21 ธันวาคม 2015

01

เว็บไซต์ economist.com ได้เขียนบทความเกี่ยวกับพลังแห่งความทัดเทียมทางเพศ ที่ปัจจุบันเพศหญิงเข้ามามีบทบาทในการทำงานนอกบ้านมากขึ้น อันมีส่วนช่วงสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยได้ยกตัวอย่างชีวิตของ ‘JOAN RIVERS’ นักแสดงตลก ผู้ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปีก่อน  ที่ไม่ยอมปล่อยให้งานบ้านเข้ามากีดขวางเส้นทางอาชีพงานโชว์ของเธอ “ฉันเกลียดงานบ้าน”  เธอกล่าว  “คุณจัดเตียง คุณล้างจาน  แล้ว 6 เดือนต่อมาคุณก็ยังต้องทำมันเหมือนเดิมอีกรอบนึง”

การหนีจากงานหนักที่ไม่ได้เงินมาสู่การทำงานแบบได้รับเงินเดือน  ดูจะเป็นโอกาสที่ห่างไกลของผู้หญิงนับล้านในเอเชียใต้ อาทิ มีผู้หญิงมากกว่า 90 %  ที่ต้องทำงานบ้านโดยไม่ได้รับเงิน  ทั้งการทำอาหาร  การทำความสะอาดบ้าน  และการดูแลลูกๆ และผู้สูงวัย ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้ชายที่ทำงานนอกบ้านแล้วเธอแทบจะไม่มีตัวตนอยู่เลย  ในอินเดียผู้หญิงสามารถสร้างรายได้น้อยกว่า 1 ใน 4 ของอัตราจ้างโดยรวม และมีผลกระทบต่อ GDP ของประเทศเพียงแค่ 17%  โดยไม่ถึงงานที่ไร้ค่าจ้าง ในทางกลับกันผู้หญิงในประเทศจีนสามารถส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศได้กว่า 41%

มีรายงานใหม่จาก McKinsey Global Institute (MGI) กลุ่ม think-tank (กลุ่มนักวิจัยและให้ข้อมูลแก่รัฐบาล)ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันด้านเพศในการทำงานและสังคม ได้ถูกเผยแพร่ ไปทั่วโลก นักสถิติ ของ McKinsey ได้คำนวณคะแนนความเสมอภาคของเพศ – โดยการวัดบทบาทและคุณค่าผู้หญิงในที่ทำงานและในสังคมเปรียบเทียบกับผู้ชาย โดยครอบคลุมกว่า 90% ของประชากรโลก เขาเชื่อว่า ในเอเชียใต้ (ไม่นับอินเดีย) นับเป็นหนึ่งในโซนโลกที่ล้าหลัง  ด้วยคะแนนเพียง 0.44 (การได้ 1 คะแนนจะเป็นตัวบอกถึงความเสมอภาคทางเพศที่สมบูรณ์)  ในประเทศที่ร่ำรวยของโลก พวกเขาจะทำคะแนนได้ดีกว่ามาก  แต่ก็ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์ของความเสมอภาคทางเพศ  โซนที่ทำคะแนนได้สูงสุดนั้นคืออเมริกาเหนือและกลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก  ทำคะแนนได้อยู่ที่ 0.74

นับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะใส่ตัวเลขให้กับต้นทุนทางสังคมในเรื่องความเท่าเทียมนี้  แต่ชาว McKinsey พยายามที่จะประเมินความสูญเสียของผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ต้องเสียไปกับเรื่องนี้  ซึ่งจากการศึกษาอื่นๆพบว่า  ประเทศต่างๆ สามารถกระตุ้น GDP ได้ 5-20% หากมีแรงงานหญิงเท่ากับผู้ชาย  แต่นั่นมันก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการสูญเสียผลผลิต แม้แต่ประเทศที่ร่ำรวย ที่ซึ่งผู้หญิงเกือบครึ่งมีเงินเดือนจากการทำงาน  แต่พวกเธอกลับมีแนวโน้มที่จะทำงานน้อยกว่าผู้ชายและมีประสิทธิภาพน้อยกว่า

ทั้งนี้ ไม่ต้องพูดถึงการจ่ายเงินที่ต่ำกว่า เป็นผลมาจากเลือกปฏิบัติอย่างแท้จริง หากช่องว่างระหว่างเพศในการทำงาน ชั่วโมงการทำงานและศักยภาพในการผลิตที่ได้ถูกเชื่อมต่อกัน  เศรษฐกิจโลกจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 28.4 ล้านล้านเหรียญ หรือ 26%  ในประเทศที่ผู้หญิงได้รับค่าจ้างน้อยกว่า  การเติบโตด้านเศรษฐกิจย่อมจะสูงกว่าประเทศที่ร่ำรวย เช่น อินเดีย  ที่รวยขึ้นถึง 60%  ภายใต้การลดช่องว่างระหว่างเพศ

ชุติมา

นโยบายที่จะเร่งฟื้นฟูช่องว่างระหว่างเพศในที่ทำงาน เช่น  ให้เด็กผู้หญิงได้เรียนหนังสือมากขึ้นและออกกฏหมายที่คุ้มครองผู้หญิง ล้วนอยู่ในแผนที่เปรียบเหมือนเป็นของขวัญจากรัฐบาล  ผู้หญิงที่มีการศึกษาเทียบเท่ากับผู้ชายมักจะจะหางานที่เงินเดือนสูงๆ ได้จากงานที่ใช้ความเชียวชาญด้านเทคนิค   และยังมีแนวโน้มที่จะแบ่งปันงานกับผู้ชายอย่างทัดเทียม หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำแบบ RIVERS คือทิ้งงานบ้านที่น่าเบื่อไว้แบบนั้น  แล้วอีก 6 เดือนค่อยลับมาทำ

ที่มา: http://www.economist.com/news/finance-and-economics/21667949-world-would-be-much-richer-place-if-more-women-had-paying-jobs-power

 




Writer

โดย ชุติมา สมงาม

เจ้าหน้าที่บริการสัมมนา แผนกสัมมนา
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