28 กรกฎาคม 2016

2030

จากสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมบนโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย อัคคีภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง หรือสภาวะอากาศเป็นพิษ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก หากองค์กรภาคส่วนต่างๆ ต้องการให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

เว็บไซต์ OECD.com ของหน่วยงาน The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในปี 2030 และได้จำลองนโยบายการดำเนินงานต่อความท้าทายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากปราศจากนโยบายดังกล่าว โลกของเราจะมีความเสี่ยงต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานความเป็นอยู่ที่ดี การเติบโตทางทางเศรษฐกิจ และมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

มุมมองด้านสิ่งแวดล้อมได้ชี้ให้เห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งอากาศเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ขาดแคลนน้ำ และผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษ ซึ่งจากมุมมองนี้จะช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และกลุ่มอื่นๆ อาทิ BRIICS เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ OECD ได้คาดการณ์แนวโน้มด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไว้ดังตารางที่ 1

30301

หมายเหตุ

สีเขียว หมายถึง ประเด็นสิ่งแวดล้อมนั้นมีการจัดการได้เป็นอย่างดี หรือมีการปรับปรุง

สีเหลือง หมายถึง ประเด็นสิ่งแวดล้อมนั้นยังคงเป็นความท้าทายในการจัดการ หรือปรับปรุง

สีแดง หมายถึง ประเด็นสิ่งแวดล้อมนั้นยังไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม หรือแย่ลง

ดังนั้น ในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นสีแดงนั้นต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยจำลองนโยบาย เทคโนโลยี และความสามารถในการดำเนินการ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาว และเกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเกิดขึ้น อาทิ สมมติฐาน OE Package คาดการณ์ว่าในปี 2030 ต้นทุนการแก้ปัญหาเพียง 1% เมื่อเทียบกับการเติบโตของ GDP เป็น 97% ของปัจจุบัน ส่วนการปล่อยก๊าซ NOx, และSO2 ลดลง 1 ใน 3 และก๊าซเรือนกระจกยังคงอยู่ที่ระดับ 13%

ตารางที่ 2 การคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยพื้นที่ ปี 1970-2050

30502

ดังนั้น ถ้าไม่มีนโยบายในการดำเนินการดังกล่าว ในอีก 10 ปีข้างหน้าเราจะมีความเสี่ยงที่กระทบต่อความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและความยั่งยืน โดยเฉพาะประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นสีแดง ได้แก่

  • อากาศเปลี่ยนแปลง
  • ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
  • การขาดแคลนน้ำ
  • ผลกระทบต่อสุขภาพจากภาวะมลพิษ

และหากไม่มีนโยบายดังกล่าว ในปี 2030 จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 37 % และ 52 % ในปี 2050 ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น 7-2.4 0C โดยทำให้เกิด คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง พายุ และน้ำท่วมที่ทำลายโครงสร้างพื้นฐานและพืชผลทางการเกษตร
  • อัตราการสูญพันธ์เพิ่มขึ้น ทั้งพืชและสัตว์จากการขยายตัวของสิ่งก่อสร้าง และการเกษตร
  • น้ำขาดแคลนทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการใช้ทรัพยากรที่มากขึ้น และจากอากาศเปลี่ยนแปลง
  • ผลกระทบต่อสุขภาพจากภาวะมลพิษทำให้อัตราการตายก่อนเวลา ซึ่งเชื่อมโยงกับระดับชั้นโอโซนที่ถูกทำลาย

สำหรับทางเลือกในการกำหนดนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีดังนี้

  • การใช้นโยบายแบบลูกผสมในการสืบค้นปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นเครื่องมือทางการตลาด อาทิ ภาษี และการขายคาร์บอนเครดิต
  • จัดลำดับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงาน การขนส่ง การเกษตร และประมง
  • มั่นใจว่าโลกาภิวัฒน์จะนำไปสู่นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการใช้ทรัพยากร การพัฒนา การกระจาย โดยภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมเป็นตัวจักรสำคัญ และภาครัฐจำเป็นต้องจัดให้มีนโยบายระยะยาวในการส่งเสริมด้านนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายของสังคม
  • การปรับปรุงการเป็นพันธมิตรระหว่างประเทศสมาชิก OECD และไม่ใช่สมาชิก อาทิ BRIICS เพื่อสร้างแรงกดดันในการแก้ไข และความร่วมมือในการขยายองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
  • เพิ่มความเข้มแข็งของการกำกับดูแลกิจการที่ดีระหว่างประเทศในการสืบค้นที่มาของความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม
  • สร้างความเข้มแข็งของโครงการความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมนโยบาย และการนำไปปฏิบัติ

ที่มา : http://www.oecd.org/env/indicators-modelling-outlooks/40200582.pdf




Writer

โดย กุลชุดา ดิษยบุตร

วิทยากรที่ปรึกษาอาวุโส ส่วนจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ฝ่ายปรึกษาแนะนำ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
• ประสบการณ์ ให้คำปรึกษาแนะนำและวิทยากรด้านการจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การบริหารระบบคุณภาพ การบูรณาการ ระบบมาตรฐาน การบริหารความเสี่ยง และ CSR ให้กับองค์กรชั้นนำ