Productivity Trend
Talk Online
|
หัวข้อ “4 Stages for PDPA Compliance and Implementation”
|
8 มีนาคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น.
|
ในยุคที่ข้อมูล (Data) เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสร้างประโยชน์ด้านการตลาด จึงมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นเพื่อป้องกันการถูกละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล นั่นก็คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อการความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) และข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) โดยกำหนดให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลจากการถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งบทบัญญัติในกฎหมายฉบับนี้ส่งผลถึง การรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน และเผยแพร่ ให้มีแนวทางการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลนี้ได้มาตรฐาน
การบังคับใช้กฎหมาย PDPA จะส่งผลต่อองค์กรในด้านใด และองค์กรควรมีวิธีปรับตัวอย่างไรให้สอดคล้องกับแนวทางของข้อกฎหมาย โดยไม่กระทบต่อชื่อเสียงและการดำเนินธุรกิจ และช่วยเสริมย้ำความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้นำเสนอ 4 ขั้นตอนตามแนวทางการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA Implementation Model ที่ได้มาตรฐานตามแนวทางมาตรฐานสากล NIST Privacy Framework และ ISO 27701 เพื่อช่วยผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ผู้บริหารองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ให้สามารถวางแผน และมีแนวทางในการจัดการเรื่อง PDPA ได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้ และทำความเข้าใจในสาระสำคัญ และสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562
- ทำความรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูล ผู้ประมวลผลข้อมูล เจ้าหน้าที่ควบคุมข้อมูล
- มีแนวทางที่ได้มาตรฐานตามแนวทางมาตรฐานสากล ในการจัดการเรื่อง PDPA ผ่าน 4 Stages of PDPA for Implementation
เหมาะสำหรับ
- ผู้บริหารองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือเจ้าของธุรกิจต่างๆ ที่มีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล
- บุคคลทั่วไปที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับข้อมูล และผู้สนใจ
วิทยากร
คุณปริญญ์ เสรีพงศ์ CISA, CEH, ISMS (IRCA)
วิทยากรที่ปรึกษา ส่วนการจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
รูปแบบการอบรม อบรมผ่านโปรแกรม Zoom
ค่าธรรมเนียม
1 คน | Promotion | |
สมาชิก | 700.- | สมัคร 2 คนขึ้นไป คนละ 500 บาท |
บุคคลทั่วไป | 900.- |
หมายเหตุ กรณีผู้สมัครไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ กรุณาส่งชื่อผู้แทนหรือแจ้งยกเลิกล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับการยืนยันกลับจากเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 5 วันทำการ เพื่อการจัดเตรียมงานและการบริหารงบประมาณที่เหมาะสม หากไม่มีการแจ้งล่วงหน้า สถาบันขอเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50% ของค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน