PSP-03: Productivity Specialist Program (โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มผลิตภาพองค์กร) - สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ Thailand Productivity Institute
Loading Events
Public Training

PSP-03: Productivity Specialist Program (โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มผลิตภาพองค์กร)

วันที่อบรม
26 กันยายน 2565 - 26 มกราคม 2566

Online Training

ระยะเวลาอบรม : 111 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ


ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) 60,000 บาท
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

  • This event has passed.

เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและยกระดับผลิตภาพขององค์กร จึงมีการนำเครื่องมือ เทคนิค วิธีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ และสร้างกิจกรรมการปรับปรุงภายในองค์กร ซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจมากขึ้น แต่หลายองค์กรก็ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อีกทั้งการดำเนินการด้านการเพิ่มผลิตภาพยังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญ และความต่อเนื่องในการดำเนินการ

 

การเพิ่มผลิตภาพขององค์กรในประเทศไทยดำเนินมาอย่างต่อเนื่องด้วยการนำแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติจากองค์ความรู้ที่พัฒนาทั้งจากภายในและต่างประเทศ  อย่างไรก็ตาม การสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรตามสภาพแวดล้อมและเป้าหมายของแต่ละองค์กรอาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้ การฝึกอบรมที่มุ่งเน้นให้ความรู้ของแต่ละบุคคลยังไม่เพียงพอต่อการเพิ่มผลิตภาพตามที่องค์กรมุ่งหวังเนื่องจากข้อจำกัดในการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลในวงกว้างในองค์กร และบุคลากรที่ได้รับมอบหมายยังมีประสบการณ์จำกัด

 

หลักสูตรนี้ จึงมุ่งเน้นการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร และการยกระดับผลลัพธ์ผลิตภาพขององค์กร ไม่เพียงเพิ่มความรู้ในด้านการสร้างองค์ความรู้การเพิ่มผลิตภาพ แต่ยังรวมถึง การให้คำแนะนำในการนำไปองค์ความรู้ด้านการเพิ่มผลิตภาพไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ผ่านการพัฒนาทีมงาน และการออกแบบระบบการเพิ่มผลิตภาพสำหรับองค์กรที่มีความต้องการเฉพาะแต่ละราย  หลักสูตรนี้ ยังช่วยให้บุคลากรสามารถนำความรู้ไปขยายผลในการยกระดับผลิตภาพอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข็งขันทางธุรกิจ ตลอดจนสามารถเสริมสร้างการรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้สำคัญเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในองค์กรให้สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมขององค์กรได้

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญ เข้าใจแนวทางการเพิ่มผลิตภาพขององค์กร และการยกระดับผลลัพธ์ผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรสามารถใช้เครื่องมือผลิตภาพ ในการประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบและพัฒนากระบวนการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้เกิดผลลัพท์ได้อย่างต่อเนื่อง
  • สร้างผู้เชี่ยวชาญให้เป็นวิทยากรภายในเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ขยายแนวคิดและวิธีการปฏิบัติด้านการเพิ่มผลิตภาพ ไปสู่บุคลากรภายในอย่างยั่งยืน

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ผู้ผ่านการขึ้นทะเบียนได้รับการรับรองมาตฐาน ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการเพิ่มผลิตภาพ
  2. องค์กรมีทีมผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงและขยายผล ภายในขององค์กรตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  3. องค์กรมีแผนงาน แนวทางในการปรับปรุงผลิตภาพ ใช้เครื่องมือเพิ่มผลิตภาพที่เหมาะสมและเกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง
  4. องค์กรมีเครือข่ายความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานด้านการเพิ่มผลิตภาพ

 

คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย

  • บุคลากรจากภาคอุตสาหกรรม สามารถส่งเข้าโครงการได้ องค์กรละ  5 ท่าน อาทิ
    • ผู้จัดการโรงงาน
    • ผู้จัดการฝ่ายผลิต ทีมงานฝ่ายผลิต ทีมซ่อมบำรุง และวิศวกร
    • ทีมงานผู้รับผิดชอบด้าน Productivity Improvement
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม

