21 สิงหาคม 2015

โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เทคโนโลยี” ต่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน และอาจส่งผลกระทบสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสิ่งสำคัญคือการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเข้ามา เพื่อเสริมศักยภาพในกระบวนการดำเนินงานให้ได้รับประสิทธิผลอย่างเต็มที่ ดังเช่นตัวอย่างบทความที่จะนำเสนอนี้ เป็นเรื่องราวของเทคโนโลยีการผลิต Airbus ที่มีการใช้หุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆในระบบปฏิบัติการใหม่นี้…

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอากาศยานมีความสับสน วุ่นวาย มีเสียงดังจากการประกอบ ล่าสุดเทคนิคการออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนกระบวนการผลิตมีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้งยังมีโครงสร้างแบบง่ายๆ จึงมีคำถามว่า แล้วในอนาคตการประกอบ Airbus จะเป็นรูปแบบไหน?

การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิตอลขั้นสูงในสายการผลิตซึ่งมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้นและระบบอัตโนมัติถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น 3D Printers สำหรับงานออกแบบในช่วงทดลอง Airbus Group กำลังจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันและไอเดียกำลังจะนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ระบบอัตโนมัติในสายการผลิตเป็นจุดหลักในการเปลี่ยนแปลงโรงงานในอนาคต รวมทั้งยังมีแนวโน้มการใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับงานประกอบซ้ำๆกัน สำหรับผู้ปฎิบัติงานในอนาคตจะต้องพัฒนาทักษะด้านเทคนิคระดับสูงและสามารถปฎิบัติงานได้หลากหลาย ซึ่งAirbus และ Airbus Helicopters กำลังพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพของพนักงานที่จะทำงานร่วมกับระบบปฎิบัติการใหม่นี้ด้วย

นิยามใหม่ “ทีม”

Airbus จะเพิ่มกำลังการผลิตใน 7 สายการผลิตสำหรับประกอบเครื่องบินในปี 2020 จุดหนึ่งที่สำคัญคือการเพิ่มศักยภาพของระบบอัตโนมัติซึ่งช่วยในการเพิ่มความเร็วในการปฎิบัติงาน ลดข้อผิดพลาดและของเสียในสายการผลิต ในขณะเดียวกัน Airbus ทำการพัฒนาระบบแอพลิเคชั่นควบคู่กันภายในปี 2015 เป็นต้นไป โดยเริ่มจากการพัฒนาระบบการผลิตที่คำนึงถึงความปลอดภัยจากกลไกแขนการประกอบหนึ่งชุดและทำการพัฒนาแขนกลเพื่อประกอบชิ้นงานที่ยากแก่การเข้าถึงและในจุดที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้ปฎิบัติงาน ทำการเก็บข้อมูล ฟังเสียงจากการทดสอบที่ผิดปรกติ ทำการพัฒนาหุ่นยนต์ในการพ่นสีและการเคลือบสีตั้งแต่พึ้นผิวจนถึงชิ้นงานสำเร็จรูป หุ่นยนต์ไม่ได้มาทดแทนมนุษย์แต่ทำการช่วยในการประกอบในสายการผลิตและทำการควบคุมด้วยมนุษย์

รูปที่ 1 : Airbus กำลังพัฒนาแขนกล 2 ชุดทำงานร่วมกับช่างเทคนิคในสายการผลิต
รูปที่ 1 : Airbus กำลังพัฒนาแขนกล 2 ชุดทำงานร่วมกับช่างเทคนิคในสายการผลิต

ในขณะเดียวกัน Airbus Helicopters กำลังพัฒนาชิ้นส่วนสมองกลคล้ายกับ Google Glasses เพื่อให้ช่างเทคนิคสามารถปฎิบัติงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นโดยจะเริ่มใช้งานในปี 2015 นี้เป็นต้นไป

สายการผลิตแบบใหม่

การใช้ Smartphones ไม่ใช่สิ่งที่ตอบโจทย์ในสายการผลิตของ Airbus ทั้งหมดในปัจจุบัน แต่ในอนาคตข้างหน้าจะทำการเริ่มใช้ในสายการประกอบ ทำการจัดตั้งแผนก Smart Workshop ในการใช้งานระบบการผลิตแบบอัจฉริยะในการผลิตและระบบเก็บข้อมูลและขจัดข้อผิดพลาดจากการผลิตซึ่งทำการผลิตโดยการพัฒนาทั้งซอฟแวร์และฮาร์ทแวร์ การเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อระบบการสื่อสารภายในโรงงานอย่างทั่วถึง โดยทีมจะทำการพัฒนาใน Smart Workshop ก่อน โดยใช้การตรวจจับการเคลื่อนที่ตำแหน่้งของดวงตา Eye- tracking หรือ สามารถติดตามการทำงานของนิ้วมือผู้ใช้ Finger- tracking หรือการควบคุมด้วยเสียง Voice-control และสร้างแบบจำลองการประกอบด้วยระบบ 3Dในสายการผลิตในอนาคตโดยปราศจากข้อจำกัด

