5 เมษายน 2017

ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคุณนันทพร อังอติชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อเข้าร่วมโครงการ Study Mission to a Nonmember Country on Development of Knowledge-based Business ในวันที่ 3-8 เมษายน 2560 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย หรือ APO โดยโครงการดังกล่าว ประกอบไปด้วยการศึกษาดูงานและการสัมมนาด้าน Industry 4.0 และ Business Models ขั้นพื้นฐานรวมทั้งการเข้าเยี่ยมชม Innovation Centre ตลอดจน Research & Development Centre

สำหรับงาน Industry 4.0 Summit and Exhibition ณ Manchester Central Convention Complex เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษที่ดร.พานิชและคุณนันทพรได้เข้าชมในวันที่ 4-5 เมษายนนั้น เป็นการแสดงนวัตกรรมและความรู้เกี่ยวกับ Industry 4.0 อีกทั้งยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่รองรับกับระบบการผลิตแห่งอนาคต Smart Factories และ Internet of Things

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อมูลความรู้ ที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย รวมทั้งประเด็น ความท้าทายที่องค์กรต้องพบก่อนเข้าสู่ Industry 4.0 ไม่ว่าจะเป็น Competency and Skill Revolution ต้องการ Competency ในด้าน Data Scientist, Developer, Data Management รวมทั้ง ต้องการทักษะในการใช้เครื่องมือใหม่หรือวิธีการผลิตใหม่ๆ และที่สำคัญต้องทำให้มีการศึกษาเรื่องดังกล่าวในทุกระดับชั้น Labor Flexibility ต้องทำให้ระบบการจ้างงานมีความยืดหยุ่น เช่น การจ้างเป็น Enterprise Contract Cyber Security เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถปกป้องข้อมูลและเทคโนโลยีของเราไว้อย่างปลอดภัย และ Legal and Standards สร้างมาตรฐาน Name Code ที่เกี่ยวกับ Disruptive ไว้ เพื่อทำความเข้าใจตรงกัน และต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับ Industry 4.0 เช่น RAM 4.0

 

หนึ่งในเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคตที่น่าสนใจคือ YuMi เป็นหุ่นยนต์สาธิตการใช้หุ่นยนต์ในการผลิต มี DNA เรื่องความปลอดภัยที่สูงกว่ามนุษย์ทั่วไป มีแขน มีข้อต่อที่สามารถขยับได้เหมือนกล้ามเนื้อมนุษย์ YuMi จะทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่า COBOT มาจากคำว่า Colleague และ Robot ยิ่งไปกว่านั้น YuMi ยังสามารถขยับแขนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำสูงมาก สามารถกลับมาที่จุดเดิมได้หลายรอบ และเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว 1500 mm/นาที

ด้านข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ Business Models พบว่าในระบบการผลิตที่เป็นอัตโนมัติ เมื่อเวลาผ่านไป อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์หรือ Asset Turnover จะลดลง หมายความว่าสินทรัพย์หรือ Asset สร้างรายได้ให้เราน้อยลงเรื่อย ๆ ทางออกคือการมุ่งไปยังเส้นทางหมายเลข 3 หรือ Industry 4.0 นั่นเอง

รูปภาพอ้างอิง : https://www.rolandberger.com/publications/publication_pdf/roland_berger_industry_40_20160609.pdf

ภาพด้านบนเป็นการเปรียบเทียบกลุ่มประเทศในยุโรปที่ได้ประโยชน์จาก การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ Industry 4.0 โดยวัดจาก ROCE หรือ Return on Capital Employed จากกราฟจะเห็นว่าเยอรมันเป็นประเทศที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้มากที่สุด โดยคุณ Hans Michale Krause จาก Bosch Rexroth ประเทศเยอรมนี พูดไว้อย่างน่าคิดว่า เยอรมันมีพื้นฐานที่ดี เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี เหมือนคนปรุงอาหาร รู้ว่าจะต้องปรุงอย่างไร และต้องมีการทดสอบจนมั่นใจได้ว่าลูกค้าจะชอบ นั่นหมายถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อกัน ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อความก้าวหน้าร่วมกัน

และยังได้พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจอีก ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกัน หรือ Coexist กันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ ในขณะที่หุ่นยนต์จะเข้าแทนคน คุณ Hans ยังแนะนำกลุ่มธุรกิจ SMEs ในอังกฤษที่ต้องการจะก้าวให้ทัน หรือได้ประโยชน์จาก Industry 4.0 ว่าอย่าเริ่มจากลงทุนระบบหรือ Robot แต่ให้ดูว่า อนาคตบริษัทอยากจะอยู่ตรงไหน และการไปถึงจุดนั้น จะใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง และให้เริ่มทำจากจุดเล็กก่อน

 

รูปภาพอ้างอิง : https://www.rolandberger.com/publications/publication_pdf/roland_berger_industry_40_20160609.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 




Writer

โดย ส่วนสื่อสารองค์กร