23 กันยายน 2016

NIKE

ปัจจุบันความท้าทายทางธุรกิจไม่ใช่เพียงการช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด แต่สิ่งที่เป็นความท้าทายสูงสุดคือการสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจ

แบรนด์ชุดกีฬายักษ์ใหญ่ได้เผยแพร่รายงานความยั่งยืนทางธุรกิจล่าสุด ด้วยเป้าหมายที่ความท้าทายอย่างยิ่งใน 10 ปีข้างหน้า ในฐานะที่ไนกี้เป็นแบรนด์ชุดกีฬาที่สนับสนุนนักกีฬาชื่อดังระดับโลก ไม่เฉพาะความมุ่งมั่นที่จะบรรลุมาตรฐานสูงสุดของตนเองเท่านั้น แต่ถ้าเปรียบความท้าทายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นแข่งขัน ไนกี้ก็ต้องการอยู่ในระดับแนวหน้าเช่นกัน

ในรายงานความยั่งยืนล่าสุดของบริษัท ไนกี้ ทำให้เห็นได้ชัดว่าการบรรลุเป้าหมายนี้ยังห่างไกล  มีรายละเอียดทั้งความสำเร็จและล้มเหลว แต่ก็ยังคงมีการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายในการปรับปรุงผลดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในเรื่องการใช้พลังงาน การผลิต การขนส่ง และผลกระทบจากห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เนื่องจากบริษัทมีการจ้างงานพนักงานมากกว่า 62,000 คนทั่วโลก บริษัทจึงรู้ว่าการดำเนินการทั่วพื้นที่เหล่านี้สามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ ไนกี้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายด้านความยั่งยืน และวางเป้าหมายด้านธุรกิจให้บรรลุ 50,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 โดยธุรกิจเติบโต 2 เท่า ในขณะที่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมลดลงครึ่งหนึ่ง

ฮานนา โจน ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนของไนกี้ กล่าวว่า “ไม่เพียงแค่เพิ่มประสิทธิภาพ ต้องมีการใช้นวัตกรรมที่เรายังไม่เคยมีมาก่อน มันเป็นความท้าทายขององค์กรเรา คู่ความร่วมมือ และพันธมิตร หากเรามุ่งสู่ Circular economyในอนาคต”

มาร์ก พาร์คเกอร์  ประธานและ CEO ของบริษัทไนกี้ กล่าวว่า “ความท้าทายคือการที่ต้องคิดค้นรูปแบบจำลองทางธุรกิจใหม่ (New business model) ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการร่วมกับมูลนิธิ Ellen MacArthur เราเชื่อว่ามัน ไม่เพียงพอที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่เรากำลังสร้างสิ่งที่เราอยากเห็นในอนาคตผ่านนวัตกรรม ที่ยั่งยืน”

พลังงาน

ในปีที่ผ่านมา ไนกี้เข้าร่วมกับธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลกจำนวนมาก ในการให้คำมั่นว่าไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ทั้งในส่วนที่เป็นของตน หรือที่ดำเนินการเองจะต้องมาจากแหล่งพลังงานทดแทน ภายในปี 2025 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ RE100  ผลกระทบด้านพลังงานที่มากที่สุดสำหรับไนกี้เกิดจากการผลิต และมักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่การเข้าถึงหรือมีแรงจูงใจต่ำสำหรับการใช้พลังงานทดแทน และไนกี้ได้มีการขยายผลไปยังโรงงานที่ทำสัญญา

ปัจจุบัน ไนกี้สามารถลดการใช้พลังงานและการปล่อยมลพิษในการผลิตรองเท้า 1 คู่ลงประมาณครึ่งหนึ่ง และในระหว่างปี ค.ศ. 2011 ถึง 2015 บริษัทบรรลุการลดการใช้พลังงานต่อหน่วยลง 24 %   บริษัทได้เผยว่า      “ในปัจจุบัน โรงงานผู้ผลิตที่ทำสัญญากับเรามีการลงทุนในเรื่องพลังงานทดแทนในโรงงานของตนและกับพันธมิตรที่เป็นผู้จัดหาทางตรงของบริษัทเหล่านั้น และทาง CEO ของบริษัทได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในระยะยาวว่า “มุ่งเน้นการทำงานกับบริษัทที่ดีและมีมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเหนือกว่าที่กฎหมายบังคับ”

ในปีที่ผ่านมา ร้านค้าของบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว (LEED) มากขึ้นถึง 2 เท่า และมีการใช้พลังงานจากกังหันลมและโซลาร์เซลที่โรงงานโลจิสติกส์ในเบลเยี่ยม และในประเทศจีน ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารวมกันได้ถึง 50 ล้านกิโลวัตถ์ต่อชั่วโมงในปี 2015/2016  อย่างไรก็ตาม ไนกี้ยังพลาดเป้าหมายในปี 2015/2016เล็กน้อย การใช้พลังงานยังคงสูงขึ้น 17 เปอร์เซนต์ในปีที่ผ่านมา และ 14% ระหว่างปี 2011 และ 2015 สำหรับบริษัทแล้ว การลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่งขาเข้ามีความท้าทายมากกว่าที่คาดไว้ ตัวอย่างเช่น การนัดหยุดงานของท่าจัดส่งสินค้าหลักของสหรัฐอเมริกาเมื่อปีทีผ่านมา ทำให้ต้องใช้การขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้นกว่า 35 % จากที่คาดการณ์ไว้

