16 มิถุนายน 2017

เราเดินทางมาถึงยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้องค์กรชั้นนำของโลกหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง “Google” เองก็เช่นกัน ที่ได้นำเอาปัญญาประดิษฐ์มาช่วยให้มนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ดียิ่งขึ้น

This is how a Google neural network draws. Google Research

Google ได้จัดแสดงงานศิลปะขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยได้เปิดตัวแพลตฟอร์มเพื่อช่วยคนที่วาดรูปไม่เก่ง นอกจากนี้ยังตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการสอนศิลปะให้กับผู้ที่การวาดรูปไม่เก่ง: โครงข่ายงานประสาทหรือโมเดลงานคณิตศาสตร์ (a neural network)

Google ได้เปิดตัว AutoDraw ซึ่งเป็นบริการบนเว็บที่มุ่งเน้นให้ผู้ใช้บริการที่วาดรูปไม่เก่ง ได้วาดภาพพื้นฐานขึ้นมา เช่น รูปแอ็ปเปิ้ล และม้าลาย จากนั้นระบบจะวิเคราะห์รูปวาดที่แย่ๆ และไม่สวยของคุณ เมื่อคุณคลิกที่รูปวาดที่คุณต้องการ ก็จะถูกแทนที่ด้วยรูปวาดที่สวยสมจริง ดูเป็นมืออาชีพ (ระบบนี้จะคล้ายๆ กับระบบสะกดคำอัตโนมัติ แต่เป็นระบบสำหรับการวาดรูป)

Nooka Jones หัวหน้าทีมที่สร้างสรรค์ของ Google กล่าวว่า AutoDraw เป็นการช่วยเหลือแบบด่วนพิเศษ “หลายคนวาดภาพได้ค่อนข้างแย่ แต่ก็ไม่ควรจำกัดความสามารถของพวกเขา” “จะเป็นยังไงถ้าเราสามารถช่วยร่างความคิดของคนหรือนำความคิดของพวกเขาออกมาผ่านการสื่อสารทางภาพวาด ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ?”

Dan Motzenbecker, นักเทคโนโลยีด้านความคิดสร้างสรรค์ของ Google, กล่าวว่า “มันเป็นโครงข่ายงานประสาทที่คิดค้นลายมือ” เขายังกล่าวอีกว่า ลายมือนั้นอาจเป็นอักษรละตินหรืออักษรจีน หรือญี่ปุ่น เช่น ตัวคันจิ “มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะนำมาใช้กับลายเส้นขยุกขยิกบ้าง”

ในฐานะที่เป็นคนวาดรูป ระบบจะพยายามเดาว่าสิ่งที่วาดออกมามันคืออะไร “เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้กับตัวอักษรแต่ละตัว หรือในตัวอักษรจีน” Motzenbecker กล่าวว่า “เราสามารถใช้รูปแบบนี้สำหรับรูปแบบเส้นขยุกขยิกได้เช่นเดียวกัน”

โครงข่ายงานประสาทได้พัฒนาขึ้นโดยการเรียนรู้จากข้อมูล แต่เมื่อถูกถามถึงวิธีการที่ระบบได้เรียนรู้จากภาพวาดของเรา Jones กล่าวว่า “ในทางทฤษฎีเราสามารถบอกได้ ; แต่ในทางปฏิบัติเราคงไม่สามารถเปิดเผยสิ่งที่เราใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับเข้าไปในอัลกอริธึมได้ “

เช่นเดียวกับมีวิธีต่างๆ ในการวาดตัวอักษร ที่มีหลายรูปแบบ อย่างช้างหรือม้า Motzenbecker กล่าวว่า “มันเป็นความหลากหลายที่มองเห็น เราปรับวิธีการให้เหมาะสมมากขึ้นกับการร่างสิ่งต่างๆ ผู้ใช้เพียงแค่ยืนยันการเดาของ AI ในการเลือกรูปวาดใหม่ซึ่งอาจช่วยในการตัดสินใจได้ในอนาคต”

นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณเห็นในอุตสาหกรรมทั้งหมด และ Google ได้ตระหนักถึงศักยภาพของเรื่องนี้มาก่อน องค์กรด้านเทคโนโลยีรายอื่น ๆ เป็นอย่างมาก” Shuman Ghosemajumder, หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี ของ Shape Security ใน Mountain View, California และ อดีตพนักงานของ Google กล่าวว่า มันคือการเรียนรู้ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อให้สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้คิดว่าต้องอาศัยมนุษย์โดยตรงเพียงอย่างเดียว” และการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือนั้นต้องอาศัยข้อมูล

ในกรณีนี้ หากคุณมีแอปพลิเคชันที่ผู้คนใช้เพื่อให้สามารถวาดรูปร่างที่แตกต่างกันได้ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีของคุณจะยังไม่สมบูรณ์แบบในขณะนี้ คุณก็สามารถป้อนข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงโปรแกรมเหล่านี้ได้เมื่อเวลาผ่านไป.

ขณะที่ AutoDraw เป็นเรื่องเกี่ยวกับการช่วยให้ผู้ใช้บริการเปลี่ยนลายเส้นที่ขยุกขยิกของพวกเขาให้กลายเป็นภาพที่ดูดีสมจริงขึ้น Search Engine ยักษ์ใหญ่ก็ยังให้ความสนใจในวิธีที่จะใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาหน่วยงานวิจัยของ Google ได้เผยแพร่บล็อกและบทความเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากโครงข่ายงานประสาทเพื่อวาดภาพต่างๆ

เป้าหมายของทีมนักวิจัย คือการฝึกฝนและพัฒนา “เครื่องมือที่ใช้ในการวาดรูป ให้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการวาดของมนุษย์” ตามบล็อกที่เขียนขึ้นโดย David Ha ซึ่งเป็น Google Brain Resident ระบบนี้จะทำงานโดยการป้อนข้อมูลการวาดหรือการพูดของมนุษย์ เช่น การวาดภาพแมว หรือออกเสียงคำว่า “แมว” (การออกเสียงต้องสอดคล้องกับของ Google) จากนั้นจึงสร้างภาพวาดของตัวเองขึ้นมา

ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่น่าสนใจและมหัศจรรย์ ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยนำเสนอระบบด้วยภาพร่างของแมวสามตา ระบบวาดภาพในคอมพิวเตอร์จะวาดภาพแมวออกมา แต่เป็นแมวที่มีจำนวนดวงตาที่ถูกต้อง “บอกเป็นนัยๆ ได้ว่าโครงร่างจำลองของเราได้เรียนรู้ว่าแมวมักมีดวงตาเพียงสองดวงเท่านั้น”

โฆษกของ Google ยืนยันถึงความแตกต่างของโครงข่ายงาน ระหว่าง AutoDraw และงานวิจัยอื่น ๆ แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง ซึ่งในทั้งสองกรณีระบบจะใช้การป้อนข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงเป็นภาพวาดอย่างมืออาชีพ หรือสร้างภาพใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเอง

ที่มา : http://www.popsci.com/google-is-exploring-weird-intersection-art-and-machine-learning

 

 




Writer

โดย พัชรวรรณ สุทธิรักษ์

เจ้าหน้าที่บริการฝึกอบรมอาวุโส ฝ่ายฝึกอบรม
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