30 มีนาคม 2015

คำถาม : อยากให้อาจารย์เล่าประโยชน์  และวิธีของการฝึกสติแบบ zen แบบเข้าใจง่าย และทำไม ZEN จึงเป็น Action  Learning

คำตอบ :

เซน คืออะไร ?   เป็นคำถามที่ตอบยากมาก   เพราะ

(1) หลักของเซน  เน้นการถ่ายทอดแบบ “ใจสู่ใจ”  และจะให้มาเขียน
หรือ พูดตอบว่าเซน คืออะไร  จึงทำได้ลำบาก เนื่องจากเราไม่สามารถอธิบายข้ามอายตนะได้
เราไม่สามารถอธิบายกลิ่นของทุเรียนด้วยภาษาหนังสือ     เราไม่สามารถร้องเพลงแสดงความเค็มของอาหารได้

ดังนั้น  การจะเข้าถึงเซน จึงต้อง หา “ใจ” ของเราให้เจอก่อน เข้าใจ “ใจ”ของเรา ควบคุมใจ และ สุดท้าย ใจว่างๆโล่งๆ

(2) เซน  เหมาะกับการจัดกำจัดนิสัยพวกคิดมาก  ถามมาก บ้ารายละเอียด ดังนั้น การคัดเลือกคนเรียนจึงค่อนข้างสำคัญ ไม่ใช่หวงวิชา    แต่ หวังดีที่จะเลือกคนที่ตั้งใจ   ฝึกแนวสิ้นคิด  แนวประหลาดไปจากความเคยชินเดิม ที่เอาแต่คิด ๆๆ  ถามๆๆ  อ่านๆๆๆ แล้วไม่ลงมือฝึก  ซึ่ง เซน มีคำสอน
เช่น   (1.1)   โชชิน (Shoshin) ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ” จิตผู้เริ่มต้น”  นั่นคือ ฝึกๆ ไม่ต้องถาม ไม่ต้องสงสัย
รักษาความกระตือรอล้นที่จะฝึกไว้ มีฉันทะ (ชอบ)
(1.2)  เมือศิษย์พร้อม  อาจารย์จึงปรากฏ” ความหมาย คือ  ถ้าถึงเวลา ค่อยสอนกัน  คัดกรองพวกนิสัยอินทรี ถามๆๆ ราว กับนักข่าว แต่ไม่ฝึกจริง    แต่เอาไปบอกต่อแบบเสียหาย  ผิด ๆ ถูกๆ ขาดๆเกินๆ เป็นต้น

(3)   คนบางคน ใจยังแคบ  คือ รับของแปลกใหม่ไม่ได้ ทั้งๆที่เซน ก็เป็นของเก่าและตามมาแนวทางพุทธ    คนบางคนติดดี ใครคิดต่าง คือ ต่อต้าน ใจยังไม่กว้างพอ ยังไม่กล้าเสี่ยง ยังไม่กล้า  “น้อมตัว” ไปทดลองชิม คือ ยังเป็น น้ำชาเต็มถ้วย ดังนั้น    ระบบการฟังเชิงลึก (Deep listening) ของพวกเขาจึงเสียหาย  จะจ้องจับผิด โดยเฉพาะ พวกนิสัยหมี เต็มไปด้วยอคติ ลำเอียง ชิงลงมือตำหนิก่อน   สุดท้าย เขารอให้เราตอบให้ตรงกับที่เขาคิด มันก็เลยยากที่จะบอกว่าเซน คือ อะไร ? กับคนพวกนี้

(4) เซน ถูกถ่ายทอดมานาน อาจจะโดนบิดเบือนไปบ้าง มีคนที่คิดว่าเข้าใจแล้ว ทั้งๆที่ไม่เข้าใจก็มี ดังนั้น ต้องฝึกๆๆๆๆๆๆๆ

(5) เมื่อใจกว้างพอ ที่จะรับฟังแล้ว ค่อยมาฟังว่า เซน คือ อะไร ซึ่งก็ยาก ที่จะ อธิบายด้วยอักษรหรือคำพูดใดๆ ได้ เพราะ ต้องฝึกๆๆๆๆๆๆ     อุปมา เอาปลาร้า เอาทุเรียน ไปให้ฝรั่งกิน อธิบายเท่าไรก็งง   จนกว่าพวกเขาจะได้กินเข้าไปมากพอแค่ คำสองคำ ก็ยังไม่ได้