 

Learning Method:

 

วิทยากร :

คุณเชษฐพงศ์ สินธารา

คุณณัฏฐ์ทยากร ศิโรเวฐน์

คุณสุธาสินี โพธิจันทร์

คุณณิภณ พินศิริกุล

 

ค่าธรรมเนียม (ราคาต่อองค์กร) online training 
ส่งบุคลากรเข้าอบรมได้ องค์กรละ 5 ท่าน (ก่อน VAT 7%)
60,000 บาท
                                                  (รวม VAT 7%)
64,200 บาท
หมายเหตุ : สมาชิกลด 5%

 

ระยะเวลา : 39 ชั่วโมง

26 กันยายน 2565 – 26 มกราคม 2566

 

กำหนดการฝึกอบรม
หลักสูตร/วิทยากร
รายละเอียด/หัวข้ออบรม
วันอบรม/เวลา และ
รูปแบบการอบรม
Pre-Test
ทดสอบก่อนการอบรม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Productivity
26 กันยายน 2565 (Online)
ภาคทฤษฏี (Theoretical section)
Productivity Concept
 
 
 
 
Process Management
 
  •  แนวคิดเบื้องต้น Productivity
  • การนำแนวคิดด้าน Productivity ไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

 

  • ภาพรวมของการจัดการกระบวนการ​
  • การวางแผนกระบวนการทำงาน​
  • การจัดทำข้อกำหนดของกระบวนการ​
  • การออกแบบกระบวนการทำงาน ​
  • มาตรฐานในการทำงานการควบคุมกระบวนการ
  • การแก้ไขสิ่งบกพร่องในกระบวนการ
  • การปรับปรุงสถานที่ทำงาน
  • การปรับปรุงกระบวนการ
26 กันยายน 2565
3 ชั่วโมง
(โปรแกรม Zoom)
7 QC Tools
 
  • การระดมสมองเพื่อกำหนดปัญหาในการปรับปรุง
  • การกำหนดแนวทางปรับปรุงใช้หลัก QC Story
  • การใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิดเพื่อการปรับปรุง
    • แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)
    • แผนผังพาเรโต (Pareto)
    • กราฟต่างๆ (Graphs)
    • แผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
    • แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
    • แผนภูมิควบคุม (Control Chart)
    • แผนภูมิฮิสโตแกรม (Histogram)
6 ตุลาคม 2565
6 ชั่วโมง
(โปรแกรม Zoom)
Lean Basic
 
 
  • แบบทดสอบก่อนเรียน
  • Stage 1. Basic Lean
    • Productivity Concept
    • Lean Principle
    • 8 Wastes
    • Kaizen
  • แบบทดสอบหลังเรียน
7-28 ตุลาคม 2565
(e-training)
TPM
(Total Productive Maintenance)
 
 
  • การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM)
  • 12 ขั้นตอน และ 8 เสาหลักในการทำกิจกรรม TPM
  • ความสูญเสียหลักของเครื่องจักร (6 Big Losses)
  • การวัดประสิทธิผลของ TPM (OEE)
  • เสาหลักการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสีย (Focus Improvement)
  • เสาหลักการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
  • เสาหลักการบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)
  • เสาหลักอื่นในการดำเนินการกิจกรรม TPM
  • แนวทางในการดำเนินกิจกรรม TPM ในองค์กร
  • สรุป และถาม ตอบ
3 พฤศจิกายน 2565
6 ชั่วโมง
(โปรแกรม Zoom)
KM Facilitator for Productivity Improvement
 