การจัดตั้ง แนวคิด “Techno Store” โดยการเริ่มจากการใช้ Smartphones เพื่อใช้งาน Application และฮาร์ทแวร์ เพื่อเชื่อมต่อการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องจักรในสายการผลิตเช่นเดียวกันกับ Apple และ Googles ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เมื่อลูกค้าเดินเข้าสู่ Store

รูปที่ 2 : พนักงานกำลังควบคุมเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ผ่าน Smart Phoneในอนาคต
รูปที่ 2 : พนักงานกำลังควบคุมเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ผ่าน Smart Phoneในอนาคต

ระบบการทำงานแบบ Digital

Airbus Helicopters จัดตั้งโรงงานแบบ “Digital Factory” สำหรับโปรแกรมใหม่เช่น Forthcoming X4 เป็นระบบการแบบจำลองการประกอบชิ้นส่วนเครื่องบินจะประกอบไปด้วยกระบวนการการทำงานในแต่ละขั้นตอน ระบบเชื่อมต่อข้อมูลกับแผนกออกแบบ แผนกออกแบบจะส่งข้อมูลในรูปแบบ Digital Mock-Up (DMU) ลงสู่สายการผลิตทำให้กระบวนการผลิตเป็นการใช้งานเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบ

รูปที่ 3 : รูปแบบการใช้แบบจำลองเรียกว่า “Electronic Jigboard”
รูปที่ 3 : รูปแบบการใช้แบบจำลองเรียกว่า “Electronic Jigboard”

อีกหนึ่งตัวอย่างการพัฒนาทางเทคโนโลยีของ Airbus Helicopters คือการใช้ “Electronic Jigboard” ที่ ณ ปัจจุบัน ผู้ปฎิบัติงานดำเนินการกับตัวต้นแบบโดยการนำข้อมูลจาก DMU  ทำการ Print ต้นแบบและนำเข้าสู่ Jigboard แล้วจึงทำการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ณ ปัจจุบัน ระบบทำการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าสู่ Jigboard โดยตรงผ่านระบบซอร์ฟแวร์จาก IPAD และเห็นการเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบซึ่งทำให้รวดเร็วและลดความผิดพลาดได้อย่างมาก

 รูปที่ 4 : ALM (3D Printing)  เป็นรูปแบบการผลิตเครื่องบินในอนาคต
รูปที่ 4 : ALM (3D Printing) เป็นรูปแบบการผลิตเครื่องบินในอนาคต

ชิ้นส่วนที่มาจาก3D printing ที่ใช้ในเครื่องบิน

การพัฒนาการใช้ชิ้นส่วนที่มาจาก 3D Printingโดยเริ่มจากการใช้ชิ้นส่วนต้นแบบและชิ้นส่วนย่อย ทำให้ค่าใช้จ่ายจากการขนส่งลดลง กระบวนการ 3D Printing เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ALM (Additive Layer Manufacturing) เป็นแนวทางปฎิบัติใหม่ สำหรับระบบการผลิตเป็นการสร้างชั้นวัตถุดิบขึ้นที่ละชั้น (Layer by Layer) จนกระทั่งแต่ละชั้นจะคงรูป วัสดุที่นำมาใช้งาน เช่น ไทเทเนียมอัลลอยจากการประกอบชิ้นงานในปัจจุบันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผิดพลาดจากชิ้นส่วนหายและไม่สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการประกอบได้ ALM ใช้ในการประกอบเป็นอย่างดีและเพิ่มมาตรฐานของชิ้นส่วนได้อย่างต่อเนื่องและสามารถลดเวลาในการผลิตให้น้อยกว่า 24 ชั่วโมง

ในปัจจุบันทำการผลิตชิ้นส่วนจากพลาสติก ภายในสิ้นปี 2015 Airbus จะนำ ชิ้นส่วนไทเทเนียมมาใช้แทนจากนั้น จะทำการวิจัยชิ้นส่วนจากอลูมิเนียมและซุปเปอร์อัลลอย  ในขณะที่ Innovation ทีมทำการวิจัยผงไทเทเนี่ยม อลูมิเนียมอัลลอย นิเกิลและพลาสติกเพื่อเป็นวิตถุดิบในอนาคต

 

แหล่งที่มา : http://www.airbusgroup.com/airbusgroup/int/en/story-overview/factory-of-the-future.html

Álvaro Friera / Favila Roces / Hugo Alloy




Writer

โดย กมล ดุรงค์กนกพันธ์

• วิทยากรที่ปรึกษา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
• ที่ปรึกษาด้านการเพิ่มผลิตภาพ การบริหารการผลิต
• คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกสุดยอด SMEs ปี 2555
• ประสบการณ์ทำงาน อาทิผู้จัดการคุณภาพวัตถุดิบ บริษัท ซัมมิท ออโตซีท จำกัด, ผู้จัดการโครงการผลิตภัณฑ์ใหม่, บริษัท แม็คนิ คอม พรีซิชั่น เทคโนโลยี จำกัด, วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) เป็นต้น