ความรู้ ดูง่าย ใช้สะดวก

ความรู้ ดูง่าย ใช้สะดวก โดย คุณสุรีพันธุ์  เสนานุช sureephan02@gmail.com   คงมีหลายครั้งที่พบว่าหนังสือบางเล่ม งานวิจัยหรือบทความบางชิ้นมีหัวข้อน่าสนใจ แต่เปิดเข้าไปอ่านก็รู้สึกท้อแท้ด้วยภาษาที่ยากจะเข้าใจ ราวกับอ่านภาษาเทพ จนคิดไปว่าคงฉลาดไม่พอที่จะทำความเข้าใจได้   ในความเป็นจริง ระดับของการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานเขียนนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งถ้าหากเป็นงานที่เขียนขึ้นเพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้ ระดับของภาษาควรต้องให้ง่ายสำหรับผู้เรียนรู้ การทำให้ภาษาเป็นอุปสรรคการเข้าถึงความรู้จึงเป็นความล้มเหลวมากกว่าการแสดงความสามารถของผู้เขียน   เช่นกันในกระบวนการจัดการความรู้ เมื่อดำเนินการสร้างและแสวงหาความรู้มาแล้ว ด้วยการใช้เครื่องมือการถอดบทเรียน ก่อนที่จะนำความรู้มาถ่ายทอด ความรู้นั้นต้องผ่านขั้นตอนจัดระบบ ประมวลและกลั่นกรองเพื่อให้เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย สามารถไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไป ที่ผ่านมา การจัดเก็บองค์ความรู้ ด้วยการสร้างคลังความรู้ไว้ในระบบสารสนเทศ มักมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ไฟล์เวิร์ดหรือพีดีเอฟอย่างงานวิจัย บทความ การสรุปผลงาน การสรุปองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานในแบบฟอร์มที่กำหนด ต้นฉบับกฎระเบียบต่างๆ ไฟล์เพาเวอร์พอยท์ที่ได้มาจากการไปร่วมอบรม สัมมนา เป็นต้น ถ้ามีการติดตามผลว่ามีการนำไปใช้อย่างไร ส่วนใหญ่มักไม่มีคำตอบ เพราะดูเหมือนว่าการจัดเก็บองค์ความรู้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว เมื่อมีการนำเอาข้อมูลที่คิดว่าเป็นองค์ความรู้เข้าไปไว้ในระบบสารสนเทศที่จัดทำไว้ ซึ่งในความเป็นจริง เป้าหมายสำคัญของการจัดการความรู้อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ในการสร้างความสำเร็จให้คนทำงาน ทีมงาน และองค์กร การนำความรู้ไปจัดเก็บแต่ไม่มีการนำไปใช้จึงไม่ใช่การจัดการความรู้ที่บรรลุเป้าหมาย ความรู้ที่นำไปจัดก็บไว้ ไม่ใช่ความรู้ที่เปล่าประโยชน์ แต่เป็นเสมือนอาหารดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการปรุงให้พร้อมรับประทาน การออกแบบงานเขียนในการนำความรู้มาถ่ายทอดจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง … อ่านเพิ่มเติม ความรู้ ดูง่าย ใช้สะดวก