(6)  การเรียนรู้เซนเป็นแบบ Acton learning   ดังนั้น  จะเรียนแบบห้องเรียน  ใช้ระบบ ” สุ จิ ปุ ลิ” ก็ไม่ได้ คือ ฟัง คิด ถาม เขียน ไม่ได้ หากแต่ ต้อง ฟังแล้ว ทำมากๆ อย่าคิดมาก เมื่อทำมากพอแล้ว ค่อยคิด ค่อยถาม จดบ้าง แค่ สุดท้ายเมื่อๆๆๆๆ จะ ลิขิตที่ใจ เป็นบันทึกลงที่ใจ

เอาล่ะ  หลังจากผ่าน ความยุ่งยาก เปิดใจแล้ว  ก็ค่อยมาดูว่า เซน คือ อะไร แทนที่เราจะตั้งคำถามว่า เซน คือ อะไร เราถามตนเองว่า เรา คือ ใคร   / เรามาจากไหน / ก่อนเกิดเราเป็นใคร /  แล้วเราไปไหน ?

เราเกิดมาทำซากอะไร / คนรุ่นก่อนๆ ตายแล้วไปไหน  / ทำไมร่างกายเราแก่   เหี่ยวลงไปทุกวัน / เราที่แท้จริง อยู่ไหน

หลัก ของเซน จึงเห็นได้ ในการบริหารสไตล์ญี่ปุ่น   เช่น  Lean และ 5 ส ดังที่กล่าวมาแล้วนอกจากนี้  ยังมีอีก เช่น  พนักงานใหม่ อย่าเพิ่งคิด  อย่าเพิ่งถาม  จงทำซ้ำๆๆๆๆๆๆๆๆๆ สัก 5 ปี แล้วค่อยเสนอแนะ

สะสาง ในเรื่อง 5 ส ก็คือ แนวเซน นั่นเอง  อะไรที่ใช่ ก็ ฝึก “ตัดใจ” เด็ดขาด  เอาแต่ที่จำเป็น  ไม่ใช่ “สักวันคงได้ใช้” แนวทางเซน มีคำภาษาญึ่ปุ่น   คำหนึ่งว่า Kanso”  คือ เรียบง่าย เด็ดขาด ชัดเจน ยื่นตะเกียบออกไปแล้ว  จะหยิบชิ้นไหน  ก็อย่าโลเลเปลี่ยนกลางทาง   ซามูไร ฟันลงไป อย่าลังเล  เป็นการฝึกใจให้เด็ดขาด ชัดเจน ทำอะไรให้ชัดๆแน่วแน่

การ ฝึก Martial Art เช่น การฝึกยิงธนูคิวโด  ฝึกยูโด ฯลฯ ก็เป็นเซน เพราะสอดแทรก การทำงานเป็นทีม การอดทนฝึก และ ที่สำคัญ คือ “การรอ”  ซึ่งการรอคนอื่นได้เป็นที่น่ายกย่อง    ไม่ใช่คิดแต่จะแซง

หลักการไม่ใช่ เพื่อไปทำร้ายใคร แต่  ฝึกสติ โดยเน้น กายาคสติ หรือ กายรู้กาย (Body sensing) ซึ่งคนไม่ได้ฝึกย่อมไม่เข้าใจ   เมื่อมีสติที่ฐานกายได้มาก  จะแยกจิตจากความคิดง่าย เมื่อจิตว่าง เป็นอิสระแล้ว ความคิดระดับดีๆ จะไหลออกมาเอง  คนทำงานเอาแต่คิดๆๆๆๆ   ก็ยากที่จะยกระดับสติปัญญาของตนเองได้  คนรวยหลายคนนึกว่าตนเองเก่งแต่ จริงๆแล้ว อาศัยบุญเก่าประกอบด้วย ได้บริวารดี  เลี้ยงเป็นด้วย

ดังนั้น อย่าหลงตนเอง  หมั่นทำทาน รักษาศีล ภาวนา และ ส่งเสริมพระศาสนาด้วย




Writer