[Package C] โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมและความร่วมมือทางวิชาการ Driving Innovative Organization Program - สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ Thailand Productivity Institute
Loading Events
Public Training

[Package C] โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมและความร่วมมือทางวิชาการ Driving Innovative Organization Program

วันที่อบรม
19-20, 26-27 มิถุนายน และ 9 สิงหาคม 2566

ระยะเวลาอบรม : 5 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ


ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) 25,000 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

  • This event has passed.

ประเทศไทย มีแนวทางในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดภาคการผลิตและอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อเชื่อมโงให้เกิดการส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างสาขา ร่วมกับการสร้างระบบนิเวศให้เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ทั้งในมิติด้านการยกระดับสมรรถนะบุคลากรให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานแห่งอนาคต สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเอง การปรับปรุง แก้ไขกฎระเบียบต่างๆ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งนี้ สาขาการผลิตที่มีความสำคัญในปัจจุบัน และสาขาการผลิตที่ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ มีจำนวนรวม 7 สาขา ภาคการเกษตรเป็นเป้าหมายที่สำคัญ แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มของภาคการเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจะมีแนวโน้มลดลง แต่ภาคการเกษตรยังคงมีสัดส่วนการจ้างงานที่สูงถึงร้อยละ 30.2 ของการจ้างงานทั้งหมดของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภาคการเกษตรกรรมที่ยังคงเป็นแหล่งรายได้ของประชากรจำนวนมาก และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มกับสัดส่วนการจ้างงานในภาคการเกษตร พบปัญหา ดังนี้

  • ผลิตภาพของแรงงานในภาคการเกษตรยังอยู่ในระดับไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับภาคการผลิตอื่น
  • เกษตรจำนวนมากมีฐานะยากจน
  • ปัญหาเรื้อรังและเกิดใหม่
  • ประชากรในภาคเกษตรส่วนใหญ่เป็นประชากรสูงวัย ไม่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการนำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
  • เกษตรกรทั่วไปมีข้อจำกัดในการบริหารเชิงธุรกิจหรือเชื่อมโยงกับตลาด
  • ขาดทุนที่เพียงพอสำหรับปรับเปลี่ยนกิจการหรือพัฒนาตัวเองสู่กระบวนการผลิตและธุรกิจดิจิทัล
  • มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับใช้ตลอดปีในหลายพื้นที่
  • สถาบันเกษตรกรที่ช่วยสนับสนุนภารกิจด้านธุรกิจยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งเพียงพอ

การเพิ่มผลผลิตรวมถึงการเพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตรโดยใช้นวัตกรรมจึงเป็นโจทย์ในการพัฒนาที่ท้าทายประเทศไทยในอนาคต

อิสราเอล ประเทศชั้นนำที่พัฒนาภาคเกษตรผ่านนวัตกรรม เป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยี การวิจัยด้านอาหาร และเทคโนโลยีทางการเกษตร จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก มีความสามารถระดับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก มีนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีการจัดการเกษตรท่ามกลางความแห้งแล้ง การขาดแคลนในทะเลทราย ภาวะโลกร้อน ซึ่งอิสราเอลมีฝนตกเฉลี่ยเพียง 64 วันต่อปี แต่อิสราเอลไม่เคยขาดแคลนน้ำดื่ม เพราะอิสราเอลเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในการเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด จากโรงกลั่นน้ำทะเลที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลกหลายแห่งริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียที่สามารถผลิตน้ำจืด เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ที่มากเกินพอต่อความต้องการของคนทั้งประเทศ

อิสราเอลรีไซเคิ้ลน้ำได้มากที่สุดในโลก และได้คิดค้นพัฒนานวัตกรรมบำบัดน้ำจนกลายเป็นประเทศต้นแบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียระดับโลก อิสราเอลเป็นประเทศผู้นำด้านการเกษตร ทั้งๆ ที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย แต่ประชากรส่วนใหญ่ของของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งที่ไม่มีแหล่งน้ำ แต่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์ ปลูกได้ทั้งพืชผักผลไม้ เพื่อเป็นอาหารของคนทั้งประเทศ ปลูกได้ทั้งไม้ดอก ผลไม้เมืองหนาว จนสามารถส่งออกเป็นสินค้าออกระดับโลกด้วยเทคโนโลยีและระบบการจัดการน้ำที่ทันสมัยและใช้ประโยชน์น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุดในโลก

การพัฒนาภาคเกษตรของอิสราเอล จัดว่าเป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ เกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่เกี่ยวข้อง จนนำมาซึ่งเทคโนลีเกษตรขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ (Desert Agriculture) และการกำจัดเกลือ (Desalinity) วิถีเกษตรกรรมต้นแบบกลางทะเลทราย ไร่อินทผาลัม สวนผัก ผลไม้ ฟาร์มโคนม และฟาร์มปลาสวยงาม เป็นต้น จึงทำให้อิสราเอลได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ทำเกษตรกรรมอย่างเข้มข้น ส่งผลให้หนึ่งในสามของผลผลิตที่ได้สามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรป ซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเลยทีเดียว

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม มีบทบาทหน้าที่ในการชี้นำและยกระดับผลิตภาพขององค์กร เสริมสร้างการเติมโตที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมศึกษาดูงานในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และสุขภาพ ด้วยนวัตกรรม: Driving Innovation Organization Program ผ่านความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรของไทย ณ ประเทศอิสราเอล โดยครอบคลุมเนื้อหา ตัวอย่างเช่น

  • Biotech ไบโอเทค-การผสมพันธุ์พืช
  • Smart Farming ฟาร์มอัจฉริยะ – โดยใช้ข้อมูล Big Data เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการเก็บข้อมูลเพื่อบริหารการจัดการน้ำ และการกำจัดศัตรูพืช
  • Crop Protection การป้องกันพืชไร่จากโรคร้ายต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • Machinery and Robotics เครื่องมือ ออโตเมชั่นต่างๆ ในสวน ในไร่นา
  • Irrigation & Water Management การบริหารจัดการน้ำ
  • Post Harvest การดูแลการจัดเก็บ การลดการสูญเสีย
  • Farm to Consumer โลจิสติค การขนส่งต่างๆ เพื่อลดระยะทางการจัดการถึงมือลูกค้า
  • Novel Farming Systems รูปแบบใหม่ๆ ของการทำฟาร์ม เช่น Greenhouses, Urban Farming, Hydroponics และ Aquaponics
  • Livestock การดูแลปศุสัตว์
  • Waste Technologies การกำจัดการสูญเสียในการผลิต
  • Aquaculture เทคโนโลยีการปลูกพืชในน้ำ
วัตถุประสงค์
  • เพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กรภาคการศึกษาและนักธุรกิจไทยด้วยนวัตกรรมเพิ่มผลิตภาพการเกษตร
  • เพื่อขยายวิสัยทัศน์องค์ภรภาครัฐและเอกชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการ นวัตกรรม และการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
กลุ่มเป้าหมาย
  • เจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และสุขภาพ
  • องค์กรภาครัฐหรือเอกชนที่สนใจหรือต้องการเป็นเจ้าของหรือต้องการพัฒนาธุรกิจเดิมด้วยเทคโนโลยีจากประเทศอิสราเอล
  • องค์กรภาครัฐหรือเอกชนที่ต้องการทำความร่วมมือทางการค้ากับบริษัทในอิสราเอล
  • องค์กรภาครัฐหรือเอกชนที่ต้องการพัฒนาหรือทำวิจัยร่วมกับบริษัทในอิสราเอล
  • หน่วยงานที่ทำการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
  • องค์กรภาครัฐที่มีส่วนผลักดันนวัตกรรมทางการเกษตร
  • สถาบันหรือหน่วยงานทางการศึกษที่ต้องการศึกษาตัวอย่างการทำนวัตกรรม
  • องค์กรที่ดำเนินการให้การสนับสนุน BCG
  • ผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็น Community กับเครือข่ายนักธุรกิจอิสราเอล
องค์กรที่จะเข้าศึกษาดูงานและกิจกรรมในโครงการ
  • องค์กรภาครัฐอิสราเอลที่สนับสนุนหรือเป็นเครือข่ายด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร และอาหาร Kidum, The Technology Transfer Organization (TTO) of the ARO, Ministry of Agriculture and Rural Development of Israel.
  • มหาวิทยาลัยชั้นนำของอิสราเอลด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อเรียนรู้เรื่องการวิจัยพัฒนานวัตกรรมที่นำไปสู่ Business Model
  • บริษัทเทคโนโลยีทางการเกษตร อาหาร และสุขภาพ
  • Business Matching เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การพัฒนา และการศึกษาวิจัย ร่วมกัน
  • Business Network พบนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจ ในอิสราเอล
  • การสรุปบทเรียนรวมถึงโอกาสขยายผลของโครงการในประเทศไทย (1 วัน) หลังกลับจากการศึกษา  ดูงาน
ระยะเวลา
  • ฝึกอบรม @ภายในประเทศ ระยะเวลา 4 วัน ระหว่างวันที่ 19-20 และ 26-27 มิถุนายน 2566
  • สรุปงาน @ภายในประเทศ ระยะเวลา 1 วัน วันที่ 9 สิงหาคม 2566 (1 วัน) หลังจบทริป
TENTATIVE Program
⇒ ฝึกอบรม @ภายในประเทศ ระยะเวลา 4 วัน
Day1 19 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น.