  • หลักการจัดการความรู้เพื่อการเพิ่มผลิตภาพ (KM for Productivity)
  • เครื่องมือ และเทคนิคที่สำคัญสำหรับการจัดการความรู้ในองค์กร ( KM Tools & Techniques)
  • การดำเนินงานการจัดการความรู้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ (KM Implementation)
    • กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)
    • การสร้างทีมงานเพื่อผลักดันการดำเนินงานจัดการความรู้ในองค์กร(KM Facilitator)
    • แนวทางการรณรงค์ส่งเสริม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานจัดการความรู้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ (KM Promotion Activity)
9 พฤศจิกายน 2565
6 ชั่วโมง
(โปรแกรม Zoom)
 สรุปเนื้อหาการอบรมภาคทฤษฏีทั้งหมด 
แจ้งการจัดทำแผนและ Q&A
การจัดทำแผน (Action Plan for Improvement Project)
9 พฤศจิกายน 2565
(โปรแกรม Zoom)
ภาคปฏิบัติ (Practical Section)
 กิจกรรมที่ 1 : ฝึกปฏิบัติ จัดทำ Action Plan & Improvement Project
 
  • ผู้อบรมเลือกพื้นที่ต้นแบบในองค์กรของตนเอง และกำหนดจุดในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งผู้อบรมสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการปรับปรุงได้ตามที่ได้อบรมภาคทฤษฏี
  • ผู้อบรมต้องทำแผนงานและโครงการในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มผลิตภาพ และแผนขยายผล
24 พฤศจิกายน 2565
(6 ชั่วโมง)
(โปรแกรม Zoom)
 กิจกรรมที่ 2 : Coaching Improvement Project รายองค์กร
 
วิทยากรที่ปรึกษาของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติให้คำแนะนำผู้อบรมในเรื่องการปรับปรุงกระบวนการ (ระยะเวลาประมาณ 45 นาที – 1 ชั่วโมงต่อองค์กร)
15 ธันวาคม 2565
(โปรแกรม Zoom)
 กิจกรรมที่ 3 : Good Practice Sharing Session
รับฟังองค์กรชั้นนำแชร์การนำเครื่องมือ Productivity มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
5 มกราคม 2566
(โปรแกรม Zoom)
 กิจกรรมที่ 4 : Present Improvement Project
ผู้อบรมทุกท่านนำเสนอผลการปรับปรุงกระบวนการของพื้นที่ตัวอย่างที่ปรับปรุงในองค์กร
26 มกราคม 2566
(โปรแกรม Zoom)
 กิจกรรมที่ 5 : Certified
เกณฑ์การวัดผล
  • เวลาในการเข้าฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ
  • จากการทำแบบทดสอบ online
  • จากการทำ Action Plan & Improvement Project การนำเสนอและส่งรายงาน
26 มกราคม 2566

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของหลักสูตร

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 454 , 453 (นิรันดร์, ผ่องอำไพ)
E-mail : nirun@ftpi.or.th , pongumpai@ftpi.or.th

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

นิรันดร์ โพธิ์มั่น
02-6195500 ต่อ 454

วิทยากร

เชษฐพงศ์ สินธารา

วิทยากรที่ปรึกษาอาวุโส ส่วนบริหารการผลิต ฝ่ายปรึกษาแนะนำ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ปริญญาโท การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ประสบการณ์ วิทยากรและที่ปรึกษา ด้านการบริหารการผลิต , Industry 4.0 , Lean Production , Work System Design , การจัดการกระบวนการ , การวิเคราะห์กระบวนการผลิตตามแนวทาง VSM และบรรยายเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)

ณัฏฐ์ทยากร ศิโรเวฐน์

วิทยากรที่ปรึกษาด้านการบริหารการเพิ่มผลผลิต
ฝ่ายปรึกษาแนะนำ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ความเชี่ยวชาญ ด้าน Productivity Improvement, การจัดทำระบบ 5ส, Process Improvement & Service Process Improvement, Standard Cost & Cost of Quality เป็นต้น

สุธาสินี โพธิจันทร์

วิทยากรที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพและการมีส่วนร่วมของพนักงาน มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาแนะนำกับองค์กรภาครัฐและเอกชนมากว่า 15 ปี

ณิภณ พินศิริกุล

ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการบริหารการผลิต เครื่องมือการเพิ่มผลผลิตอาทิ TQM, TPM, OEE
ประวัติการทำงาน
- Advance Process Engineer บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด
- Production Engineer & TPM Promoter บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จํากัด


Latest Course


Latest Articles