3. การพัฒนากำลังคนและความสามารถ จาก CEPAS , e-learning
  4. บ่มเพาะ สร้าง และยกระดับผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ จากวิสาหกิจชุมชนคัดแยกขยะ และการยกระดับการจัดการกากอุตสาหกรรม
  5. มาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนา BCG
    – ชุดมาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กร/ผลิตภัณฑ์
    – พ.ร.บ.โรงงาน (กากอุตสาหกรรม)
  6. การสร้างและพัฒนาตลาด ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดอุตสาหกรรมออนไลน์

ระบบเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมเป้าหมาย : ทุกอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะมีเป้าหมายการขับเคลื่อน

  • ปี 2565 60% Green Industry ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.22 ล้านตัน CO2 เทียบเท่า
  • ปี 2567 90% Green Industry ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.70 ล้านตัน CO2 เทียบเท่า
  • ปี 2570 100% Green Industry และมากกว่า 50% ได้รับ Green Industry ระดับ 3 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.30 ล้านตัน CO2 เทียบเท่า

กลไกการขับเคลื่อน Green Economy

  1. การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก Smart Factory และ Electric Vehicle
  2. เงินทุน สิทธิประโยชน์และรางวัล ได้รับ -รางวัล Prime Minister’s Award ด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านความรับผิดต่อสังคม ด้านบริหารความปลอดภัย
    – สิทธิประโยชน์ผู้ได้รับ Green Industry ระดับ 4-5
    – รางวัล Access to Finance Program by SME D Bank
  3. การพัฒนากำลังคนและความสามารถ จาก Third Party การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ/เอกชน และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน
  4. บ่มเพาะ สร้าง และยกระดับผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ จาก Green Industry , Eco-industrial Estate/Town , CSR-DIW , CSR-DPIM
  5. มาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนา BCG
    – มาตรฐานผลิตภัณฑ์
    – มาตรฐานระบบ
    – พ.ร.บ.โรงงาน
  6. การสร้างและพัฒนาตลาด ด้วยการแพลตฟอร์มตลาดอุตสาหกรรมออนไลน์



Writer

โดย ส่วนสื่อสารองค์กร