  • Open by Israel Consulate in Thailand
  • Opening by Mr. Suwanchai Lohawatanakul
  • VDO from Israel
  • Kidum: The Technology Transfer Organization (TTO) of the ARO, Ministry of Agriculture and Rural Development of Israel Via Online by Zoom
  • Asst. Prof.Dr.Pongsak Suttinon Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
  • Getting to know you and your need
Day2
20 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น
  • Improve the biz Innovation Journey
    คุณพันธ์พงศ์ ตั้งธีระสุนันท์

    • Innovation Method
    • Driving Innovation Organization
  • Innovation Management and Ecosystem
    ดร. พยัต วุฒิรงค์

    • แนวคิดด้านนวัตกรรม (Innovation principle)
    • บทบาทผู้นำนวัตกรรม (Innovative Leader) และ ผู้นำการเปล่ียนแปลง (Transformation Leader)
    • การปรับรูปแบบธุรกิจรองรับ (Business Model Adjustment)
Day3
26 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น.
  • กระบวนการคิดเชิงนวัตกรรมและฝึกปฏิบัติ (Workshop)
    • ดร. พยัต วุฒิรวค์
    • คุณพันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์
  • The Innovator’s Methods
    • กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ (Product & Service design process)
    • ประเภทนวัตกรรม (Type of Innovation)
    • การกำหนดรูปแบบนวัตกรรม (Innovation Portfolio)
  • Israel Company 1
  • Israel Company 2
Day4
27 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-15.00 น.
  • ผศ.ดร. สุนิสา ช่อแก้ว
    • Building Innovative People: Trust and Team Development (กลเม็ดการสร้างคนนวัตกรรม: ความเชื่อใจกับการพัฒนาทีม)
    • Leadership and the Arts of Team Collaboration (ภาวะผู้นำและศิลปะการสร้างความร่วมมือของทีม)
  • Israel Company 3
  • Israel company 4
  • Preparation for the trip
Day 5
(หลังจบทริป) 9 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00-15.00 น.
โครงการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดการและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสม
แต่ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพึงจะได้รับเป็นสำคัญ

 

ค่าธรรมเนียมต่อท่าน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

C: ค่าธรรมเนียนฝึกอบรม ภายในประเทศ ระยะเวลา 4 วัน 25,000

 

วิธีการสมัครและชำระเงิน
  • สมัครด่วน ปิดรับสมัครเมื่อมีผู้สมัครและชำระเงินครบตามจำนวนที่กำหนด
  • สถาบันแจ้งตอบรับทาง E-mail และแจ้งกำหนดวันชำระค่าธรรมเนียม โดยโอนเข้าบัญชี
    • โอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขาอาคารยาคูลท์ สนามเป้า
      • ชื่อบัญชี “มูลนิธิเพื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ” บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 210-0-50861-9
      • เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0994000020724
    • ส่งหลักฐานการชำระเงินมาที่ E-mail: publicseminar@ftpi.or.th

หมายเหตุ

  • กรณียกเลิกหรือเปลี่ยนผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน กรุณาแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในวันที่ 30 พ.ค. 2566 มิฉะนั้น ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงิน / เรียกเก็บ 100% ของค่าธรรมเนียม
  • กรณีถูกปฏิเสธการเข้าเมือง ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงิน / เรียกเก็บ 100% ของค่าธรรมเนียม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์:     0-2619-5500 ต่อ 433 (สุภารัตน์) 432 (ประภาพร)
มือถือ:        095-252-0693, 089-442-9453
E-mail:       publicseminar@ftpi.or.th; Suparat@ftpi.or.th

 



Latest Course


Latest Articles