IGP-19 : Idea Generation & Value Creation (เสกสรร ปั้น แต่ง ไอเดียอย่างมีคุณค่า) - สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ Thailand Productivity Institute
Loading Events
Public Training

IGP-19 : Idea Generation & Value Creation (เสกสรร ปั้น แต่ง ไอเดียอย่างมีคุณค่า)

วันที่อบรม
14 - 15 มีนาคม 2566
เวลา 9:00-16:00 น.
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ อาคารนานา

ระยะเวลาอบรม : 2 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ


ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) 9,500 บาท
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

  • This event has passed.

     ให้ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างนวัตกรรมขององค์กร พร้อมนำเสนอคุณค่าตรงกับที่ลูกค้าความคาดหวัง ทั้งการใช้งานสินค้าและการรับบริการ ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหา (Frame a Question)  การระบุคุณค่าที่คาดหวังจากการแก้ไขปัญหา (Gather inspiration) การสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหา (Generate Idea) การออกแบบต้นแบบแนวทางแก้ไขปัญหา (Make Ideas Tangible) การทดลองปฏิบัติ (Test to Learn) และการนำเสนอผลงาน (Share the Story)

เนื้อหาได้รับการออกแบบ ให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด และมุมมองที่แตกต่างจากรูปแบบแก้ไขปัญหาแบบเดิม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดไปสู่ การพัฒนานวัตกรรม อย่างต่อเนื่อง ในองค์กร

 

  • บูรณาการแนวคิด Creative Problem Solving ร่วมกับทักษะการคิด เช่น Divergent & Convergent Thinking, Systems Thinking,  นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาในมุมมองใหม่ๆ ออกนอกกรอบการจัดการแบบเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน  การให้บริการ และ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสร้างโอกาสให้กับองค์กร
  • เรียนรู้เครื่องมือสร้างไอเดีย เช่น เทคนิคการระดมสมอง เทคนิค Mash-up, SCAMPER, Crazy 8s, Random Words, Round Robin, ฯลฯ ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนสามารถไอเดียหลากหลาย แปลกใหม่ ในการปรับปรุง พัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรม
  • Self-Learning ศึกษาเองล่วงหน้า ทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นผ่านกรณีศึกษาและการปฎิบัติ
  • Teaching & Coaching ชี้แนะ ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

 

วัตถุประสงค์ :

  • เรียนรู้กระบวนการออกแบบแนวแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • นำเทคนิคการสร้างไอเดีย ปรับปรุง และพัฒนา กระบวนการทำงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่
  • เรียนรู้วิธีการออกแบบพฤติกรรม และประสบการณ์ผู้ใช้งาน
  • พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้เป็นผู้นำสร้างสรรค์ในองค์กร

 

 

ผลลัพธ์การอบรม :

  • กระบวนการ และเครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการ
  • เครื่องมือในการนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ในมุมมองที่แตกต่าง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยืน
  • เทคนิคและรูปแบบการนำเสนอไอเดียให้ผู้ฟังยอมรับ
  • บุคลากรที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจ พร้อมเปลี่ยนแปลงองค์กร ให้ทันสมัย และเป็นผู้นำในธุรกิจ

 

เหมาะกับ :

ผู้บริหาร นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ นวัตกร นักบริหาร นักวางแผนกลยุทธ์  และบุคคลทั่วไปที่สนใจเพิ่มเติมความรู้เพื่อการสร้าง สรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ นวัตกรรมองค์กร

 

Learning Method:

 

วิทยากรและที่ปรึกษา:

ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

ผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรที่ปรึกษา ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมและพัฒนาบุคลากร

 

ค่าธรรมเนียม ก่อน Vat 7% รวม Vat 7%
Non-member 9,500 10,165
สมาชิกสถาบันรับส่วนลด 5%

 

ระยะเวลา: 2 วัน

รุ่น 19 วันที่ 14-15 มี.ค. 66

รุ่น 20 วันที่ 29-30 ส.ค.66

รุ่น 21 วันที่ 14-15 ธ.ค. 66

 

รายละเอียดหลักสูตร

DAY 1: IDEATE (เสกสรร)

  • ประเมินความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์
  • Mindset สำหรับนักแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • แนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • ค้นหาปัญหา (Frame Question)
  • เทคนิคการตั้งคำถาม ให้เห็นประเด็นปัญหาสำคัญ
  • เทคนิคการตั้งคำถาม ให้เข้าใจความต้องการและความคาดหวัง
  • การระบุคุณค่าที่คาดหวัง (Gather inspiration)
  • กำหนดวัตถุประสงค์ และคุณค่าที่คาดหวัง (Value Proposition)
  • การสร้างแผนผังคุณค่า (Value Map)
  • การสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหา (Generate Idea)
  • เทคนิคการระดมสมอง
  • รูปแบบและการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิค Mash-up, SCAMPER, Crazy 8s, Round Robin
  • การสร้างความคิดริเริ่ม และหลากหลาย (Divergent Thinking)
  • การสังเคราะห์ไอเดีย (Convergent Thinking)

 

DAY 2: INNOVATE (ปั้น) ILLUMINATE (แต่ง)

  • การออกแบบต้นแบบ (Make Ideas Tangible)
  • แนวคิดการออกแบบต้นแบบ
  • เรียนรู้การสร้าง Digital Prototype
  • เรียนรู้แนวคิด Minimum Viable Product
  • การทดลองปฏิบัติ (Test to Learn)
  • รูปแบบการทดสอบต้นแบบ (Guerrilla Tests, Indicative Tests, High-fidelity Tests)
  • แนวทางการสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน
  • การนำเสนอผลงาน (Share the Story)
  • การทำความเข้าใจ และเปลี่ยนแนวคิดผู้ฟัง
  • การสร้างธีมของเรื่อง (Create Big Idea)
  • การใส่อารมณ์ลงในเรื่องเล่า (Lead by Emotion)
  • แนวทางการเล่าเรื่องแบบ 4C
  • เทคนิคกำหนด และการเดินเรื่อง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 456, 083-297-9494 (เอราวรรณ)
E-mail : arawan@ftpi.or.th

วิทยากร

ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

• วิทยากรอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม
• ให้การฝึกอบรมด้านการสร้างผู้นำเชิงปฏิรูป การปฏิรูปทีมงาน การปรับปรุงผลการดำเนินงานของทีมงาน การวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงกลยุทธ์ การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การบริหารโครงการ การพัฒนาและสร้างนวัตกรรม ให้กับภาคผลิตและภาคบริการ


Latest Course


Latest Articles