22 กันยายน 2017

กระแสการตื่นตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนการตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสาเหตุไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ รวมถึงรูปแบบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาแทนการใช้น้ำมัน และเป็นที่มาของปัญหาในการจัดการของเสียจากเทคโนโลยีดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ผู้ผลิตรถยนต์ บริษัทแปรรูปและผู้ประกอบการใหม่ กำลังหาทางแก้ไขปัญหาที่ว่าจะทำอย่างไรกับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ที่หมดอายุแล้ว

จากแรงผลักดันที่จะลดมลพิษที่มาจากรถเครื่องยนต์ดีเซลมาใช้รถไฟฟ้าแทนนั้น ยังคงไม่มีคำตอบว่าจะทำอย่างไรกับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนที่หมดอายุแล้ว

รัฐบาลอังกฤษ และฝรั่งเศสได้แสดงความมุ่งมั่นผลักดันให้การขายรถเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน เป็นเรื่องผิดกฎหมายภายในปี 2040 และผู้ผลิตรถยนต์วอลโว่ก็ได้แสดงให้สัญญาว่าจะขายเฉพาะรถไฟฟ้า และรถไฮบริดจ์เท่านั้นตั้งแต่ปี 2019

จำนวนของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีถึง 2 ล้านคันในปีที่ผ่านมา และองค์กรพลังงานนานาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มเป็น 140 ล้านคันในปี 2030 ถ้าประเทศต่างๆทำได้ตามเป้าหมายของ Paris Agreement ในช่วงการบูมของรถไฟฟ้าจะทำให้มีแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนกว่า 11 ล้านตันที่จำเป็นต้องแปรรูปตั้งแต่ตอนนี้จนถึงปี 2030 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของบริษัทผู้แปรรูปแบตเตอรี่ของแคนาดา

ช่องว่างของการแปรรูป ถึงแม้ในยุโรปเอง ก็แปรรูปแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงเท่านั้นการแปรรูปแบตเตอรี่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดกาซพิษ แต่องค์ประกอบหลัก เช่น ลิเธียม และโคบอลต์สามารทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำและสร้างผลกระทบอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อมตามมา

รถยนต์ไฟฟ้ากำลังบูม แต่ที่ผ่านมาการแปรรูป แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนเป็นไปด้วยอัตราที่ต่ำ เนื่องจากแบตเตอรี่ถูกบรรจุในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและจบลงด้วยการละเลยทิ้งไว้ในลิ้นชักหรือนำไปฝังกลบ

มาร์ค กรินเบอร์ก ซีอีโอของบริษัท ยูมิคอร์ แปรรูปแบตเตอรี่ของประเทศเบลเยี่ยมได้คาดการณ์ไว้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องรับผิดชอบในการรวบรวมและแปรรูปแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนเหล่านั้น

กฎหมายของสหภาพยุโรปได้กำหนดให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่รับผิดชอบต้นทุนในการรวบรวม บำบบัด และแปรรูปแบตเตอรี่รวมทั้งการผลักดันต่อไปยังผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทรับแปรรูป

บริษัทยูมิคอร์ ได้ลงทุน 25 ล้านยูโร (22 ล้านปอนด์) ในการสร้างโรงงานต้นแบบในแอนท์เวอร์พเพื่อแปรรูปแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน โดยได้ตกลงกับบริษัทเทสลา และโตโยต้า เพื่อทำการหลอมสกัดโลหะมีค่า อาทิ นิเกิล และโคบอลต์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามาถในการแปรรูปแบตเตอรี่จากรถยนต์ไฟฟ้าและพร้อมที่จะขยายยายกำลังได้อีกในอนาคต

แต่ปัญหานี้ยังไม่ได้ถูกแก้ไข ในขณะที่กระบวนการหลอมและสกัดทางการค้า เช่น ของยูมิคอร์ สามารถกู้โลหะได้หลายชนิด แต่ยังไม่สามารถกู้ลิเธียมได้ ซึ่งสุดท้ายก็ปนไปกับผลพลอยได้แทน ซึ่งทางยูมิคอร์ก็กล่าวว่าสามารถเรียกคืนลิเธียมได้จากผลพลอยได้แต่ต้องเพิ่มกระบวนการและต้นทุน ซึ่งก็หมายความว่าในการแปรรูปแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่สามารถการันตีได้ว่าสามารถกู้คืนลิเธียมได้โดยตรงถ้าไม่จ่ายเพิ่มเติม

ธนาคารมอร์แกนสแตนลีย์ได้คาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้ายังจะไม่มีการแปรรูปแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน และมีความเสี่ยงที่ไม่มีสาธารณูปโภคในการแปรรูปแบตเตอรี่ที่เพียงพอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาการแปรรูปแบบปิดและกู้คืนวัสดุต่างๆ

 

ชีวิตใหม่ของแบตเตอรี่

ผู้บริหารของบริษัทรถยนต์นิสสัน ได้กล่าวถึงพื้นฐานของปัญหานี้คือต้นทุนการแปรรูปแบตเตอรี่ที่มีถึง 1 ยูโร/1 กิโล ส่วนมูลค่าของวัตภุดิบที่กู้มาได้นั้นมีมูลค่าเพียง 1 ส่วน 3 เท่านั้น

บริษัทอีตันที่เป็นพันธมิตรของนิสสันสามารถนำแบตเตอรี่รถยนต์ไปใช้ซ้ำโดยใช้ในการจัดเก็บพลังงานในบ้านแทนที่จะนำไปแปรรูป และนี่คือปัญหาทางเศษฐกิจและเป็นเหตุผลสำคัญว่าต้นทุนการแปรรูปแบตเตอรี่คืออุปสรรค

แอคเซเลเรอน ผู้ประกอบการใหม่ในอังกฤษได้มองหาโอกาสในการเปลี่ยนแบตเตอรี่หมดอายุ ซึ่งมองว่าใช้พลังงานน้อยกว่าการสกัดวัสดุเหล่านี้จากพื้นดิน ถ้ามี่การนำกลับมาใช้ใหม่จะนำมาสู่การสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หนักกว่าเดิม

ข้อมูลจากนิตยสารฟอร์บ พบว่า 30 ผู้ประกอบการใหม่ในยุโรป ได้สนใจลงทุนกับแอคเซเลเรอนในการพัฒนาโครงการต้นแบบเพื่อรองรับพายุแบตเตอรี่หมดอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

และนี่ไม่ใช่ทางเลือก การแปรรูปลิเธียม เป็นต้นแบบของเทคโนโลยีการแปรรูปโดยใช้สารเคมีในการสกัดโลหะมีค่าจากแบตเตอรี่ ซึ่งโรงงานต้นแบบต้องใช้แบตเตอรี่ถึง 5,000 ตัน ในกระบวนการ wet chemistry อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการแสวงหาประโยชน์จากเทคโนโลยีในช่วงเวลานี้เท่านั้น

ที่มา: Joey Gardiner , The Guardian ; Guardian sustainable business




Writer

โดย กุลชุดา ดิษยบุตร

วิทยากรที่ปรึกษาอาวุโส ส่วนจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ฝ่ายปรึกษาแนะนำ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
• ประสบการณ์ ให้คำปรึกษาแนะนำและวิทยากรด้านการจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การบริหารระบบคุณภาพ การบูรณาการ ระบบมาตรฐาน การบริหารความเสี่ยง และ CSR ให้กับองค์กรชั้นนำ