ระบบบริหารคุณภาพ ISO 14000

ส่วนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มุ่งมั่นที่จะให้บริการในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 และระบบบริหารความปลอดภัย แก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อช่วยให้สามารถสร้างและดำเนินระบบตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 อีกทั้งดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยภายใต้ขอบเขตของกฎหมายนอกจากนี้สถาบันฯ มุ่งมั่นที่จะให้การฝึกอบรม การปรึกษาแนะนำ การเผยแพร่ความรู้ผ่านทางสื่อต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมไทยเกิดความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงต่อเหตุฉุกเฉินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสังคม และเศรษฐกิจรวมทั้งการมาตรการควบคุมป้องกันและการจัดการที่เหมาะสม

บริการด้านการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารตามเกณฑ์จีเอ็มพีกฎหมาย

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้นำหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารหรือจีเอ็มพีมาบังคับใช้เป็นกฎหมายและหมดเวลาผ่อนผันไปตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2546 มีผลให้โรงงานผลิตอาหารที่เข้าข่ายและไม่เข้าข่ายโรงงานทั้ง 54 ประเภท ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์จีเอ็มพีทุกราย ซึ่งขณะนี้ อย. ได้ติดตามตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารอย่างเข้มงวด

เพื่อให้การตรวจประเมินระบบจีเอ็มพีตามกฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรองรับสถานที่ผลิตอาหารที่เพิ่มจำนวนขึ้น อย. จึงมีนโยบายให้หน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่มีศักยภาพในการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร มาเป็นแนวร่วมในการทำหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไป และหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เพื่อให้อย. ใช้ประกอบการพิจารณา

• ออกใบอนุญาตผลิตอาหาร
• ออกเกียรติบัตรจีเอ็มพี
• ต่ออายุใบอนุญาตผลิตอาหาร

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกจากอย. ในการทำหน้าที่ดังกล่าว หากหน่วยงานของท่าน (ผู้ประกอบการผลิตอาหารทั้งที่เข้าข่าย และไม่เข้าข่ายโรงงาน) มีความประสงค์ที่จะขอใบอนุญาตผลิตอาหาร ขอให้ออกเกียรติบัตรจีเอ็มพี หรือขอต่ออายุใบอนุญาตผลิตอาหาร โดยต้องการให้ผู้ตรวจประเมินของสถาบันฯ ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ

 แผนผังการดำเนินงานของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในการตรวจประเมิน ตามที่ได้รับมอบหมายจาก อย.
 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายชื่อองค์กรหรือหน่วยงานเพื่อตรวจสอบประเมินระบบ GMP ตามกฎหมาย

การให้คำปรึกษาแนะนำและฝึกอบรมเพื่องานบริการที่เป็นเลิศ (Service Quality)

ปัจจุบันนี้ ธุรกิจภาคบริการกำลังขยายตัว และเติบโตมากกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการปรับปรุงเครื่องจักรกลการผลิต เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ทำให้ใช้แรงงาน คนน้อยลง นอกจากนี้ การขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้มีคนจำนวนมากอยู่อาศัยรวมกันตามเมืองใหญ่ๆ เกิดธุรกิจบริการขึ้นมากมาย ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ที่มีลักษณะต้องการสินค้าที่มีบริการครบวงจรมากขึ้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามศักยภาพของงานบริการ เราควรศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพในงานบริการให้ดี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

การแข่งขันไม่ว่าจะเป็นในตลาดสินค้า หรือตลาดบริการ ตัวผลิตภัณฑ์ล้วนมีความสำคัญในการที่จะดึงดูด และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ดังนั้นจึงต้องทำการศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า หรือผู้บริโภคอยู่เสมอ แต่ด้วยลักษณะของสินค้าและบริการมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้กลยุทธ์หลายๆ อย่างที่สามารถใช้ในตลาดสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจไม่สามารถใช้ได้ในตลาดบริการ องค์กรจึงควรศึกษาถึงกลยุทธ์ที่เหมาะสมในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกำหนดนโยบายในธุรกิจบริการอย่างเหมาะสม

งานบริการแตกต่างจากสินค้าในหลายลักษณะ คือ บริการเป็นการกระทำ หรือ Action ที่เกิดขึ้น และส่งมอบแก่ผู้รับบริการในเวลานั้นโดยทันที โดยที่ผู้รับบริการต้องสัมผัสและใช้บริการนั้นๆ ในเวลาเดียวกัน ดังนั้น แนวความคิดในการควบคุมคุณภาพงานบริการ จึงเน้นที่การควบคุมกระบวนการส่งมอบบริการ มากกว่าการควบคุมที่จำนวนลูกค้าที่กลับออกไปอย่างพอใจ ผู้บริหารงานบริการไม่ควรเพียงคอยดูว่า หน่วยงานบริการของตนวันนี้ได้สร้างความพอใจให้แก่ลูกค้ากี่รายแล้ว แต่ผู้บริหารสมัยใหม่ มองลึกลงไปถึงวงจรบริการของเขา แล้วดูว่าในแต่ละขั้นตอนของวงจรบริการนั้น ลูกค้าได้รับ Moment of Truth ที่ดีๆ จากเขาไปขั้นตอนละเท่าใด และตรงตามที่วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าหรือไม่

ผู้บริหารต้องมีกลยุทธ์ในการปรับปรุงคุณภาพในงานบริการอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงคุณภาพในงานบริการ นอกจากเพื่อรักษาลูกค้าเก่า และดึงดูดลูกค้าใหม่ ให้เกิดจากความจงรักภักดีของลูกค้าและการซื้อซ้ำ ช่วยเพิ่มผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังช่วยให้การบริหารจัดการภายในง่ายขึ้น เมื่อทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการให้บริการที่เป็นเลิศอีกด้วย


 


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  คุณฐิตารีย์  สุจริตภวัตสกุล

ส่วนระบบบริหารคุณภาพ ฝ่ายปรึกษาแนะนำและฝึกอบรม
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์    (02) 619-5500 ต่อ 572
โทรสาร     (02) 619-8071
E-mail: Thitaree@ftpi.or.th