ไนกี้พยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหาในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อลดการการขนส่งทางอากาศที่ไม่จำเป็นทั้งหมด ไนกี้ยังต้องการที่จะทำให้เครือข่ายโลจิสติกส์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการให้บริการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีการคาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอีกห้าปีข้างหน้า

ของเสีย

ด้วยการที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก การมุ่งสู่ทั้งเรื่องของเสียเป็นศูนย์และ Closed-loop supply chain มีความสำคัญต่อเป้าหมายด้านธุรกิจและสิ่งแวดล้อมของไนกี้  บริษัทมุ่งมั่นที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายในการเกิดของเสียจากรองเท้าที่กำจัดโดยการฝังกลบ หรือการเผาโดยไม่นำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ให้เป็นศูนย์    ภายในปี 2020 ซึ่งตอนนี้บรรลุผล 92%  ไนกี้ก็ยังดำเนินการต่อไปในมองหาวิธีการลดของเสียต่อหน่วยจากการผลิต จากสำนักงานใหญ่ และจากศูนย์กระจายสินค้าลงอีก 5 % ดังนั้น ซากวัสดุจากโรงงานของไนกี้จะถูกนำกลับมาใช้ซ้ำ และนำกลับมาแปรสภาพกลับมาใช้ใหม่  ในขณะที่มีการทำให้กล่องรองเท้ามีน้ำหนักเบาขึ้น 3% และทำจากองค์ประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่ 100%

แต่บริษัทก็ยังคงตระหนักว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการลดของเสียคือการเริ่มต้นจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Nike’s Flyknit ที่ผลิตรองเท้าโดยตรงจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่นำกลับมาใช้ใหม่แทนการตัดจากผ้า ทำให้ลดการฝังกลบขวดพลาดสติกมากกว่า 182 ล้านขวด และมีการต่อยอดในการใช้วัสดุที่เรียกว่า “Nike Grind”ซึ่งมีการออกแบบให้การนำมาใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไนกี้ก็ยังคงพลาดเป้าหมายในปี 2515/2516 ที่จะลดของเสียจากการผลิตสินค้าสำเร็จรูป โดยลดได้เพียง 6 %ต่อหน่วย จากเป้าหมาย 10%ต่อหน่วย ดังนั้น ไนกี้มีแผนในการพัฒนาพาเลทแบบใหม่จากวัสดุที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถถอดและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ง่าย โดยบริษัทได้ร่วมองค์กรอื่นๆ ในการสร้างนวัตกรรม เช่น กลุ่มพันธมิตรเครื่องนุ่งห่มเพื่อความยั่งยืน และ LAUNCH – พันธมิตรกับ NASA หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการพัฒนานานาชาติและหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา โดยการสร้างวัสดุที่มีผลกระทบต่ำ และวัสดุที่ปรับปรุงใหม่ ทำให้ไนกี้ก้าวต่อไปสู่รูปแบบ Closed loop ที่มีสมรรถนะสูง

น้ำ

เวทีอภิปรายเศรษฐกิจโลกได้ให้เน้นว่าปริมาณและคุณภาพของน้ำจะเป็นปัญญาที่สำคัญที่ต้องเผชิญในทศวรรษหน้า และไนกี้เชื่อว่าเป็นความเสี่ยงของธุรกิจ การปลูกฝ้ายเพื่อผลิตเครื่องกายกีฬาใช้น้ำถึง 32% ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ไนกี้บรรลุความสำเร็จในเรื่องน้ำจากเป้าหมายของปี 2015/2016 และได้ตั้งเป้าหมายใหม่ในปี 2020 บริษัทได้ทำงานร่วมกับผู้จัดหาวัสดุและติดตามการรายงานการใช้น้ำและการปล่อยน้ำเสียที่สอดคล้องกับกฎหมาย และในปีที่ผ่านมาการเพิ่มจำนวนของผู้จัดหาที่เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการน้ำของไนกี้มีมากกว่า 800 บริษัท และในปีนี้ ไนกี้ได้ดำเนินการประเมินเรื่องน้ำท่วม เพื่อระบุสภาพของสิ่งแวดล้อมกับโรงงานที่ทำสัญญาและผู้จัดหา เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการรับมือกับน้ำท่วมและภัยแล้ง  นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และปัจจุบันมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการใช้น้ำในการย้อมผ้าของผู้ส่งมอบลง 20% และทำให้น้ำทิ้งสะอาดกว่าที่กฎหมายกำหนด บริษัทได้กล่าวว่า เราอยากเห็นห่วงโซ่คุณค่าที่มีการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์

เรื่องพลังงานการปลดปล่อยคาร์บอน ของเสีย และน้ำ เป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับไนกี้ในการบรรลุเป้าหมายใน 10 ปี ข้างหน้า แต่ก็เหมือนนักกีฬาระดับโลกที่ความพยายามจะนำมาสู่ความเชื่อมั่น ดังที่บริษัทได้กล่าวว่า “ประสิทธิภาพไม่เพียงพอ เราต้องมีนวัตกรรม”

ข้อมูลจาก : www.businessgreen.com




Writer

โดย อุรศา ศรีบุญลือ

วิทยากรที่ปรึกษา ส่วนจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
ฝ่ายปรึกษาแนะนำ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